พฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย กลุ่ม Gen Y ต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ภายในพิพิธภัณฑ์ Behaviors of Generation Y Thai visitors' decisions about product design inside the museum

Main Article Content

ชลธิชา รุ่งศรี

บทคัดย่อ

 


                 งานศึกษาวิจัยเชิงปริมาณด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทย กลุ่ม Gen Y ผลการศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ต่อการออกแบบการผลิตภัณฑ์ภายในพิพิธภัณฑ์ พบว่าส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์หรือแรงจูงใจในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์เพื่อท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจมากที่สุด ซึ่งถือเป็นแรงจูงใจในการกระตุ้นให้ให้เกิดการเดินทาง โดยส่วนใหญ่ตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวมาด้วยตัวเอง และได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ผ่านทาง เพื่อน คนรู้จัก และครูอาจารย์มากที่สุด ส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากที่สุด คือ ตัวเอง สำหรับพฤติกรรมการเดินเข้าชม พบว่า จะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ในการเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่ม Gen Y  คิดว่ารูปแบบการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์เป็นองค์ประกอบที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ผลการศึกษาปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ของพิพิธภัณฑ์ พบว่า มี 10 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ได้แก่ ปัจจัยด้านอาคาร ปัจจัยด้านรูปแบบการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ ปัจจัยด้านโปรแกรมเนื้อหาที่น่าสนใจ ปัจจัยด้านสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ปัจจัยด้านร้านอาหาร ปัจจัยด้านจุดถ่ายภาพ ปัจจัยด้านร้านอาหาร ร้านกาแฟ ปัจจัยด้านร้านขายของที่ระลึก ปัจจัยด้านห้องสมุด ปัจจัยด้านนิทรรศการชั่วคราว และ ปัจจัยด้านนิทรรศการถาวร จากผลการศึกษา ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ คือ พิพิธภัณฑ์หรือภัณฑารักษ์สามารถนำเอาผลการศึกษาครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์ภายในพิพิธภัณฑ์ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่ม Gen Y


               The purpose of this study was to examine the options which Gen Y Thai tourists made regarding museum interior design. Gen Y Thai tourists were asked to fill out questionnaires to gather data for a quantitative research study that would make recommendations for Gen Y audiences interested in using museums as learning resources. This group of tourists chose to look at the product design in the museum. It was discovered that the majority of them visited the museum mostly for leisure and tourism. The design is regarded as a motivator to promote travel. Most of them choose to travel alone. Additionally, find out as much as you can about the museum through friends, acquaintances, and teachers. They themselves were the ones who influenced decisions the most. It was discovered that visiting the museum will take roughly 2 hours based on walking behavior. Most Gen Y Thai tourists believe that the format of the museum exhibit is what draws the most interest. The findings of the study of museum product factors showed that there were ten elements, specifically building factors, that influenced the decision to visit the museum. Factors affecting how the museum displays things, program factors for interesting content, Facilities for people with disabilities, several factors restaurant component, factor in points restaurant and coffee shop factors, factors that affecting gift shops, factor of library, factors that affecting to temporary exhibitions and permanent exhibition study-related elements. The advantage that will be utilized is that museums or curators can use the findings of this study as a manual for product design for Thai Gen Y tourists inside the museum.


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กานต์รวี ชมเชย. (2557). กรณีศึกษามิวเซียมสยามและพิพิธภัณฑ์บ้านไทยจิม ทอมป์ สัน. (งานวิจัย),สถาบัน วัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชรัณ ลาภบริสุทธิ์.(2565). พิพิธภัณฑ์:นิยามที่มากกว่าห้องเก็บของ . [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก :

https://theurbanis.com/public-realm/07/04/2022/6432. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 1 กุมภาพันธ์ 2566)

บัวกัญญา สุรัตพิพิธ. (2561).รูปแบบการดำเนินชีวิตและการเปิดรับสื่อของกลุ่มเจเนอเรชั่นที่มีความสนใจด้านศิลปะ. (วิทยานิพนธ์),สถาบันบัณฑิตบริหารศาสตร์.

บ้านจอมยุทธ.(2543). สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก :

https://www.baanjomyut.com/library_2/museum/04.html. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 13 มกราคม 2566)

มนต์ธร ตั้งภาณุกุล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก. (การค้นคว้าอิสระ),มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุรชัย ทุหมัด. (2556).ความพึงพอใจของผู้รับบริการพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย. (งานวิจัย), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

หอจดหมายเหตุ.(2558). ความรู้เบื้องต้นเกี่่ยวกับการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก :

https://www.catholichaab.com/main/index.php/abouthaab/history4. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 13 มกราคม 2566)

ศรุดา กรุณามิตร. (2561). ปัจจัยและพฤติกรรมการท่องเที่ยวคนเดียวของ GENERATION Y. (การค้นคว้าอิสระ),มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.