ปลาแดก : การเชื่อมโยงพหุวัฒนธรรมการบริโภคของคนอีสาน
คำสำคัญ:
ปลาแดก, พหุวัฒนธรรม, อัตลักษณ์, การเชื่อมโยงบทคัดย่อ
ปลาแดก หนึ่งในจิตวิญญาณ 5 แห่งความเป็นอีสานเฉกเช่นเดียวกับข้าวเหนียว ลาบ ส้มตำ หมอลำ และปลาแดก (ปลาร้า) เป็นสิ่งบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ในสังคมพหุวัฒนธรรมของตัวตนคนอีสาน องค์ประกอบของปลาแดกในไหหนึ่งใบ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันของสังคมวัฒนธรรมการทำมาหากินของชาวอีสาน ภายใต้เงื่อนไขทางกายภาพของที่ราบสูงทั้งวัฒนธรรมของกลุ่มคนทำนาหาปลา หากกล่าวถึงปลาแดกอาหารที่ขึ้นชื่ออยู่คู่สังคมอีสานมาอย่างยาวนาน เปรียบเหมือนความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหาร การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความสนิทสนมกลมเกลียว ความเป็นกันเองและสายสัมพันธ์ที่มีความผูกพันธุ์ของวัฒนธรรมการบริโภคปลาแดกของคนอีสานไปยังชุมชนอื่นๆ แสดงถึงความเชื่อมโยงและสร้างความสัมพันธุ์ของวัฒนธรรมการบริโภคได้อย่างกลมกลืน การนำเสนอในบทความวิชาการฉบับนี้ มุ่งเน้นการเชื่อมโยงพหุวัฒนธรรมการบริโภคของคนอีสาน ซึ่งจากอดีตผลิตเพื่ออุปโภคในครัวเรือน แต่ปัจจุบันมีการผลิตเพื่ออุตสาหกรรม ได้นำไปสู่ช่องทางการจัดจำหน่ายในไทยและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ย่อมเกิดจากการย้ายถิ่นฐานของคนอีสานไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งได้นำพาวัฒนธรรมการบริโภคนั้นติดตัวไปด้วย และยังเป็นภาพสะท้อนของวัฒนธรรมการบริโภคปลาแดกในเชิงเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยเฉพาะการสื่อสารที่รวดเร็วและขยายวงกว้างไม่มีที่สิ้นสุดในยุคโลกาภิวัตน์ โดยใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางในการเชื่อมโยงระหว่างกัน ได้เห็นพฤติกรรมการบริโภคจากการถ่ายทอดเรื่องราวของผู้มีอิทธิพลหรือผู้มีชื่อเสียงจากโซเชียลมีเดีย ทำให้การบริโภคปลาแดกไม่ได้นึกถึงการเหยียดชนชั้นทางสังคมเหมือนในอดีต แต่กลับกลายเป็นผลิตภัณฑ์ปรุงรสให้ผู้คนเข้าถึงรสชาติได้ง่าย และยังเป็นการเปิดกว้างวัฒนธรรมการบริโภคปลาแดกมากยิ่งขึ้น
References
คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2561). เมนูอาหารจากปลาร้า. ขอนแก่น : ศิริภัณฑ์ (2497).
ชญาณ์นันท์ ปิติกรพวงเพชร, พิกุล สายดวง, พรหมมินทร์ กองแก้ว. (2560). การศึกษาความหลากหลายของอาหารหมัก ดอง อาหารพื้นบ้านกับความมั่นคงทางอาหารบริเวณชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขงตอนล่างของประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 8(2), 239 – 257.
ญาณภา บุญประกอบ, จักรวาล วงศ์มณี, สิริพร เขตเจนการ, โยธิน แสวงดี. (2560). อาหารพื้นถิ่นกับกลไกในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11(พิเศษ), 93 – 108.
ทวีศักดิ์ แสวงสาย และฤดีมาศ แสวงสาย. (2559). ภูมิปัญญาอาหารชาติพันธุ์เพื่อสุขภาพของชาวไทยเขมร ไทยกูยและไทย ลาว ในเขตอีสานใต้. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, 11(พิเศษ), 84 – 91.
ไทยโพสต์. (2561). พาณิชย์เดินหน้าช่วยขาย 'ปลาร้า' เต็มสูบ เตรียมดันขายในสนามบิน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2563, จาก : https://www.thaipost.net/main/detail/7533.
ไทยรัฐออนไลน์. (2561). ผู้ผลิตขานรับ ยกมาตรฐาน‘ปลาร้าไทย’สู่ตลาดโลก เชื่อทำได้ ไปโลด [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2563, จาก : https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/1259354.
ผกาวดี ภู่จันทร์ และโสรัจวรชุม อินเกต. (2559). สำรับอาหารพื้นถิ่นเมืองพิษณุโลก. วารสารกระแสวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎพิษณุโลก, 17(32), 3 – 16.
พจมาลย์ พุดมี และสมสุข หินวิมาน. (2559). ชนชั้นกลางกับการสื่อสารรสนิยมในการบริโภคส้มตำ. วารสารนิเทศศาสตร์ มสธ, 6(1), 20 – 35.
ปิยธิดา ทวีค้ำคูณ, พัฒน์นรี ภูนพมาศพงษ์, นภาพร ดีผ่อน, รวิสรา จิตรบาน, พัชรีภรณ์ กรจักร, ศิริญา อินทรประเสริฐ, และคณะ. (2558). สังคมพหุวัฒนธรรมในส้มตำเมืองขอนแก่นแดนอีสาน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2563, จาก : https://prezi.com/i_ecanr6k-cc/presentation.
ประสงค์สม ปุณยอุปพัทธ์ และสุกฤตา ปุณยอุปพัทธ์. (2560). กระบวนการและจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องในการผลิตอาหารหมัก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพร คําสะอาด, สุพจน์ คําสะอาด, วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการกินปลาร้ากับการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีชนิดภายนอกตับ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2), 10 – 18.
สุปิยา ทาปทา. (2552). ไหวิถีคิดวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป. วารสารวัฒนศิลปสาร, 4(1), 1 – 30.
อัจฉริยา สุริยา และชื่นจิต จันทจรูญพงษ์. (2561). วิธีการผลิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อคุณสมบัติของปลาร้าในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน. วารสารวิทยาศาสตร์บรูพา, 23(1), 566 - 578.
SDUChannels. (2561). สังคมพหุวัฒนธรรม clip1[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2563, จาก : https://www.youtube.com/watch?v=d1gimVm9G_A.