การสื่อสารโภชนาการเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้ป่วยไตเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • ทรงสุดา ขวัญประชา นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น, สาขาวิชานิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุภาภรณ์ ศรีดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วิทยาธร ท่อแก้ว รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การสื่อสารโภชนาการ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค, ผู้ป่วยไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับโลก เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 12 และทำให้เกิดภาวะพิการหรือทุพพลภาพอันดับที่ 17 มีแนวโน้มสูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากขึ้น สำหรับในประเทศไทยในแต่ละปีมีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายสูงถึงร้อยละ 15 - 20 ต่อปี ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารทั้งชนิด จำนวนที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นการนำการสื่อสารโภชนาการประกอบด้วยกระบวนการสื่อสาร กลยุทธ์การสื่อสาร รูปแบบการสื่อสาร มาใช้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้ป่วยไตเรื้อรัง ทั้งการพัฒนากระบวนการสื่อสาร การปรับกลยุทธ์ในการสื่อสารตั้งแต่ผู้ส่งสาร ตัวสาร สื่อที่ใช้ และผู้รับสาร การพัฒนารูปแบบการสื่อสารเพื่อนำตัวสาร ที่เหมาะสม ครบถ้วนไปเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ ให้ผู้ป่วยและญาติ เพื่อให้เกิดทัศนคติ ความเชื่อที่ถูกต้อง อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดการลดภาวะแทรกซ้อนและความชุกของการเกิดผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ช่วยชะลอความรุนแรงของโรคและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการสื่อสารสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นได้

References

เกษราภรณ์ สุตตาพงค์, ธามน รัตนจินดา, ณัฐยา ยวงใย. (2563). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมในองค์กรยุคประเทศไทย 4.0. วารสารนักบริหาร, 40(1), 125 - 139.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). กลยุทธ์การดำเนินงานสุขศึกษาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ : 25 มีเดีย.

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 : พ.ศ. 2560 - 2564 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2564, จาก : http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20180914162453_1_.pdf.

ฐนิต วินิจจะกูล. (2559). ป้าอคาเดมี่ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 8 พฤษจิกายน 2559, จาก : http://sheacademy.in.th/ ?p=1217.

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2556). การใช้แบบจำลอง KAP กับการศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติการป้องกัน การติดเชื้อ เอช ไอ วี/ เอดส์ ของคนประจำเรือไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(2), 84 – 102.

เบญจมาส เรืองดิษฐ์, เสาวลักษณ์ อุไรรัตน์, ชุลินดา สะมะแด. (2559). การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ในเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ โรงพยาบาลสงขลา. วารสารเครือข่ายโรงพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 194 - 207.

พิมพ์พิลัย ไชยพรม. (2561). การดำเนินงานหมู่บ้านรักษ์ไตโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน หมู่ 3 ตำบลชื่นชม อำเภอชื่นชม มหาสารคาม [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2564, จาก : http://mkho.moph.go.th/ research2018/showdata2.php?id=136.

พิมพ์สุภัค ปานเพียรกุลภัค. (2559). ผลของโปรแกรมควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในคลินิกชะลอไตเสื่อม

โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 6(3), 205 - 215.

มรุต จิรเศรษฐสิริ. (2561). สตรีไทย ไต Strong [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564, จาก : https:// pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/07/108117.

วิกานดา พรสกุลวานิช. (2560). สื่อใหม่และการจัดการการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2563). ข้อมูลการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย พ.ศ. 2559 - 2562 [ซีดีรอม]. กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมาธิการการลงทะเบียนการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรถนนท์ อุรบุญนวลชาติ และเชี่ยวชาญ อาศุวัฒนกูล. (2561). ความคิดเห็นของพยาบาลโรงพยาบาลศิริราชที่มีต่อนโยบายพัฒนสุขภาพแห่งชาติ. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 5(2), 195 – 215.

อนุสรณ์ สนิทชน. (2562). ผลของการให้คำปรึกษาโดยการใช้การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจงูใจ ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารโภชนาการ, 54(1), 55 – 68.

Cockerham, W. C. (2014). Health Behavior. In The Wiley Blackwell Encyclopedia of Health, Illness, Behavior, and Society, American Cancer Society, Editor. New Jersey : John Wiley & Sons. 764 - 766.

DiClemente, R. J., Crosby, R. A., Kegler, M. C. (2002). Emerging Theories in Health Promotion Practice and Research : Strategies for Improving Public Health. San Francisco : Jossey Bass.

Fatema, K. and Lariscy, J. T. (2020). Mass media exposure and maternal healthcare utilization in South Asia. SSM - Population Health, 11(2020), 1 - 10.

Garfin, D. R., Silver, R. C., Holman, E. A. (2020). The Novel Coronavirus (COVID-2019) Outbreak : Amplification of PublicHealth Consequences by Media Exposure. Health Psychology, 39(5), 355 – 357.

Klapper, J. T. (1960). The Effects of Communication. New York : Free Press.

Li, X. (2018). Media Exposure, Perceived Efficacy, and Protective Behaviors in a Public Health Emergency. International Journal of Communication, 12(2018), 2641 – 2660.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-01