แนวทางการพัฒนาการตลาดของธุรกิจร้านอาหารชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

พิศาล แก้วอยู่
รัศมี อิสลาม
ชิสา เจิมวรายุกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมและระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการร้านอาหารบริเวณชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี 2. เพื่อศึกษาการวางแผนทางการตลาดของผู้ประกอบการร้านอาหารชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี และ3. เพื่อศึกษาแนวทางการการพัฒนาการตลาดธุรกิจร้านอาหารบริเวณชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี โดยมีเครื่องมือการศึกษาวิจัยประกอบไปด้วย แบบสอบถาม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปใช้บริการธุรกิจร้านอาหารชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารจำนวน 30 แห่ง โดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณณา ในชุดข้อมูลด้านพฤติกรรมนักท่องเที่ยว และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากชุดข้อมูลในวัตถุประสงค์ที่ 1 และ2 เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางทางการการพัฒนาการตลาดธุรกิจร้านอาหารบริเวณชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี จากการศึกษาพบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านอาหารบริเวณชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก และแนวทางการพัฒนาการตลาดของธุรกิจร้านอาหารชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี พบว่า มีปัจจัยประกอบไปด้วย BEST+3C 1) Brand loyalty 2) Experience 3) Signature 4) Technology  และ5) 3C : Consumer, Cost, Convenience

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมการท่องเที่ยว. (2561). สถิตินักท่องเที่ยว สืบค้นจาก https://www.dot.go.th/pages/58 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2566.

กองวิชาการและแผนงานเทศบาลเมืองแสนสุข. (2558). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลเมืองแสนสุข (พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒).

ชนสรณ์ โตกราน. (2551) พฤติกรรมการบริโภคอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. การค้น ความแบบอิสระ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.

สถาบันอาหาร อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร. (2565). อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 4 ภาพรวมปี 2565 และแนวโน้มปี 2566.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). ธุรกิจร้านอาหารปี 65 คาดพลิกกลับมาฟื้นตัวร้อยละ 5.0 – 9.9 การแพร่ระบาดของ Omicron และต้นทุนวัตถุดิบยังคงเป็นความท้าทายสำคัญ. ปีที่ 28 ฉบับที่3299 วันที่5 มกราคม 2565.

ปราณี หมื่นแผงวารี. 2563. ชลบุรี ติดท็อปธุรกิจอาหาร กรุงเทพธุรกิจ สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/business/879313 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2566

รัตติญาภรณ์ พิศาลวราพงษ์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสําหรับธุรกิจบริการที่มีอิทธิพลต่อการเข้าใช้ บริการ ร้านยศข้าวต้มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ การศึกษาตามหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รุจิรา ถาวระ. (2549). พฤติกรรมผู้บริโภคอาหารแบบบุฟเฟต์ของผู้บริโภค กรณีศึกษาภัตตาคารอาหารญี่ปุ่น ชาบชู ชิ. สารนิพนธ์บธ.ม.การตลาด. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มัทวัน กุศลอภิบาล. 2555. ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการ ร้านกาแฟสดของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ระดับ มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.

พัชชา ปึงเจริญ. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารเพื่อสุขภาพในกรุงเทพฯ

อัศวิน แสงพิกุล. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม Research Methodology for Tourism & Hotel. ปีที่พิมพ์ 8/2556.

BANGKOKBANK SME. (2563). ส่องเทรนด์อาหารและพฤติกรรมของผู้บริโภคปี 2021 SME Update. สืบค้นจาก https://www.bangkokbanksme.com/en/food-trends-and-consumer-behavior-2021 เมื่อ วันที่ 4 พฤษภาคม 2566.

WindMill. 2020. สตรีทฟู้ด เสน่ห์อาหารไทยตามสั่งริมทาง ที่ เขียง-อร่อย-ตะหลิว ต้องเปิดศึก

ชิงเจ้ายุทธจัก. Bran inside. 19 พ.ย.