การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการดูแลผู้สูงอายุบนสมาร์ทโฟน

ผู้แต่ง

  • ศุภรัตน์ แก้วเสริม อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน, ผู้ป่วยสูงอายุ, ญาติซึ่งเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุ, อาสาสมัครสาธารณสุข

บทคัดย่อ

            วัตถุประสงค์ในการทำวิจัยนี้ 1) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพการใช้งานแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนสำหรับการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุขคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ สาขาคลองศาลา อาสาสมัครสาธารณสุข ชุมชนเมืองเพชรบูรณ์ ผู้ป่วยสูงอายุและญาติซึ่งเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาพยาบาลภายในคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ สาขาคลองศาลา จำนวน 174 คน โดยวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เลือกผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ การพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ โดยใช้ขั้นตอนรูปแบบ SDLC (System evelopment life cycle) การประเมินผลด้วยการวัดความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพการใช้งานแอปพลิเคชัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

            ผลการวิจัย พบว่า แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 ฟังก์ชัน คือ 1) ช่องทางการให้คำปรึกษาทางการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุ 2) ช่องทางการเรียกใช้หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน และ  3) ช่องทางการให้ความรู้ด้วยบทความเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ และผลการศึกษาความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพการใช้งานแอปพลิเคชันจากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.46, S.D. = 0.57)

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). สถิติผู้สูงอายุ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2561, จาก : http://www.dop.go.th/th/know/1.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2560-2579). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์ และ นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. (2561). ทิศทางของการพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(4), 15 – 24.

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2562). วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563, จาก : https://dol.dip.go.th/th/category/2019-02-08-08-57-30/2019-03-15-11-06-29.

ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย, อุทุมพร วงษ์ศิลป์, กัญจนา ติษยาธิคม, วาริสา ทรัพย์ประดิษฐ, นำพร สามิภักดิ์. (2562). ต้นทุนการจัดบริการของคลินิกหมอครอบครัว. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 13(2), 175-187.

จตุชัย แพงจันทร์. (2553). Master in security 2nd edition. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : ไอดีซี.

ชัยพัฒน์ พุฒซ้อน และกันตพัฒน์ พรศิริวัชรสิน. (2561). แนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 25 - 36.

เชิดศักดิ์ เจริญชัย, สุรศักดิ์ แว่นรัมย์, ณัฏฐ์ ดิษเจริญ. (2561). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อจำแนกผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE), 1(1), 27 – 37.

ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์และเพชรา ชวนะพันธุ์. (2559). ประสิทธิผลของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในเขตสุขภาพที่ 4. สระบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 2 จังหวัดสระบุรี.

พงศ์พัฒน์ ฉายศิริพันธ์ และ ธนัญทร ทองจันทร์. (2558). แอปพลิเคชันวางแผนรับประทานอาหาร สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6, 26 มิถุนายน 2558. 1620 - 1629. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550. (2550, 3 มีนาคม). หมวดที่ 1 สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ มาตรา 7 ข้อมูลด้านสุขภาพชองบุคคล.

ไพลิน มูลจันทร์, นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล และวราภรณ์ บุญเชียง. (2564). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดหลังจำหน่าย. พยาบาลสาร, 48(2), 37 – 50.

มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารส่งผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารศรีวนาลัยวิจัย, 7(2), 90 – 103.

มานิตา เจือบุญ, วิสาข์ ไชยตรี, จุฑาภรณ์ ลิ่มสุวรรณมณี. (2564). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันประเมินภาวะโภชนาการและเสนอแนวทางการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 14(1), 53 – 63.

รุ่งทิพย์ กันทะวงค์, วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ, เอกรัฐ บุญเชียง และวราภรณ์ บุญเชียง. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนในการป้องกันการติดเชื้อสำหรับเด็กวัยเรียน. พยาบาลสาร, 48(2), 63 – 74.

ศุภรัตน์ แก้วเสริม และ เอ็ม สายคำหน่อ. (2562). สำรวจความต้องการใช้งานแอปพลิเคชันระบบให้คำปรึกษาด้านโภชนาการสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ กรณีศึกษา อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 8 และนานาชาติครั้งที่ 1 “วิทยาการจัดการวิชาการ 2019 การจัดการนวัตกรรมสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน”, 8 กุมภาพันธ์ 2562. 270 - 281. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สายฤดี วรกิจโภคาทร, ประภาพรรณ จูเจริญ, กมลพรรณ พันพึง, สาวิตรี ทยานศิลป์ และดวงใจ บรรทัพ. (2550). ระบบการดูแลของผู้สูงอายุปรับแนวคิดร่วมชีวิตผู้สูงอายุ: การทบทวนแนวคิดและองค์ความรู้เบื้องต้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มประชากรผู้สูงอายุ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). หลัก 11 อ. เพื่อสุขภาพกายใจที่ดีของผู้สูงอายุ [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563, จาก : https://www.thaihealth.or.th/Content/39138-l.

สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.). (2561). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย: โครงการศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัว (Primary Care Cluster). กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานสถิติจังหวัดเพชรบูรณ์. (2561). Mindmap ด้านสังคม : ผู้สูงอายุ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2561, จาก : http://phchabun.nso.go.th.

สุชารัตน์ เจริญ, อะเคื้อ อุณหเลขกะ, พิมพาภรณ กลั่นกลิ่น. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการรายงานการสัมผัสเลือด และสารคัดหลั่งของบุคลากรการพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(3), 81 –94.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ(ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Best, J.W. (1977). Research in Education. 3rd . New Jersey : Prentice Hall Inc.

Bumrungrad. (2558). ผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ

กรกฎาคม 2562, จาก : https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/january-2015/health-problems-of-the-older-person.

Indepthdev. (2020). Building Web, Desktop and Mobile apps from a single codebase using Angular [Online]. Retrieved 21 May 2020, from : https://indepth.dev/posts/1420/building-multi-platform-apps-from-a-single-codebase-using-angular.

Likert, Rensis. (1961). New Pattern of Management. New York : McGraw – Hill.

Martinez-Pere, B., Tone-Diez, I., and Lopez-Coronado, M. (2015). Privacy and security in mobile health apps: A review and recommendations. Journal of Medical Systems, 39(1), 181.

Thinkaboutwealth. (2562). สถิติผู้ใช้ดิจิทัลทั่วโลก 2019 คนไทยใช้ติดเน็ตมากสุดในโลก [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ

กรกฎาคม 2562, จาก : https://www.thinkaboutwealth.com/digitalstatworld-thailand2019/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-01