การจัดการห่วงโซ่อุปทานมันสำปะหลังในเขตพื้นที่อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน, มันสำปะหลัง, อำเภอจอมบึง, จังหวัดราชบุรีบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานมันสำปะหลังในเขตพื้นที่อำเภอ จอมบึง จังหวัดราชบุรี และ 2) เพื่อศึกษาการจัดการของห่วงโซ่อุปทานมันสำปะหลังในเขตพื้นที่อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังในเขตพื้นที่อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานมันสำปะหลังในเขตพื้นที่อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี สามารถสรุปกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง ห่วงโซ่อุปทานของมันสำปะหลังประกอบด้วยกิจกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ กิจกรรมต้นน้ำ คือ การปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกร กิจกรรมกลางน้ำ คือ การรวบรวมมันสำปะหลังสดมาทำการแปรรูปเป็นแป้งมันสำปะหลัง และกิจกรรมปลายน้ำ คือ แป้งมันสำปะหลังที่ส่งขายในตลาดผู้บริโภคโดยตรง และอีกส่วนหนึ่งส่งขายให้กับอุตสาหกรรมปลายน้ำเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบและเป็นปัจจัยการผลิตของอุตาหกรรมแปรรูปอื่น และ 2) การจัดการห่วงโซ่อุปทานมันสำปะหลัง โดยภาพรวมมีความสำคัญในระดับมาก ( = 3.99, S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า คือ ด้านการวางแผนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.04, S.D. = 0.47) รองลงมา คือ ด้านการผลิต ( = 4.03, S.D. = 0.35) ด้านการส่งมอบ ( = 4.00, S.D. = 0.52) ด้านการจัดหา ( = 3.98, S.D. = 0.84) และด้านการรับคืนสินค้า ( = 3.95, S.D. = 0.59) ตามลำดับ
References
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร. (2563). รายชื่อเกษตรกรจังหวัดราชบุรี 2563. ราชบุรี : สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี.
จงกลบดินทร์ แสงอาสภวิริยะ, พาวิน มะโนชัย, ศิริกุล ตุลาสมบัติ, ภูษณิศา เตชเถกิง, นิตยา ถาวัน, บุษบง ฝั้นแจ้ง. (2553). สมรรถนะของโซ่อุปทานการผลิตลำไยเพื่อการส่งออกของประเทศไทย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 228 หน้า.
พรทิพย์ รอดพ้น, นวินดา ซื่อตรง, นิลุบล วิโรจน์ผดุงพงศ์. (2561). การจัดการห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมมันสำปะหลังในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 12(2), 46 - 57.
ไพฑูรย์ ฟักเขียว. (2557). การศึกษาระบบการเพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง. วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 7(3), 93 - 102.
รุ่งนภา ปฐมชัยอัมพร. (2556). อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานตามแนวคิด Balanced Scorecard (BSC). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชริน มีรอด, กุลวรางค์ สุวรรณศรี, กฤษดา บำรุงวงศ์. (2558). การศึกษาผลกระทบและเตรียมความพร้อมของภาคเกษตรไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : กรณีศึกษามันสำปะหลัง. รายงานการวิจัย. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
วิทยา สุหฤทดำรง. (2550). ความรู้โลจิสติกส์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.
อุบลรัตน์ แจ้งเจริญ. (2554). ปัจจัยความสำเร็จของกระบวนการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในธุรกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Test. (5th edition). New York : Harper Collins.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.
Likert, R. N. (1970). A technique for the measurement of attitude. Attitude Measurement. Chicago : Ronal McNally & Company.
บุคลานุกรม
ผู้ประกอบการ ก. (ผู้ให้สัมภาษณ์). เนตรตะวัน โสมนาม (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านหนองขนาก ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี 70150. เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563.
ผู้ประกอบการ ข. (ผู้ให้สัมภาษณ์). เนตรตะวัน โสมนาม (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านหนองขนาก ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี 70150. เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563.
ผู้ประกอบการ ค. (ผู้ให้สัมภาษณ์). เนตรตะวัน โสมนาม (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านแสนกะบะ ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี 70150. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563.
ผู้ประกอบการ ง. (ผู้ให้สัมภาษณ์). เนตรตะวัน โสมนาม (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านแสนกะบะ ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี 70150. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563.
ผู้ประกอบการ จ. (ผู้ให้สัมภาษณ์). เนตรตะวัน โสมนาม (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านรางม่วง ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี 70150. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563.