การทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพื้นที่จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • วสันต์ กาญจนมุกดา อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ภานุ ธรรมสุวรรณ อาจารย์ประจำสำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • วิวัฒน์ ฤทธิมา อาจารย์ประจำวิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การทำบัญชีครัวเรือน , หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, จังหวัดพัทลุง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) เสนอรูปแบบการพัฒนาบัญชีครัวเรือนอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ศึกษา  การพัฒนาบัญชีครัวเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพัทลุง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามเกษตรกร อำเภอละ 100 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,100 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพและการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ด้านความเข้าใจการจัดทำบัญชีครัวเรือน ด้านความรู้คู่คุณธรรม ด้านความพอประมาณ และด้านความมีเหตุผล 2) รูปแบบการพัฒนาบัญชีครัวเรือนอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพัทลุงในด้านการคำนวณต้นทุนในการประกอบอาชีพ ด้านรูปแบบการพัฒนาบัญชีครัวเรือน ด้านรายรับและด้านการออมเงินอยู่ในระดับมาก และ 3) การพัฒนาบัญชีครัวเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร ด้านรูปแบบและวิธีการบันทึกบัญชีครัวเรือน ด้านการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  ด้านการปฏิบัติในการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน ด้านการส่งเสริมองค์ความรู้การทำบัญชีครัวเรือนและด้านทักษะการคิดหลักบัญชีของบัญชีครัวเรือน สำหรับการส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ควรขับเคลื่อนเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร

References

Phakdeethai C. (2006). The perception and practice in the preparation of household accounts of farmers groups in Nong Yao Sub-district, Muang District, Saraburi Province. Research report Saraburi Vocational College Saraburi : Office of the Vocational Education Commission. (in Thai).

Phatthalung Provincial Office (2020). Phatthalung Province Information 2020. Phatthalung: Phatthalung Provincial Office. (in Thai).

Kamchoom R. (2007). The Understanding of family accounting pratices : A case study of farmers' in Mueang district, Nan Province. Chiang Mai : Graduate School Chiang Mai University. (in Thai).

Thawichan S. (2013). The integration of household accounts to strengthen the accounting wisdom based on the philosophy of sufficiency economy. Journal of Graduate Studies. Sakon Nakhon Rajabhat University. 8(6), 14-29 (in Thai).

Tantivejkul S. (2007). New Theory and Sufficiency Economy. Bangkok: National Institute of Development Administration. (in Thai).

Likitwongkajorn N. (2007). Household Accounting: Tool to the Sufficiency Economy.Journal of Academic Service Center of Khon Kean University, 15(3), 25-29. (in Thai).

Maitreechit, A. (2016). Acceptance of Househole Accounting for the People in Ngewral Subdistrict, Nakhon Chaisi District in Nakhon Pathom. Journal of Chandrakasemsarn, 22(42), 13-20. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-05