การยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเอ็กซ์
คำสำคัญ:
การยอมรับเทคโนโลยี, ความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์, เจเนอเรชั่นเอ็กซ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ที่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ จำนวน 424 ราย ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) กลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ที่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ อย่างน้อย 1 ครั้ง และมีแบบสอบถามที่สมบูรณ์ จำนวน 387 ชุด จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงอนุมานด้วยการถดถอยพหุคูณเพื่อการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ มีจำนวน 4 ปัจจัย ได้แก่ ด้านการรับรู้ความเข้ากันได้ ด้านการรับรู้ทรัพยากรทางการเงิน ด้านการรับรู้ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย และด้านการรับรู้ความไว้วางใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ในขณะที่การรับรู้ประโยชน์จากการใช้งาน และการรับรู้ความง่ายในการใช้งานไม่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ ซึ่งตัวแปรอิสระทุกตัวแปรร่วมพยากรณ์ตัวแปรตามมีค่าเท่ากับร้อยละ 63.1 (AdjR2 = 0.631)
References
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/Thailand-Internet-User-Behavior-2020.aspx
ณัฏฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพริเคชันของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธัญรดา ธนสารโสภณ และพีรภาร์ ทวีสุข.(2562).การยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนของ Generation X ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 20(2), 120-134.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบการวิจัย: แนวทางการปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด.
พรชนก พลาบูลย์. (2558).การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี การใช้เทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความตั้งใจของประชาชนในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ (PROMPTPAY) ของรัฐบาลไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พิชญ์ปิยา เพ็งผ่อง. (2558). การยอมรับเทคโนโลยี ความไว้วางใจ การเน้นราคาประหยัด และความแปลกใหม่ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อตั๋วเครื่องบินออนไลน์ของสายการบินต้นทุนต่ำของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
มัสลิน ใจคุณ. (2561). การยอมรับเทคโนโลยี ความไว้วางใจ และการตลาดผ่านสังคมออนไลน์ ที่มีผลตอ่ความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์ (Facebook LIVE) ของกลุ่มผู้บริโภค Generations X, Y, Z. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์.(2564). ตีสนิท อีคอมเมิร์ซ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม2564, จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/e-Commerce-Fundamentals-by-ETDA.aspx
สุธาสินี ตุลานนท์. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เสมอ นิ่มเงิน. (2563). Generation กับพฤติกรรมการรับข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/5263
Duffett, R.G. (2017). Influence of social media marketing communications on young consumers’ attitudes. Young Consumers, 18(1): 19-39.
Ooi, K. B., and Tan, G. W. H. (2016). Mobile technology acceptance model: An investigation using mobile users to explore smartphone credit card. Journal of Expert Systems with Applications, 2016(59), 33–46.