ภาวะผู้นำและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ณฐพัฒน์ มั่งชม นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการประยุกต์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ธัมมะทินนา ศรีสุพรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการการจัดการประยุกต์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ประสิทธิชัย นรากรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, บุคลากรสายสนับสนุน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นด้านภาวะผู้นำ ปัจจัย และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จังหวัดพิษณุโลก 3) เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.983 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จังหวัดพิษณุโลก มีระดับความคิดเห็นด้านภาวะผู้นำ ด้านปัจจัย และด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยนส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้เท่ากับร้อยละ 55.80 ส่วนด้านปัจจัยจูงใจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถร่วมกันการพยากรณ์ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ได้ร้อยละ 73.30 และปัจจัยค้ำจุนส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถร่วมกันการพยากรณ์ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ได้ร้อยละ 76.10 ซึ่งผู้บริหารองค์กร

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 7) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรงค์ พุ่มนวน. (2562). การสร้างแรงบันดาลใจเพื่อการพัฒนางานประจำของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา. Mahidol R2R e-Journal. 6(1), 1-13.

ชัยธวัช เนียมศิริ (2560). ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพในยุค Thailand 4.0 : กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิจัยสาขาสังคมจิตวิทยา, หลักสูตร วปอ. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ทิพวัลย์ ชาลีเครือ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นลพรรณ บุญฤทธิ์.(2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปทิตตา จันทวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของลูกจ้างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พิมพ์ลักษณ์ อยู่วัฒนา. (2557). แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุน เครือข่ายบริการสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2564, จาก : http://www.gaa-moph.com/gaamoph/home/Document2/Pimluck-10.2.pdf.

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2560). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสาร มจร.การพัฒนาสังคม. 2(1), 20-29.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก, กองบริหารทรัพยากร. (2563). สถิติจำนวนและสัดส่วนบุคลากร. ค้นเมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม 2563, จาก https://plc.rmutl.ac.th/hr/.

มหาวิทยาลัยนเรศวร, กองการบริหารงานบุคคล. (2563). สถิติจำนวนและสัดส่วนบุคลากร. ค้นเมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม 2563, จาก https://www.personnel.nu.ac.th/home/.

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, กองบริหารงานบุคคล. (2563). สถิติจำนวนและสัดส่วนบุคลากร. ค้นเมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม 2563, จาก http://personnel.psru.ac.th/.

สุพจน์ เอี้ยงกุญชร. (2560). บทบาทหน้าที่สำคัญของฝ่ายสนับสนุนต่อภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการ ปขมท. 6(3), 1-4.

สุพรรษา บุญนิติภพ (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Bass, B.M. (1985). Leadership & Performance beyond Expectation. New york: Free Press

Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper and Row.

Herzberg, F. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Kuhnert, K. W., & Lewis, P. (1987). Transactional and transformational Leadership: A constructive development analysis. Academy of Management Review, 12, 648 – 657.

Peterson, E., & Plowman, E.G. (1989). Business organization and management. Homewood, Illinois: Richard D. Irwin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-03