การศึกษาโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวดอนหอยหลอดจังหวัดสมุทรสงครามภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)
คำสำคัญ:
โซ่คุณค่า, การท่องเที่ยว, ดอนหอยหลอด, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อดอนหอยหลอดจังหวัดสมุทรสงครามภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) 2. เพื่อศึกษากิจกรรมโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวดอนหอยหลอดจังหวัดสมุทรสงครามภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวดอนหอยหลอดจังหวัดสมุทรสงคราม ได้แก่ ผู้ประกอบการ ตัวแทนท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยว โดยเชิงปริมาณ 330 คน และเชิงคุณภาพ 30 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ประกอบด้วย ปัจจัยต้นน้ำในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.95 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความพึงพอใจ ระดับปานกลาง คือ วิถีชีวิต ค่าน้ำค่าไฟ สินค้าและบริการ อาหารและเครื่องดื่ม และระดับน้อย คือ ขยะและภาครัฐ ปัจจัยกลางน้ำในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.80 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความพึงพอใจระดับมาก คือ สถานที่ท่องเที่ยว ที่พักและบริการ การขนส่ง และปัจจัยปลายน้ำในภาพรวมอยู่ในระดับอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.20 คือ นักท่องเที่ยว 2. ผลการศึกษากิจกรรมโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวดอนหอยหลอดจังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า กิจกรรมภายในองค์กรแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ กิจกรรมหลัก และกิจกรรมสนับสนุน โดยมีแนวทางส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมโซ่คุณค่าการท่องเที่ยว ดังนี้ 1) ควรนำเอกลักษณ์และลักษณะเด่นของดอนหอยหลอดใช้เป็นแผนในการสร้างมูลค่าเพิ่มมูลค่าให้กับดอนหอยหลอด 2) ควรนำเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาช่วยในการสื่อสาร เช่น การประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์และสื่อสังคมเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) เป็นต้น 3) ควรมีการพัฒนาการฏิบัติการด้านท่องเที่ยวดอนหอยหลอดอย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน และ 4) ควรประยุกต์แนวทางการบริหารจัดการโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวให้ครอบคลุมกับทุกกิจกรรมการท่องเที่ยวของดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม
References
กรมการท่องเที่ยว. (2563). คู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการ และกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2564, จาก : https://thailandsha.tourismthailand.org/file/COVID-19_th.pdf.
ญาลิสาฐ์ ต้นสอน. (2559). แนวทางการพัฒนาโซ่คุณค่าเพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการของการบริษัทนำเที่ยวของไทยเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าตามกรอบความร่วมมือของอาเซียน, BU ACADEMIC REVIEW, 15(1), 86 - 100.
บุญชม ศรีสะอาด. (2538). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 2 . (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 232 หน้า.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 228 หน้า.
ประพิม ปิยางสุ และกัลยา วัฒยากร. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ, 5(5), 15 - 24.
ยรรยง ศรีสม. (2553). ห่วงโซ่คุณค่า (ตอนจบ) Value Chain ในงานโลจิสติกส์. Technology Promotion, 37(211), 39 - 44.
ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์. (2563). วิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไร. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 3(2), 1 – 14.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). COVID-19 และผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2564, จาก : https://www.mots.go.th/download/TourismEconomicReport /4-1TourismEconomicVol4.pdf.
Porter, M. E. (1985). Competitive Advantage : Creating and Sustaining Superior Performance. New York : Free Press.
Tapper, R. and Font, X. (2004). Tourism Supply Chains-Report of a Desk Research Project for The Travel Foundation [Online]. Retrieved January 17th, 2021, Available : https://icrtourism.com.au/wp-content/uploads/2012/09/TourismSupplyChains.pdf.