การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวตลาดน้ำขวัญเรียม เขตมีนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวของตลาดน้ำขวัญเรียม และ 2) ศึกษารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ภายในตลาดน้ำขวัญเรียม ทั้งนี้ ผู้ทำวิจัยมีวิธีการดำเนินงานวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวตลาดน้ำขวัญเรียมจำนวน 100 คน ผู้ประกอบการ จำนวน 66 คน และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการ จำนวน 10 คน การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำขวัญเรียมนั้นมีความโดดเด่นในเรื่องของธรรมชาติและวัฒนธรรม มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น ปัจจุบันตลาดน้ำขวัญเรียมมีการจัดระเบียบ ร้านค้า ร้านอาหาร แบ่งโซนต่าง ๆ ประกอบกับมีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ช่วยเหลือผู้ที่มาท่องเที่ยว แต่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือพิการ และ 2) การศึกษารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ภายในตลาดน้ำขวัญเรียม สามารถพัฒนาเป็นกิจกรรมออกมาหลากหลายรูปแบบ โดยการมีส่วนร่วมของทุกๆ ฝ่าย เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรม สินค้าหรือบริการอย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงธรรมชาติ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม สามารถนำเสนอแก่นักท่องเที่ยว โดยที่นักท่องเที่ยวนั้นสามารถมาสัมผัส มีส่วนร่วม ตลอดจนการเรียนรู้ในพื้นที่การท่องเที่ยวเป็นผลให้เกิดความประทับใจ การได้จดจำ การได้ค้นพบอย่างลึกซึ้งในพื้นที่การท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องมือที่จะช่วยเน้นย้ำ ยืนยันในคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมและธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขนิษฐา บรมสาลี และรัฐพล สันสน. (พฤษภาคม- สิงหาคม 2560). “รูปแบบกลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวตลาดน้ำ แบบยั่งยืน”. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2) : 1-22.
จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์ พัชนี เชยจรรยา บุหงา ชัยสุวรรณ, พรพรรณ ประจักษ์เนตร กุลฤดี นุ่มทอง และขวัญชนก มั่นหมาย . (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557). “การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดน้ำในลุ่มน้ำภาคกลางอย่างยั่งยืน” . วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า ฉบับปฐมฤกษ์, 1(1) : 99-130.
ชุติมา นุตยะสกุล และประสพชัย พสุนนท์. (มกราคม-มิถุนายน2559). “ปัจจัยการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อ การท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดลำพญา จังหวัดนครปฐม”. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(1) : 132 – 150.
ชลลดา มงคลวนิช. (มกราคม-มิถุนายน2556). “ภาพลักษณ์ตลาดน้ำในสายตาของเยาวชนไทย”. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 14(25) : 44 – 57.
ชวัลนุช อุทยาน. (9 ตุลาคม 2562). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. https://touristbehaviour. wordpress.com
ณภัทร ขุนทรง. (2558). ตลาดน้ำขวัญเรียมกับการท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัด การทรัพยากรวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธัญลักษณ์ จันทะดวง. (2557). ความร่วมมือในการจัดการท่องเที่ยวในวัด : ศึกษากรณีตลาดน้ำขวัญเรียม. ปริญญานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ธเนศวร์ เพชรสุวรรณ. (2 มกราคม 2563). “ขับเคลื่อนทัวร์ริสต์ลองฮอต์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผุด The link เชื่อม 10 เมืองรองไทยสู่เวทีท่องเที่ยวโลก”. ฐานเศรษฐกิจ, 18 มกราคม 2560. http://thansettakij.com
ธรรมศักดิ์ โรจนสุนทร. (2542). สรุปผลการสัมมนาการพัฒนาการท่องเที่ยวภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย.
ธีรภัทร แก้วจุนันท์. (2543). ความร่วมมือของเกษตรกรต่อการดำเนินการจัดรูปที่ดินในรูปแบบประชาอาสาของจังหวัดสิงห์บุรี . วิทยานิพนธ์ สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการ สังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปนัสยา สิระรุ่งโรจน์กนก. (2559). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจัดการโลจิสติกส์การท่อง เที่ยว กรณีศึกษา ตลาดน้ำอัมพวา จังหวังสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยบูรพา.
พัชนี เชยจรรยา. (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558). “ปัจจัยพยากรณ์การบอกต่อข่าวสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดน้ำ ภาคกลางในสื่อสังคมออนไลน์ของนักท่องเที่ยว”. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 9(2) : 35-61.
เลิศพร ภาระสกุล. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิภาวี พลรัตน์. (2551). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ทางน้ำ กรณีศึกษาย้อนรอยเส้นทางประวัติศาสตร์ อดีตราชธานีกรุงธนบุรี. ปริญญานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการเพื่อ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.
วรรณา วงษ์วานิช. (2539). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรรษมน จันทดิษฐ์. (2552). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย ศึกษากรณีตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ ธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วีระพล ทองมา. (2554). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชุมชนชาวจีนในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (ตุลาคม 2529). “ผลกระทบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อมรดกศิลปวัฒนธรรม”. จุลสารการท่อง เที่ยว, 4(1) : 40-42.
ศุภัตรา ฮวบเจริญ. (2560). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาตลาดน้ำคลองผดุงกรุงเกษม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
ศุภณัฐ จันทยักฆ์. (12 มกราคม 2563). สัมภาษณ์โดย ธิดารัตน์ พยัคฆเพศ และคณะ
ศุภลักษณ์ อัครางกรู. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
สมประสงค์ อ่อนแสง. (2551). แนวทางการพัฒนาศักยภาพของวัด จังหวัดมุกดาหาร เพื่อการท่องเที่ยวทาง วัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2556). “E-Book”. โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 28 เรื่องที่ 3 ตลาด. กรุงเทพฯ : โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย พ.ศ. 2560 (ในรอบปี 2559) . กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
Goeldner, C. R. and Ritchies, B. J. R. (2006). Tourism: principles, practices, philosophies. (10th ed.). Hoboken , New Jersey : John Wiley & Sons, Inc.
Richards, G. (Octorber 2011). “Creativity and tourism: the state of the art”. Annals of Tourism Research, 38(4): 1225-1253.
Taro Yamane. (1970). Statistic : an Introductory Analysis. 2nd ed. New York : Harper & Row.
World Tourism Organization. (1997). Tourism 2020 Vision. Madrid, Spain : World Tourism Organization (WTO).