ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในยุคปกติวิถีใหม่

ผู้แต่ง

  • ภัทรธิดา รัตนจิตรานนท์ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย รองศาสตราจารย์ประจำสาขาหลักสูตรรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์, การปฎิบัติงานของข้าราชการ, กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, ยุคปกติวิถีใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของข้าราชการในยุคปกติวิถีใหม่ในภาพรวม 2) เปรียบเทียบระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของข้าราชการแต่ละกอง /สำนักในส่วนกลาง           3) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน และ 4) เสนอแนวทางในการเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในยุคปกติวิถีใหม่ เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามแต่ละด้านมากกว่า 0.7 จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการสังกัดกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานส่วนกลาง จำนวน 230 ราย และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารกรมจำนวน 3 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ แบบง่าย และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ SWOT ผลการวิจัย พบว่า ระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของข้าราชการในยุคปกติวิถีใหม่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ระดับผลสัมฤทธิ์ของแต่ละกอง/สำนักไม่แตกต่างกัน และปัจจัยด้านแรงจูงใจมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในยุคปกติวิถีใหม่ และแนวทางในการเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ในการปฎิบัติงานของข้าราชการในยุคปกติวิถีใหม่ คือ การสร้างแรงจูงใจในการปฎิบัติงาน กำหนดแนวทางการสร้างแรงพลักดันในการทำงาน รวมถึงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่สนับสนุนการปฏิบัติงานและพัฒนางานเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการปฎิบัติงานให้สูงขึ้น

References

กฤษณ์ รักชาติเจริญ. (2555). ตัวแบบการประเมินรัฐอิเล็กทรอนิกส์. วารสารนักบริหาร. 32(3): 103-110.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2549). รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์.(พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รัตนไตร.

ทศพร ศิริสัมพนธ์. (2552). ทิศทางและแนวโน้มของรัฐประศาสนศาสตร์.เอกสารการสอนชุดวิชาแนวคิดทฤษฎีและหลักกการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 15 สาขาวิชาวิทยาการจัดการ.มหาวิทยาลัยสุโขทัย.

ลัดดา กุลนานันท์.(2543). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. ชลบุรี : มหาวิทยาลับบูรพา.

บุคลานุกรม

นายอภิญญา สุจริตานันท์.(ผู้ให้สัมภาษณ์). ภัทรธิดา รัตนจิตรานนท์ (ผู้สัมภาษณ์).ที่ ชั้น 14 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400. เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2564.

นายวรรณรัตน์ ศรีสุกใส.(ผู้ให้สัมภาษณ์). ภัทรธิดา รัตนจิตรานนท์ (ผู้สัมภาษณ์).ที่ ชั้น 14 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400. เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2564.

นายเกริกไกร นาสมยนต์.(ผู้ให้สัมภาษณ์). ภัทรธิดา รัตนจิตรานนท์ (ผู้สัมภาษณ์).ที่ ชั้น 14 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400. เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-30