ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานของข้าราชการตำแหน่ง เสมียนตราอำเภอ สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ผู้แต่ง

  • กรรัช กุณรินทร์ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
  • จิราพร ระโหฐาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจําหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

เสมียนตราอำเภอ สังกัด กรมการปกครอง, เสมียนตราอำเภอ, กรมการปกครอง, ความตั้งใจคงอยู่ในงาน, ความผูกพัน, การยึดมั่นอุดมการณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านบุคคลที่มีผลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานของข้าราชการ ตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความพึงพอใจในงานที่มีผลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานของข้าราชการ ตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านองค์กรที่มีผลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานของข้าราชการ ตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลความตั้งใจคงอยู่ในงานของข้าราชการ ตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ สังกัดกรมการปกครอง กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านการบัญชี      ของกรมการปกครอง ในตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ จำนวน 316 คน สถิติที่ใชในการวิเคราะห์ขอมูล ได้แก ค่าความถี่ ค่าร้อยละ คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance : ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านบุคคลที่มีผลความตั้งใจคงอยู่ในงานของข้าราชการ ตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ แตกต่างกันด้านระดับการศึกษาและรายได้ต่อเดือน 2) ปัจจัยปัจจัยด้านความพึงพอใจในงานที่มีผลต่อความผูกพัน ได้แก่ บรรยากาศในการทำงาน ผลการปฏิบัติงาน และความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัว/ครอบครัว ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการยึดมั่นอุดมการณ์ในการทำงาน ได้แก่ บรรยากาศในการทำงาน และผลการปฏิบัติงาน ตามลำดับ 3) ปัจจัยปัจจัยด้านองค์กรที่มีผลต่อความผูกพัน ได้แก่ วัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กร และการได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการยึดมั่นอุดมการณ์ในการทำงาน ได้แก่ วัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงาน และความรับผิดชอบและความอิสระในงาน ตามลำดับ 4) ความตั้งใจคงอยู่ในงานของข้าราชการ ตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ ได้แก่ ด้านความผูกพัน และด้านการยึดมั่นอุดมการณ์ในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก

References

กรมการปกครอง. (2560). ประวัติและวิสัยทัศน์กรมการปกครอง [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564, จาก : https://www.dopa.go.th/info_organ/about2

กระทรวงมหาดไทย. (2535). 100 ปี มหาดไทย. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาการพิมพ์.

กฤษดา แสวงดี. (2551). สถานการณ์กำลังคนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบ สาธารณสุข, 2(1), 40 - 46.

กองการเจ้าหน้าที่ กรมการปกครอง (2564). สถิติจำนวนข้าราชการแยกตามตำแหน่งในสายงาน (ตามกรอบอัตรากำลัง) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2564, จาก : https://dopa.go.th/dopaperson/main/web_index

จุไรวรรณ บินดุเหล็ม. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจคงอยู่ในงานของข้าราชการและลูกจ้าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

นงนุช วงษ์สุวรรณ. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักส์. 295 หน้า.

นิรันดร์ นามคํา (2556). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสำนักงานเลขานุการกรมกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยทองสุข

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

รัตน์สินี รื่นนุสาน. (2560). ปัจจัยส่งผลต่อความคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุษา เฟื้องยูร. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอท่าใหม่จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-30