พฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรของผู้บริโภคในเขตเทศบาล เมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พิมภัสสร ชูตระกูล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ณัฐวุฒิ ใจกล้า คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • เพ็ญนฤมล จะระ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเลือกซื้อ, เครื่องสำอางสมุนไพร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 150 กลุ่มตัวอย่าง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยและ และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi-square ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 125 ราย (คิดเป็นร้อยละ 83.3) มีอายุระหว่าง 31-40 ปี จำนวน 60 ราย (คิดเป็นร้อยละ 40.0) มีอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 73 ราย (คิดเป็นร้อยละ 48.7) และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,000-20,000 บาท จำนวน 68 ราย (คิดเป็นร้อยละ 45.3) พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรประเภทบำรุงผิวพรรณ (Skin care) จำนวน 87 ราย (คิดเป็นร้อยละ 58.0) มีปริมาณการซื้อต่อครั้ง จำนวน 1-2 ชิ้น จำนวน 101 ราย (คิดเป็นร้อยละ 67.3) เหตุผลในการตัดสินใจซื้อของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เพราะเป็นสินค้าที่มีคุณภาพปลอดภัย  จำนวน 81 ราย (คิดเป็นร้อยละ 54.0) ผู้ที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ตัดสินใจด้วยตนเอง จำนวน 87 ราย (คิดเป็นร้อยละ 58.0) ความถี่ในการซื้อของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ 1 ครั้งต่อเดือน จำนวน 120 ราย (คิดเป็นร้อยละ 80.0) ค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้งของผู้ตอบแบบสอบถามต่ำกว่า 1,000 บาท จำนวน 95 ราย (คิดเป็นร้อยละ 63.3) และช่วงเวลาในการซื้อของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นทุกสิ้นเดือน จำนวน 105 ราย (คิดเป็นร้อยละ 70.0) และปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กันกับพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางสมุนไพร โดย เพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรในการเลือกประเภทผลิตภัณฑ์ ปริมาณในการซื้อต่อครั้ง ความถี่ในการซื้อ และค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้ง มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2548). การวางแผนและการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัชชา ศรีสันเทียะ (2548). พฤติกรรมการเลือกใช้เครื่องสำอางสมุนไพรไทย. กรุงเทพฯ : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

ธนพร สืบอินทร์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรอภัยภูเบศรของผู้บริโภคในจังหวัดปราจีนบุรี. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภัทรพร ธนสารโสภิณ. (2559). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค (Organic Beauty Product) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประภาสวัชร์ งามคณะ. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวหน้าที่มีส่วนผสมสมุนไพรไทยของสตรีในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ (การตลาด) โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ปริตภา รุ่งเรืองกุล. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรไทย ของผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29