การสื่อสารวัฒนธรรมอีสานในมิวสิควิดีโอเพลงไทยสากล : ศึกษาในเพลง “ขวัญเอยขวัญมา”

ผู้แต่ง

  • อุมาพร ประชาชิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, วัฒนธรรมอีสาน, มิวสิควิดีโอ

บทคัดย่อ

การวิจัย “การสื่อสารวัฒนธรรมอีสานในมิวสิกวิดีโอเพลงไทยสากล : ศึกษาในเพลง ขวัญเอยขวัญมา” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงวิธีการสื่อสารวัฒนธรรมอีสานในมิวสิกวิดีโอเพลงไทยสากลผ่านองค์ประกอบการเล่าเรื่องของมิวสิกวิดีโอ โดยศึกษาในมิวสิกวิดีโอเพลง “ขวัญเอยขวัญมา” ศิลปิน ปาล์มมี่ ซึ่งเป็นศิลปินยอดนิยมที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้รับสารที่หลากหลายโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยโดยวิเคราะห์ตัวบทมิวสิกวิดีโอ (textual analysis) ผ่านแนวคิดองค์ประกอบการเล่าเรื่องและแนวคิดวัฒนธรรมอีสาน ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้กำกับมิวสิกวิดีโอ ผลการวิจัยพบว่า มิวสิกวิดีโอเพลง ขวัญเอยขวัญมา มีการสื่อสารวัฒนธรรมอีสานผ่านองค์ประกอบการเล่าเรื่อง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) โครงเรื่องที่เล่าถึงการใช้พิธีกรรมโบราณของอีสาน เพื่อเรียกขวัญผู้ป่วย 2) แก่นเรื่องเกี่ยวกับความรักของครอบครัวที่ช่วยเยียวยาความเจ็บป่วยทางใจ 3) ตัวละครใน มิวสิกวิดีโอซึ่งเป็นชาวอี สานทั้งหมด และ 4) สัญลักษณ์พิเศษที่สื่อถึงวัฒนธรรมอีสานด้านความเชื่อ ค่านิยม และพิธีกรรม โดยมีการสื่อสารวัฒนธรรมอีสานประเภทพิธีกรรม คือ พิธีส่อนขวัญ มากที่สุด พบว่าการดำเนินเรื่องของ มิวสิกวิดีโอมีเส้นเรื่องเป็นการประกอบพิธีกรรม มีการแสดงถึงองค์ประกอบในพิธีกรรมและขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมตั้งแต่เริ่มต้นจนจบพิธี นอกจากนี้ยังแฝงด้วยวัฒนธรรมประเภทอื่นๆ ได้แก่ ความเชื่อด้านวิญญาณ การแต่งกายแบบชาวอีสาน ที่อยู่อาศัยแบบอีสานสมัยใหม่ และงานช่างฝีมือของชาวอีสาน ที่ถ่ายทอดผ่านองค์ประกอบการเล่าเรื่องทั้งหมด โดยนำเสนอวัฒนธรรมอีสานด้วยการดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัยและความเข้าใจของคนสมัยใหม่ จึงใช้พิธีกรรมโบราณผสานกับตัวละครที่ดูเป็นคนรุ่นใหม่ และสถานการณ์ใหม่ๆ ที่เข้าถึงผู้ชมได้อย่างชัดเจน ลดทอนความเป็นอีสานแท้และเริ่มกลายพันธุ์เป็นอีสานแบบใหม่ วัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นและคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ เข้าใจ และพร้อมนอมรับวัฒนธรรมอีสานให้คงอยู่ต่อไป

References

กิจติพงษ์ ประชาชิต. (2554). วัฒนธรรมอีสานในสื่อพื้นบ้าน. วารสารวิชาการ AJNU ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2(1), 74-86.

เทพพร มังธานี. (2557). บทบาทของครอบครัวในการปลูกฝังจริยธรรมแก่เยาวชนในภาคอีสาน. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ปีที่ 31 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน 2557), 45 - 64

ธนาคารไทยพาณิชย์. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคอีสาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

นพพร ประชากุล. (2543) “สัมพันธบท” (Intertextuality). สารคดี. ปีที่ 16 ฉบับที่ 182, 175 – 177.

ปุญณิศา สิโรตมาภรณ์. (2552) การถ่ายทอดวัฒนธรรมอีสานผ่านหนังสือการ์ตูนหนูหิ่นอินเตอร์ในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประกายกาวิล ศรีจินดา, สุปราณี วัฒนสิน, มณฑิตา ครุผาด. (2563). การสื่อสารวัฒนธรรมอีสานในภาพยนตร์ “ไทบ้าน เดอะซีรีส์”. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 15(1), 73-88.

เพิ่มพร รังสีสังกูร. (2544). วิเคราะหวรรรกรรมเพลงของสลา คุณวุฒิ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เพ็ญพิมพ์ พวงสุวรรณ, พรนภา ธนโพธิวิรัตน์, ผกามาศ ชัยรัตน์, เกริกกิต ชัยรัตน์. (2563). วัฒนธรรมอีสานผ่านบทเพลงลูกทุ่งไทย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(3), 139 – 156.

ภาสพงศ์ ผิวพอใช้. (2548). เพลงลูกทุ่งอีสานกับการสะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่น : ศึกษาในผลงานเพลงของศิริพร อำไพพงษ์. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2562). ขวัญเอ๋ย ขวัญมาจากไหน?. มติชนสุดสัปดาห์ (ฉบับวันที่ 1 – 7 พฤศจิกายน 2562). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน.

อรัญญา แสนสระ. (2560). ภูมิปัญญาท้องถิ่นในภาษาและวัฒนธรรมอีสาน. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(1), 1-16.

AI (2021). YouTube’s Most Streamed Artists of 2020 (ออนไลน์). ค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2564, จาก https://chartmasters.org/2021/01/youtubes-most-streamed-artists-of-2020

บุคลานุกรม

ธิติ ศรีนวล. (ผู้ให้สัมภาษณ์). อุมาพร ประชาชิต (ผู้สัมภาษณ์). ที่ ออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet. เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-22