พฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • วิภาวี สุขสงวน นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ธีรวัตร์ ภูระธีรานรัชต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • นฤมล วลีประทานพร อาจารย์ประจำ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยและ 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนักศึกษา ชั้นปีที่1 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำแนกตาม เพศ รายได้ และระยะเวลาในการขับขี่ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 178 ราย โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่และร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) การทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ Independent Sample t-test และ (One-Way ANOVA)  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.832 ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีศึกษาอยู่ในสาขาบัญชี มีเกรดเฉลี่ยสะสม 2.51–3.00มีรายได้ต่อเดือน 3,001–5,000 บาท ระยะเวลาขับขี่รถจักรยานยนต์เป็นเวลานาน 5 ปีขึ้นไป พฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยมากที่สุดคือ พฤติกรรมด้านวิธีการใช้หมวกนิรภัยรองลงมาคือ พฤติกรรมด้านช่วงเวลาหรือโอกาสในการใช้หมวกนิรภัย และพฤติกรรมด้านเหตุผลในการใช้หมวกนิรภัยตามลำดับ    ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีเพศแตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยในด้านช่วงเวลาหรือโอกาสในการใช้หมวกนิรภัยด้านเหตุผลในการใช้หมวกนิรภัย และด้านวิธีการใช้หมวกนิรภัยไม่แตกต่างกันกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้แตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยในด้านช่วงเวลาหรือโอกาสในการใช้หมวกนิรภัย และเหตุผลในการใช้หมวกนิรภัยด้านวิธีการใช้หมวกนิรภัยไม่แตกต่างกันกลุ่มตัวอย่างที่มีระยะเวลาการในการขับขี่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยด้านช่วงเวลาหรือโอกาสในการใช้หมวกนิรภัยแตกต่างกันส่วนในด้านเหตุผลในการใช้หมวกนิรภัย และด้านวิธีการใช้หมวกนิรภัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 กลุ่มตัวอย่างพบปัญหาอุปสรรคต่อการใช้หมวกนิรภัยในเรื่องหมวกนิรภัยมีสภาพไม่สมบูรณ์และมีข้อเสนอแนะเมื่อเห็นว่าหมวกนิรภัยชำรุดควรเลิกใช้แล้วซื้อใหม่

References

กรมการขนส่งทางบก. (2561). หมวกนิรภัยความปลอดภัยของผู้ใช้จักรยานยนต์. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561, จาก http://www.rvp.co.th.

กาญจน์กรอง สุอังคะ. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการขับขี่ของวัยรุ่นที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจาการใช้ จักรยานยนต์. หลักสูตรวิศวกรรมขนส่งบัณฑิต สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

จิดาภา เรือนใจมั่น. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยในการเดินทางของเด็กวัยก่อนเรียน ณ ศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กสมศรี แสงแจ่ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนีชลบุรี. 2(2) : 99.

ณัฐบดี วิริยาวัฒน์ และสุรชาติ สินวรณ์. (2555). พฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยในการป้องกันอุบัติเหตุของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 5(2) : 65.

บรรจง พลไชย และอุทัยวรรณ สุกิมานิล. (2554). การศึกษาพฤติกรรมและปัญหาการสวมหมวกนิรภัยของ

นักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5(1): 45.

พรลักษณ์ สวยรูป และขวัญจุฑาร์ คำเหล็ก. (2559). ทัศนคติของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏ สุรินทร์ ที่มีผลต่อการสวมหมวกกันน็อคนิรภัย. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

แพรวพันธ์ รุ่งกลิ่น. (2559). ประวัติหมวกกันน็อค. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561, จาก https://praewpan2536.worxdpress.com.

วุฒิพงศ์ หอมดี และกมล สุปรียสนพร. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ใน

การสวมหมวกนิรภัยของประชาชนกรณีศึกษาเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรเมืองสมุทรปราการ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. 4(3). 678.

สุกัญญา กล้าเกิด. (2560). พฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนักศึกษา ชั้นปีที่1-3 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุรินทร์. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28