อิทธิพลของความผูกพันในองค์การและความพึงพอใจในงานที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การของลูกจ้างชั่วคราว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ ชื่นจรูญ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • เนตร์พัณณา ยาวิราช รองศาสตราจารย์ ดร. ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ความผูกพันในองค์การ, ความพึงพอใจในงาน, ความภักดีต่อองค์การ

บทคัดย่อ

         การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความภักดีต่อองค์การของลูกจ้างชั่วคราวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) ความผูกพันในองค์การที่มีผลต่อความภักดีต่อองค์การของลูกจ้างชั่วคราวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ 3) ความพึงพอใจในงานที่มีผลต่อความภักดีต่อองค์การของลูกจ้างชั่วคราวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ลูกจ้างชั่วคราวที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 276 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

         ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อความภักดีต่อองค์การของลูกจ้างชั่วคราวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แตกต่างกัน 2) ความผูกพันในองค์การ ในด้านจิตใจและบรรทัดฐานมีผลต่อความภักดีต่อองค์การของลูกจ้างชั่วคราวมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ 3) ความพึงพอใจในงาน ในด้านลักษณะงาน โอกาสและความก้าวหน้า ผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงานมีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อความภักดีต่อองค์การของลูกจ้างชั่วคราว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ระดับ .05

References

กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรี (2563). รายงานจำนวนบุคลากร มทร.ธัญบุรี ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.ped2.rmutt.ac.th/?p=7594

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : ส.เอเชียเพรส (1989). 328 หน้า.

ไกรวัลย์ อรัญวาท และศุภกร กลิ่นหอม. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 7(1), 1 – 16.

ณฐกมล คงดี. (2554). ลักษณะผลิตภัณฑ์และความพึงพอใจต่อหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ของผู้อ่านในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. 296 หน้า.

ไพรัช ศิลาศรี (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับความจงรักภักดีและ ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท นากาชิมา รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สุธิดา ม่วงรุ่ง. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานในองค์การ กรณีศึกษาบริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุธีรา อะทะวงษา. (2560). การจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่ : โรงพิมพ์แสงศิลป์. 454 หน้า

สุรางค์รัตน์ แสงศรี, นันทรัตน์ เรืองฤทธิ์นำชัย, โรจนี พิริยะเวชากุล และจักรพันธ์ กิตตินรรัตน์. (2556). ความภักดีของลูกจ้างชั่วคราวที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนคร, 4(2), 36 – 46.

Bersin, J. (2015). Becoming Irresistible: A New Model for Employee Engagement. Deloitte Review. 16, 146 –163.

Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. (4th ed). New York : Harper. 630 pages.

Dhurup, M., Surujlal, J. and Kabongo, D.M. (2016). Finding Synergic Relationships in Teamwork, Organizational Commitment and Job Satisfaction: A Case Study of a Construction Organization in a Developing Country, Procedia Economics and Finance. 35 : 485 – 492.

Hoy, W. K. and Rees, R. (1974). Subordinate Loyalty to Immediate Superior: A Neglected Concept in the Study of Educational Administration. Sociology of Education. 47(2): 268 - 275.

Iqbal, A., Tufail, M. S. and Rab, N.L. (2015). Employee-Loyalty-and-Organizational-Commitment-in-Pakistani Organizations. Global Journal of Human Resource Management, 3(1), 1-11.

Meyer, J. P. and Allen, N. J. (1991). A three-component conceptualization of organizational commitment. Human Resource Management Review, 1(1), 61 - 89.

Smith, P. C., Kendall, L. M. and Hulin, C. L. (1969). The Measurement of Satisfaction in Work Retirement. Chicago: Rand McNally. 186 pages.

Stairs, M., and Galpin, M. (2010). Positive engagement: From employee engagement to workplace happiness. In P. A. Linley, S. Harrington, & N. Garcea (Eds.), Oxford library of psychology : Oxford handbook of positive psychology and work (pp. 155-172). New York : Oxford University Press.

Yamane, T. (1967). Statistic: An introductory analysis. (4nd ed). New York : Harper & Row. 919 pages

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-17