การพัฒนาระบบการเบิกจ่ายตามมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
คำสำคัญ:
ระบบการเบิกจ่าย, การบริหารงบประมาณ, มาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ, งบประมาณรายจ่ายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยในการพัฒนาระบบการเบิกจ่ายตามมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย และ 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวมตามมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นบุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุนที่มีโครงการ/ กิจกรรม ในปีงบประมาณ 2562 งบประมาณตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป จำนวน 309 คน จาก 13 หน่วยงาน คำนวณหาตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ยามาเน่ กำหนดขนาดตัวอย่างได้ 174 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกนักวิเคราะห์นโยบายและแผน จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการเบิกจ่ายตามมาตรการด้านงบประมาณทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย 2) ด้านการบริหารงบประมาณ 3) ด้านระบบขั้นตอน 4) ด้านบุคลากร 5) ด้านอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ ด้วยสถิติ t-test และ one-way ANOVA ผลการวิจัยดังนี้ ผลการศึกษาปัจจัยในการพัฒนาระบบการเบิกจ่ายตามมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเบิกจ่ายตามมาตรการด้านงบประมาณ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล จำแนกตามเพศ อายุ และประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ระดับการศึกษา สังกัด และสถานภาพ ที่แตกต่างมีผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ผลการหาแนวทางพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณตามมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พบว่าควรให้มีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรที่รับผิดชอบโครงการและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้การทำงานเกิดความถูกต้องและเป็นไปตามเป้าหมาย พร้อมทั้งซักซ้อมแนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณ และจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน ขั้นตอนการทำงาน และมาตรฐานคุณภาพงานทำงานเกิดความถูกต้องและเป็นไปตามเป้าหมาย พร้อมทั้งซักซ้อมแนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณ และจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน ขั้นตอนการทำงาน และมาตรฐานคุณภาพงาน
References
กมลทิพย์ คงสวัสดิ์พร. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2556 ของกรมที่ดี. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(2), 77 - 88.
กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. (2562). สถิติการขอนุมัติกิจกรรม และดำเนินกิจกรรม [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2562, จาก : https://plan.pbru.ac.th/detail.php?id=213&St=B.
จารุวรรณ ภู่ช้าง. (2552). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขการเบิกจ่ายงบประมาณและเงินรายได้ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. (2562). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2562 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2562, จาก : https://www.pbru.ac.th/pbru/news/7612.
รชิตา วรัตถ์ธนพิตญ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายในงบประมาณของสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนสินทร์.
วัชระ สท้อนดี. (2560). ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรรณี บุญศรีเลิศ. (2554). ประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณรายจ่ายของเทศบาลตำบลลำพันชาด อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศักดา หาญยุทธ. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาองค์กรในบริบทการจัดการความรู้เพื่อประสิทธิภาพทางการบริหารของเทศบาลเมืองจังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร, 6(3), 310 - 322.
สำนักงบประมาณ. (2563). มาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2563, จาก : https://www.cgd.go.th/cs/Satellite?blobcol=urldata&blobheadername1=Content-Disposition&blobheadername2=filename&blobheadervalue1=inline%3B+filename%3D"มาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ+พ.ศ.2563.pdf"&blobkey=id&blobnocache=false&blobtable=MungoBlobs &blobwhere=1438175784067&ssbinary=true.
Yamane, T. (1973). Statistics : an Introductory Analysis. (3rd edition). New York : Harper and Row Publications.
บุคลานุกรม
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ก. (ผู้ให้สัมภาษณ์). ณัฐจิรา หวังดี (ผู้สัมภาษณ์). ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ถนนหาดเจ้าสำราญ ตำบลนาวุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000. เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563.
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ข. (ผู้ให้สัมภาษณ์). ณัฐจิรา หวังดี (ผู้สัมภาษณ์). ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ถนนหาดเจ้าสำราญ ตำบลนาวุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000. เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563.
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ค. (ผู้ให้สัมภาษณ์). ณัฐจิรา หวังดี (ผู้สัมภาษณ์). ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ถนนหาดเจ้าสำราญ ตำบลนาวุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000. เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563.
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ง. (ผู้ให้สัมภาษณ์). ณัฐจิรา หวังดี (ผู้สัมภาษณ์). ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ถนนหาดเจ้าสำราญ ตำบลนาวุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000. เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563.