อิทธิพลของปัจจัยทางเศรษฐกิจต่อการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร

ผู้แต่ง

  • อัศวเทพ อากาศวิภาต อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการลงทุน คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สิริมา นาคสาย อาจารย์ประจำหลักสูตรเศรษฐศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ปิยฉัตร วงค์ดี นิสิตหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • เยาวลักษณ์ ด้วงสุข นิสิตหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • อังคณา ทิพย์ปะละ นิสิตหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางเศรษฐกิจ, ดัชนีราคาหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

            การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางเศรษฐกิจต่อการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร โดยมีปัจจัยทางเศรษฐกิจ จำนวน 6 ตัวแปร ได้แก่ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ดัชนีราคาผู้บริโภค อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ  ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ และดัชนีราคาน้ำมันดิบ การศึกษานี้จะทำการเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งเก็บรวบรวมเป็น รายเดือน ตั้งแต่เดือน มกราคม 2559 – เดือน ธันวาคม 2563 รวม 60 เดือน โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาน้ำมันดิบ (OIL) มีอิทธิพลเชิงบวกกับดัชนีราคาหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ (EX) และดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI) มีอิทธิพลเชิงลบกับดัชนีราคาหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขณะที่ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) พบว่าไม่มีอิทธิพลกับดัชนีราคาหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร โดยในการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาด้วยแบบจำลองวิธีที่แตกต่างกัน และควรนำข้อมูลเชิงคุณภาพหรือปัจจัยอื่นๆมาทำการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบผลที่ได้จากการศึกษา

References

กุลนิษฐ์ ศักดิ์จิรพาพงษ์. (2560). การศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อดัชนีราคาหมวดธุรกิจการแพทย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2564, จาก : https://www.thansettakij.com/money_market/484010?fbclid=IwARJAhi5ih4UK33m qov0LxRTGyRdb3KDYnTBRAUgtIZmmTGQ8r3Evb0KDE0.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). ประวัติและบทบาท. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2564, จาก : https://www.set.or.th/th/about/overview/history_p1.html? fbclid=IwAR0-5dgEpTllVwAHdhg3hnT2f_ XqXpo3fGAupEk77Px3lVXRtNK0uzH_Ljg.

นิธิภูมิ เดชะศาศวัต. (2559). ปัจจัยเศรษฐกิจที่มีผลต่อดัชนีกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พวงเพชร ภูษี. (2560). การศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อดัชนีราคาหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ภากร ปีตธวัชชัย. (2563). “ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ท่ามกลางปีแห่งความท้าทาย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2564, จาก : https://forbesthailand.com/commen taries/thoughtleaders/%E0%B8%95

%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94% E0% B8%AB%E0%B8%A5%E0

%B8%B1%E0%B8%81%E0% B8%97%E0%B8% A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%

B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80.html.

อภิโชติ เย็นธนากุล. (2563). การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร โดยแบบจำลองการตั้งราคาหลักทรัพย์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อัญรัตน์ เศวตประสาธน์ และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2555). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์กล่มพลังงานในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ, 2(4), 229-246.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J.,& Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Osamwonyi, I. O. & Evbayiro-Osagie, E. I. (2012).The relationship between macroeconomic variables and stock market index in Nigeria. Journal Economics 3(1), 55-63.

Srivastava, A. (2010). Relevance of Macro Economic factors for the Indian Stock Market. Decision 37(3), 69-85.

Stevens, J. P. (1992). Applied Multivariate Statistics for the Social Sciences. NJ: Lawrence Erlbaum Associates. Hillsdale.

Yunita, Y. & Robiyanto, R (2018). The Influence of Inflation Rate, Bi Rate, and Exchange Rate Changes to the Financial Sector Stock Price Index Return in the Indonesian Stock Market. Journal of Management and Entrepreneurship, 20(2), 80-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-18