ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ จังหวัดสุมทรปราการ

ผู้แต่ง

  • สวภัทร ตราชู นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • สินีนาถ เริ่มลาวรรณ อาจารย์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรปราการ 3) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรปราการ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 7,744 คน จาก 11 ชมรม คำนวณหาตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ยามาเน่ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ได้ 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) แบบเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิธีการทดสอบค่าที T-Test , วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการถดถอยพหุคูณ (Multiple linear regression analysis)

                 ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ สถานภาพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรปราการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05  2) พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ บุคคลที่ร่วมเดินทาง พาหนะที่ใช้เดินทางและแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรปราการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05  3) ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านลักษณะทางกายภาพและด้านกระบวนการให้บริการมีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรปราการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2554). การวิจัยบริการทางสุขภาพ. ฉะเชิงเทรา: ห้างหุ่นส่วนจำกัด แฮมคอมพิว ออฟเซท.

จิรวรรณ ดีประเสริฐ. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(3), 41-49.

ฑิฆัมพร ออรุ่งวิไล. (2562). กระบวนการตัดสินใจท่องเที่ยวเมืองรองของนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นฤมล รัตนไพจิตร ราตรี เขียวรอด และตรีวนันท์ เนื่องอุทัย. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 9(3), 692-704.

พงศ์เสวก เอนกจำนงค์พร. (2559). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของประชากรรุ่นเบบี้บูมในกรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ( มส.ผส.). (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2562. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรศาสตร์และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

รจิต คงหาญ. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณภาพบริการธุรกิจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงอายุ เขตอันดามัน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11(ฉบับพิเศษ), 18-30.

วชิรา รินทร์ศรี และลักษมี งามมีศรี. (2561). สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 8(3), 67- 81.

สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ 4 ปี (พ.ศ.2561-2564). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563, จาก : http://www.samutprakan.go.th/61-64.pdf.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสมุทรปราการ. (2564). ข้อมูลชมรมผู้สูงอายุจังหวัดสมุทรปราการ [ออนไลน์ ]. ค้นเมื่อ วันที่ 31 พฤษภาคม 2564, จาก www.samutprakan.m-society.go.th.

สุธาสินี วิยาภรณ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวของชาวเมียนมาร์ที่เข้ามาประกอบอาชีพในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร. ใน การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 , 18-19 มิถุนายน 2558. นครราชสีมา : วิทยาลัยนครราชสีมา.

อัญชนา สมบัติพิบูลย์. (2563). การจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

อารีวรรณ บัวเผื่อน. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนในการมาท่องเที่ยวประเทศไทย กรณีศึกษา สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Adler, J., Dy, C., Gillham, C., & Edelman, M. (2007). Meaningful pursuits. Newsweek, 150(6), 44-54.

Backman, K.F., Backman, S. J., and Silverberg, K. E. (1999). An investigation into the psychographics of senior nature-based travelers. Tourism Recreation Research, 24(1), 13-22.

Chiang, L., Manthiou, A., Tang, L., Shin, J., & Morrison, A. (2014). A comparative study of generational preferences for trip-planning resources: A case study of international tourists to Shanghai. Journal of Quality Assurance in Hospitality and Tourism, 15(1), 78-99.

Horneman, L., Carter, R.W., Wei, S. and Ruys, H. (2002). Profiling the Senior Traveler: AnAustralian Perspective. Journal of Travel Research, 41(1), 23-37.

Hsu, C. H. C. (2001). Importance and Dimensionality of Senior Motorcoach Traveler Choice Attributes. Journal of Hospitality & Leisure Marketing, 8(3-4), 51-70.

Korawan Sangkakorn, Suree Boonyanupong, Junjit Thiensiri and Chantawat Wandee. (2011). Tourism Development Guideline The Elder Tourists in 9th APacCHRIE Conference. [Online]. Hospitality and Tourism Education:From a Vision to an Icon; Hong Kong. Retrieved March, 2012. Avaliable : http:// www.council.cmu.ac.th/evaluation15.pdf.

Lindqvist, L J. and Bjork, P. (2000). Perceived safety as an important quality dimension among senior tourists. Tourism Economics, 6(2), 151–158.

Patterson, I., & Pegg, S. (2009). Marketing the leisure experience to baby boomers and older tourists. Hospitality Marketing and Management, 18(2-3), 254-272.

Esichaikul, R. (2012). Travel motivations, behavior and requirements of European seniors tourist to Thailand. PASOS Revista de Turismoy Patrimonio Cultural. 10(2, Special Issue), 47-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-05