ภูมิปัญญาหัตถกรรมจากไม้ไผ่ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ปิยรัตน์ ตังคณิตานนท์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • สุพิมพา วัฒนสังขโสภณ อาจารย์คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • จักรพงษ์ เจือจันทร์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

หัตถกรรมจากไม้ไผ่, แนวทางการพัฒนา, ส่งเสริมช่องทางการตลาด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภูมิปัญญาหัตถกรรมจากไม้ไผ่ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น และเพื่อการศึกษาแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากไม้ไผ่ วิธีการศึกษาใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ภูมิปัญญาหัตถกรรมจากไม้ไผ่ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น เป็นภูมิปัญญาที่มีการสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ พัฒนากลายเป็นเชิงพาณิชย์ที่สร้างอาชีพให้กับคนในชุมชนที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่ง จนทำให้ต้องนำเข้าไม้ไผ่จากที่อื่นมาใช้ผลิต มีหัตถกรรมจากไม้ไผ่หลากหลายประเภท ละยังคงเป็นรูปแบบเดิมๆ อยู่ ภาพรวมมีสภาพการดำเนินงานด้านการตลาดของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหัตถกรรมจากไม้ไผ่ อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 3.06) ด้านที่ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ (gif.latex?\bar{x} = 3.49) ด้านราคา (gif.latex?\bar{x} = 3.36) ด้านการจัดจำหน่าย (gif.latex?\bar{x} = 3.25) และด้านการส่งเสริมการตลาด (gif.latex?\bar{x} = 3.06) ตามลำดับ และภาพรวมมีปัญหาด้านการตลาดของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหัตถกรรมจากไม้ไผ่ อยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}= 3.20) ด้านที่ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านราคา (gif.latex?\bar{x} =  4.01) ด้านการส่งเสริมการตลาด (gif.latex?\bar{x} = 3.20) ด้านผลิตภัณฑ์ ( gif.latex?\bar{x}= 3.13) และส่วนด้านการจัดจำหน่าย (gif.latex?\bar{x} = 2.86) ตามลำดับ แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากไม้ไผ่ คือ พัฒนาหวดนึ่งข้าวอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อพัฒนาสู่สากล พัฒนาตราสินค้า สร้าง Brand หัตถกรรมจากไม้ไผ่ของชุมชน จัดตั้งสหกรณ์หัตถกรรมจากไม้ไผ่เพื่อเป็นศูนย์กลางจำหน่าย และจัดกิจกรรมเกี่ยวกับหัตถกรรมจากไม้ไผ่จากชุมชนในงานประจำปีของชุมชน อำเภอ หรือจังหวัด และพัฒนาให้มีการสื่อสารทางการตลาดหลากหลายช่องทางและหลายรูปแบบมากขึ้น

References

กฤษณา รัตนพฤกษ์. (2550). การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาหัตถกรรมท้องถิ่นและการตลาดในพื้นที่โครงการหลวง : กรณีศึกษาชาติพันธุ์ไทใหญ่. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน).

จิตจงรัก ภูติจันทร์. (2554). การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหัตถกรรมเครื่องจักสานไม้ไผ่ในประเทศไทย. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ชลธิชา สัตยาวัฒนา. (2524). หัตถกรรมเครื่องจักสานพื้นบ้าน ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : วิทยาลัยครูนครราชสีมา.

ชัชชัย สุจริต (2552). กลยุทธ์การขับเคลื่อนคุณค่าของตราสินค้าไทยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้สินค้าไทยในเวทีโลกาภิวัตน์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 4(10), 150-162.

ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์. (2557). การพัฒนาหัตถกรรมพื้นเมืองด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธวัชชัย ภักดีไทย. (2551). การจัดการหัตถกรรมเครื่องจักสานไม้ไผ่เพื่อการพึ่งพาตนเองอย่ายั่งยืน :กรณีศึกษา ชุมชนบ้านทุ่งแต้ ตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. 1(2), 56 - 71.

ธีรพงษ์ วสันตติลก. (2546). รูปแบบการพัฒนาตลาดผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมจังหวัดบุรีรัมย์สู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์.

บุญเลิศ สดสุชาติ. (2553). หัตถกรรมไม้ไผ่ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ. มหาสารคาม : สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

พระณรงค์ มูลเมือง. (2551). การจัดการผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น กลุ่มจักสานไม้ไผ่ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. หลักสูตรการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พวงเกสร วงศ์อนุพรกูล. (2552). แนวทางการพัฒนาด้านการตลาดของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านวัดจันทร์พัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

วิภา แก้วปานกัน. (2552). แนวทางอนุรักษ์และพัฒนาหัตถกรรมเครื่องจักสานไมไผในจังหวัดนครราชสีมา. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มาศพงษ์ สร้อยศิริกุล. (2556). ศึกษาอัตลักษณ์และพัฒนาหัตถกรรมผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์. หลักสูตรปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ยุพินพักตร์ ฝ่ายสัจจา. (2549). หัตถกรรมไม้ไผ่กับวิถีชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มสตรีและเยาวชนสหกรณ์บ้านกลาง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษาเพื่อการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

รุ่งนภา พัฒนวิบูลย์ และคณะ. (2540). ไม้ไผ่. กรุงเทพฯ : เอกสารวิชาการส่วนนวัตกรรมวิจัยสำนักวิชาการป่าไม้กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

วิเชียร วงศ์ณิชชากุล. (2546). ปัญหาพื้นฐานทางการตลาดที่มีผลกระทบต่อการขยายตลาดของผู้ผลิตเครื่องจักสานไม้ไผ่และหวายในเขตพื้นที่ทั่วภูมิภาคของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศักดิ์ดา สิกขา. (2550). แนวทางการพัฒนางานหัตถกรรมไม้ไผ่ในวิถีชีวิตคนอีสาน. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 20(1), 113- 132.

สมปอง ศรีพันธ์. การศึกษาโอกาสทางการตลาดของผลิตภัณฑ์แจกันจากไมไผ่ของกลุ่มชาวบ้านปลาค้าว หมู่ 10 ตำบลปลาค้าว อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอกคำใต้. (2549). สรุปผลการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547. พะเยา : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอกคำใต้.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28