อิทธิพลของสื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเดินทางไปท่องเที่ยวหมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์ของผู้มาเยือนชาวไทย
คำสำคัญ:
สื่อประชาสัมพันธ์, แรงจูงใจ, อิทธิพล, ผู้มาเยือนชาวไทย, หมู่บ้านช้างบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของการรับรู้ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ของผู้มาเยือนชาวไทยที่เดินทางไปท่องเที่ยวหมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเดินทางไปท่องเที่ยวหมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์ของผู้มาเยือนชาวไทย และ 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของสื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเดินทางไปท่องเที่ยวหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์ของผู้มาเยือนชาวไทย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มาเยือนชาวไทย จำนวน 400 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าที่มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.886 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้มาเยือนชาวไทยมีการรับรู้ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅= 3.34) โดยสื่อสมัยใหม่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อโสตทัศน์ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (2) ผลการศึกษาแรงจูงใจในการเดินทางไปท่องเที่ยวหมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅= 3.37) โดยแรงจูงใจที่เป็นปัจจัยดึงดูดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าแรงจูงใจที่เป็นปัจจัยผลักดันเล็กน้อย และ (3) ผลการศึกษาอิทธิพลของสื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเดินทางไปท่องเที่ยวหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ตัวแปรสื่อประชาสัมพันธ์ทั้ง 5 ตัวแปร ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคล สื่อโสตทัศน์ สื่อสมัยใหม่และสื่อกิจกรรม มีผลต่อแรงจูงใจในการเดินทางไปท่องเที่ยวหมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์ ของผู้มาเยือนชาวไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (Adjusted R2 = .780 ตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัว สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรตามได้ร้อยละ 78.0)
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2563 (จำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2564, จาก : https://mots.go.th/News-link.php?nid=13173.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2562 (จำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2564, จาก : https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=618.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.
จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). การใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
บัญญัติ พิลา. (2560). แรงจูงใจในการเดินทาง ความน่าเชื่อถือของข้อมูล การสื่อสารปากต่อปากแบบออนไลน์ ทัศนคติในการเดินทาง และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจอิเล็กทรอนิกส์ (E-decision) เพื่อเลือกแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทยของผู้บริโภคในจังหวัดสระบุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
มัลลิกา เจแคน. (2553). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวหมู่บ้านช้างสุรินทร์ บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รพีพรรณ จันทับ และลินจง โพชารี. (2559). ปัจจัยด้านอัตลักษณ์ทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการการท่องเที่ยวหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 5(1), 48-59.
รุ่งกานต์ แก้วเจริญ , สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, สุพิศ ฤทธิ์แก้ว, จินตนีย์ รู้ชื่อ และญาณินี ทรงขจร. (2562). แรงจูงใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มีต่อการร่วมงานฟูลมูนปาร์ตี้เกาะพะงันจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(3), 10-25.
ศิริประภา ประภากรเกียรติ. (2562). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยใช้แนวคิดชุมชนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศูนย์ข้อมูลจังหวัดสุรินทร์. (2563). ข้อมูลจังหวัดสุรินทร์ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จาก : http://www.surin.go.th.
ศูนย์คชศึกษา. (2562). โครงการคชอาณาจักร จังหวัดสุรินทร์[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2561, จาก : https://www.facebook.com/ElephantKingdomSurin
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุรินทร์. (2562). รายงานการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2562, จาก : http://tourism2.tourism.go.th/home/details/11/221/25767.
Arsal, I. (2008). The Influence of electronic word-of mouth in an online travel community on travel decisions: a case study. [Online]. Retrieved June 8th, 2020, Available : https://tigerprints.clemson.edu/all_dissertations/273/.
Said, J. and Maryono, M. (2018). Motivation and Perception of Tourists as Push and Pull Factors to Visit National Park [Online]. Retrieved June 23th, 2020, Available : https://www.researchgate.netpublication323310887_Motivation_and_Perception_of_Tourists_as_Push_and_Pull_Factors To Visit National Park.
Streiner, D.L. and Norman, G.R. (1995). Health measurement scales : A practicalguidetotheir Development and use (2nd ed.). Oxford : University Press.
Magasic, M. and Gretzel, U. (2020). Travel connectivity. SAGE Journals, 20(1), 3-26.