การพัฒนาหลักสูตรภาพยนตร์ดิจิทัลเพื่อพัฒนาบัณทิตสู่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ในระดับนานาชาติ

ผู้แต่ง

  • พัชนี แสนไชย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • วรรณลักษณ์ อินทร์จันทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • นิวัฒน์ ประสิทธิวรวิทย์ อาจารย์ สาขาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรภาพยนตร์ดิจิทัล, พัฒนาบัณทิตสู่อุตสาหกรรมภาพยนตร์, นานาชาติ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลในการออกแบบเนื้อหารายวิชาในหลักสูตรภาพยนตร์ดิจิทัล 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรภาพยนตร์ดิจิทัลโดยมุ่งเน้นสร้างบัณฑิตสู่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ในระดับนานาชาติ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยและตำราที่เกี่ยวข้อง นำมาออกแบบโครงร่างหลักสูตร สร้างแบบสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม เพื่อใช้สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายวิชาชีพและวิชาการ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากความเชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์และนิเทศศาสตร์ โดยเป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานในวงการภาพยนตร์และนิเทศศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 7 ปี และจะต้องเป็นผู้มีผลงานและเคยได้รับรางวัลทางด้านภาพยนตร์ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ จำนวนทั้งสิ้น 9 ท่าน นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ (1 ท่าน ) นักวิชาการด้านภาพยนตร์ (1 ท่าน) นักวิจารณ์ (1 ท่าน) ผู้ดูแลธุรกิจการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ (2 ท่าน) ผู้กำกับภาพยนตร์ (2 ท่าน) ผู้กำกับภาพ (1 ท่าน) เจ้าของธุรกิจกระบวนการหลังการผลิตภาพยนตร์ (1 ท่าน) ทำการวิเคราะห์และนำเสนอในลักษณะพรรณนา
          ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลในการออกแบบเนื้อหารายวิชาในหลักสูตรภาพยนตร์ดิจิทัล มุ่งเน้นสร้างหลักสูตรที่มีคุณภาพ หน่วยกิตน้อยลง ใช้ระยะเวลาเรียนสั้นและสร้างความเป็นมืออาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะหลากหลายหรือไฮบริดแต่ต้องมีจุดเน้นเชี่ยวชาญเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเป็นหลัก มีศิลปะการเล่าเรื่อง เน้นกิจกรรม ใช้หลักการผสมผสานข้ามศาสตร์ ต้องพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีนเพื่อเป็นประตูสู่ความเป็นนานาชาติ การพัฒนาหลักสูตรภาพยนตร์ดิจิทัลโดยมุ่งเน้นสร้างบัณฑิตสู่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ในระดับนานาชาติ โดยออกแบบหลักสูตรออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวิชาภาพยนตร์ศึกษาและการบริหารจัดการธุรกิจภาพยนตร์และกลุ่มการผลิตภาพยนตร์และวิชวลเอฟเฟค (visual effects) โดยเน้นการส่งเสริมสร้างอาชีพผู้จัดจำหน่ายและธุรกิจภาพยนตร์ต้องสร้างคนที่สามารถจบออกไปสร้างธุรกิจขนาดเล็ก (Small and medium-sized enterprises : SME) การเป็นเจ้าของกิจการ เรียนรู้การสร้างนวัตกรรมเป็นช่องทางให้นักศึกษาได้ประกอบอาชีพหรือส่งเสริมการทำสตาร์ตอัปและเน้นสร้างบัณฑิตให้มีศักยภาพด้านการเขียนบท ความคิดสร้างสรรค์ ผู้ผลิตภาพยนตร์ เข้าใจคุณค่าของงานศิลปะ มีความสามารถด้านภาษา และมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน จุดที่ต้องเน้น คือ ความเข้าใจในการเล่าเรื่องเพราะคือต้นทุนที่บัณฑิตภาพยนตร์จะข้ามไปเล่าเรื่องในสื่ออื่นได้โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นสื่อภาพยนตร์เท่านั้น

References

กุลฤดี นุ่มทองและอัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2558). อุตสาหกรรมภาพยนตร์ยุคสื่อใหม่ในอาเซียน: ก้าวย่างใหม่สู่โลก. ออนไลน์และภูมิภาคอุษาคเนย์. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า. 2(2), 43-52.

คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ. (2559). การปฏิรูปเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และเชิงวัฒนธรรม (Creative and Cultural Economy). ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564, จาก : https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/lirt/471168/CR125590328.pdf?sequence=1

ณัฐิยา ศิริสวัสดิ์. (2557). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมรายวิชาเพิ่มเติมสาระท้องถิ่น เรื่องประเพณีที่สำคัญของบ้านท่าแร่สกลนคร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 4(3), 143-169 .

ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2561). ยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560-2579. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564, จาก : http://rdi.bru.ac.th/2018/wp-content/uploads/2020/08/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A0-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B0-20-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-%E0%B8%9E.%E0%B8%A8.2560-2579-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%8711.pdf

มงคล หมู่มาก, อังคณา อ่อนธานี, วารีรัตน์ แก้วอุไรและเอื้อมพร หลินเจริญ. (2559). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างความสามารถทำวิจัยปฏิบัติในชั้นเรียนด้วยเครือข่ายการจัดการความรู้สำหรับครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(1), 1-9

มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2561). คู่มือสหกิจศึกษา. พิษณุโลก: ดาวเงินการพิมพ์. 58 หน้า

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (2563). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564-2568) ฉบับปรับปรุง (ฉบับเต็ม). กรุงเทพฯ : บริษัท สหธรรมิก จํากัด [สํานักงานใหญ่]. 216 หน้า

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2535). การพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจร. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2552). “หลักสูตร”.สารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : บริษัท อาร์ แอนด์ ปริ้นท์ จำกัด.

วรทัศน์ วัฒนชีวโนปกรณ์, จักรกฤษณ์ โปณะทอง และจตุพร ยงศร. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบของทักษะสื่อสารของนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 10(2), 70-89.

ศุภณิช จันทร์สอง. (2560). การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา หลักสูตรนิเทศศาตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต, 11(2), 315-335.

สราวุฒิ ทองศรีคำ, มาโนช ชุ่มเมืองปัก และฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2563). ประสบการณ์ความบันเทิงของภาพยนตร์สตรีมมิ่งและการปรับตัวของธุรกิจภาพยนตร์ในประเทศไทย. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 20(2), 74-88.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2564, จาก : http:/www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. (2560). คู่มือการดำเนินงานสหกิจศึกษา. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

อธิเทพ งามศิลปเสถียร. (2563). แนวทางการยกระดับคุณภาพของสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ในประเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา,11(2), 60-74.

อมรรัตน์ เรืองสกุล, วรรณรัตน์ โรจนวิเชียร, ศักดิ์สิทธิ์ โรจนวิเชียร, สุวลักษณ์ ห่วงเย็น, จินตนา ตันสุวรรณนนท์, ขจิตขวัญ กิจวิสาละ และคณะ. (2562). แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรนิเทศศาสตร์เพื่อเข้าสู่ตลาดงานทางการสื่อสารในประเทศไทย. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(3). 205-217.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-26