การจัดการมรดกภูมิปัญญาการรักษาของกลุ่มชาวไทยกูย
คำสำคัญ:
การจัดการมรดกภูมิปัญญา, การรักษา, ความเชื่อและพิธีกรรม, ชาวไทยกูยบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการจัดการมรดกภูมิปัญญาการรักษาของกลุ่มชาวไทยกูย มีกรอบการศึกษา ได้แก่ ศึกษาความเชื่อของชาวไทยกูย ศึกษาพิธีกรรมแกลมอของชาวไทยกูย เพศึกษาการจัดการมรดกทางภูมิปัญญาการรักษาด้วยของชาวกูย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตการณ์ แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา พบว่า ความเชื่อของกลุ่มชาวไทยกูย มีความเชื่อเรื่องดวงผีวิญญาณของบรรพบุรุษ และการมีอยู่ของดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ ที่สามารถให้คุณและโทษได้ ความเชื่อด้านพิธีกรรม เรียกว่า “แกลมอ” ภาษาพูดท้องถิ่น เป็นพิธีกรรมสำคัญที่สามารถสื่อสารกับดวงวิญญาณ โดยผ่านร่างกายมนุษย์เป็นตัวเชื่อมในการสื่อสาร พิธีกรรมเป็นความเฉพาะของกลุ่มชน แนวทางการรักษาของกลุ่มชนนี้ มักจะเป็นการรักษาทางความเชื่อ และพิธีกรรมเป็นรูปแบบในการรักษา มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษา เช่น ไข่ไก่ ข้าวสาร น้ำมนต์ และดาบ ทั้งนี้จะมีดนตรีในการประกอบด้วย ลักษณะการรักษาจะควบคู่ไปกับการร่ายรำรอบพิธีกรรม การจัดการมรดกภูมิปัญญาการรักษาของกลุ่มชาวไทยกูย ถือว่าเป็นการรักษามรดกภูมิปัญญาของกลุ่มชน และให้ความสำคัญ ที่มีในด้าน วัฒนธรรม อัตลักษณ์ ฐานคติ ความนิยม และความเชื่อกับพิธีกรรมของชนกลุ่มนี้ ในการจัดการควรมีการจัดการ ด้านที่กล่าวมาในรูปแบบ เอกสารการศึกษา และการจัดการที่มีต่อองค์ความรู้การรักษา ที่เกี่ยวข้องกับตัวยาสมุนไพร และเครื่องดนตรีที่ใช้บำบัดผู้ป่วยซึ่งถือเป็นความสำคัญทางวิชาการที่จำเป็นต้องจัดการและให้ความสำคัญ เป็นต้น
References
ชัยยนต์ เพาพาน. (2533). การรำผีฟ้า ในเขตอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม
ธวัช ปุณโณทก. (2538). ความเชื่อพื้นบ้านอันสัมพันธ์กับชีวิตในสังคมอีสานในวัฒนธรรมพื้นบ้าน : คติความเชื่อ. กรุงเทพมหานคร : โครงการไทยคดีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประทีป แขรัมย์. (2535). พิธีกรรม มม๊วต ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร: ศึกษากรณีบ้านตะโกราย ตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. ปริญญาศิลปศาสตตรมหาบัณฑิต, สาขาเอกไทยคดีศึกษามนุษยศาสตร์.
เครือจิต ศรีบุญนาค. (2545). เรือมมม๊วต : พิธีกรรมทรงเจ้าเข้าผีของกลุ่มชาวไทยเขมรสุรินทร์. ภาควิชานาฏศิลป์, คณะมนุษย์ศาสตรสถาบันราชภัฏสุรินทร์.
อัจฉรา ภาณุรัตน์. (2545). พิธีโจลมม๊วต, การรักษาโรคด้วยจิตวิญญาณของชาวไทยเขมร. มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
ทักษิณาร์ ไกรราช. (2549). มิติทางวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคอีสาน.ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาไทศึกษา (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2527). ผีเจ้านาย. กรุงเทพมหานคร : พายัพ ออฟเซท พริ้น.
สนิท สมัคการ. (2539). ความเชื่อและศาสนาในสังคมไทยวิเคราะห์เชิงสังคม – มานุษยวิทยา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์.
วาสนา แก้วหล้า. (2551). แหล่งเรียนรู้เพื่อชุมชน : กรณีศึกษาการแพทย์พนมดงรักจากอโรคยา
ศาลาในไทยและกัมพูชา. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2560). คุณค่าทางจริยศาสตร์ พิธีกรรมแกลมอของชาวไทยกูย. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 12(41) กรกฎาคม – กันยายน, 12 – 13.