การจัดการส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มชาวกูย

ผู้แต่ง

  • สุริยา คลังฤทธิ์ วิจัยและประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล Research and Population, Mahidol University
  • ยโสธารา ศิริภาประภากร สาขาพระพุทธศาสนา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • ฉัตราภรณ์ จันทร์แจ่มธารี พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

พิธีเซ่นไหว้, กลุ่มชาวกูย, ปราสาทขอมปรางค์กู่, จังหวัดศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

คติพิธีเซ่นไหว้ของกลุ่มชาวกูยที่มีต่อปราสาทขอมปรางค์กู่  มาจากความเชื่อของอำนาจเหนือธรรมชาติที่เชื่อว่าสถิตอยู่ในปราสาทขอมปรางค์ ชาวไทยกูยให้ความเชื่อต่ออำนาจวิญญาณมาก พิธีเซ่นไหว้ปราสาทจัดขึ้นตรงกับวัน ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่จะต้องปฏิบัติประจำทุกปี  ตามคติความเชื่อของชาวกูย เชื่อว่าจุดที่ตั้งของปราสาทขอมปรางค์กู่เป็นศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สถิตของวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ และวิญญาณของบรรพบุรุษด้วย ชาวกูยมีพิธีเซ่นไหว้ โดยการจัดเครื่องบูชา เครื่องเซ่นไหว้ เดินแห่ขบวนมาที่ปราสาท แล้วจัดพิธีบวงสรวงรอบปราสาทโดยการวางสิ่งของรอบปราสาท เชื่อว่าวิญญาณของบรรพบุรุษจะได้รับสิ่งของเหล่านี้ พร้อมทั้งเทพเจ้าที่สถิตอยู่ในองค์ปราสาทด้วย ในพิธีกรรมเมื่อพิธีเซ็นไหว้ดำเนินการอยู่ จะมีการเทน้ำเปล่า หรือ เหล้าขาว รินลงพื้นดิน เชื่อกันว่าเป็นการบอกกล่าวเจ้าแม่ธรณี  เจ้าที่ เจ้าทาง ที่ประจำอยู่บนพื้นดินให้รับรู้การอธิฐานของตนเอง  พิธีเซ่นไหว้ ปราสาทปรางค์กู่ นี้ ก็ด้วยเหตุเพื่อความอุดมสมบูรณ์และความเป็นสิริมงคลในการดำเนินชีวิตและการเพาะปลูก  หรืออาจเป็นการบอกกล่าวที่ชุมชนมีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์กับความเคารพนับถือและบูชา พิธีที่กลุ่มชาวกูย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ จัดขึ้น เพื่อเซ่นไหว้ประจำปี ก่อนการลงทำการเพาะปลูก และได้เป็นประเพณีที่ใหญ่โตมากในอำเภอ ที่ชาวชุมชนนี้ยังให้ความนับถือและยังมีการสืบทอดอยู่ในปัจจุบันนี้

References

ราชบัณฑิตยสถาน.(2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

พระสำเริง อินทยุง. (2561). ศึกษาประเพณีแซนพนม ของชาวพุทธ บ้านตะโก ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวีระ สุขแสวง. (2550). มะม็วด : พิธีกรรมและความเชื่อของกลุ่มคนพูดภาษาเขมรถิ่นอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. การค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิลาสินี ศรีนุเคราะห์. (2543). ปัจโจล: กรณีศึกษาพิธีการไหว้ครูเพื่อสืบทอดพิธีกรรมอันเนื่องมาจากความเชื่อของชาวไทยเขมรสุรินทร์. รายงานการวิจัย.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

สัมภาษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤษนันท์ แสงมาศ, 25 มกราคม 2561.

Clifford Geertz, The Interpretation of Cultures: Selected Essays, (NY: Basic Books,

, pp. 23-7; Charles Taylor, The Ethics of Authenticity, (London: Harvard University

Press, 2000), pp. 19-22.

Yasothara, (2017). Bai Sai : Buddhism innovation as a sacrifice to promote constancy way of life of Thai – Khmer group in Muang District, Surin Province, Thailand. In 14th lnternational Conference on Social Science and Humanites (ICSSH) 13-Jun-2017 to 14-Jun-2017. Nanyang Technological University, Nanyang Executive Centre, Singapore.

Y. Ishizawa and Y. Kono. (Eds,). (1986). Study and Preservation of Historic Cities of Southeast Asia: Study and Preservation of the Cultural Heritage of Southeast Asia. Tokyo : The Japan TimeLtd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28