ปัจจัยองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวกับบุคคลแปลกหน้า กรณีศึกษากลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินเกาหลี Components of Tourism that Affect the Decision to Travel with Strangers. A Case Study of a Korean Fanclub

Main Article Content

กัญฐณา อุปริพุทธางกูร
โชคชัย สุเวชวัฒนกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวกับบุคคลแปลกหน้าของกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินเกาหลี โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ผู้ชื่นชอบศิลปินเกาหลีที่ตัดสินใจท่องเที่ยวกับบุคคลแปลกหน้า จำนวน 125 ตัวอย่าง โดยสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยการทดสอบค่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มด้วยค่า Independent Samples T–Test และ One–Way ANOVA   ผลการวิจัยพบว่า ระดับองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวกับบุคคลแปลกหน้าของกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินเกาหลี ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านความสามารถในการเข้าถึง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสถานที่พัก และด้านกิจกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน นอกจากนี้การเปรียบเทียบองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวกับบุคคลแปลกหน้าของกลุ่มผู้ชื่นชอบศิลปินเกาหลี จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ พบว่า ผู้ชื่นชอบศิลปินเกาหลีที่มีอาชีพต่างกันจะมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวด้านสิ่งดึงดูดใจและด้านความสามารถในการเข้าถึงต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งผลจากการศึกษาสามาถนำผลไปประกอบการพิจารณาวางกลยุทธ์นโยบาย หรือกิจกรรมในการส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงพัฒนาการท่องเที่ยวให้เหมาะสมและสอดคล้องกับนักท่องเที่ยวได้มากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Cohen, J. (1977). Statistical power analysis for the behavioral sciences (Rev. ed.ed.). New York: New York: Academic Press.

Cohen, J. (1983). Applied multiple regression/correlation analysis for the behavioral sciences (2 nd ed.ed.). Hillsdale, N.J.: Hillsdale, N.J.: Lawrence Erlbaum Associates.

Collier, A., & Harraway, S. (1997). Principles of tourism. Auckland: Longman.

Cooper, C. & Boniface, B.G. (1998). Geography of Travel and Tourism. UK: Butterworth Heinemann.

DeCosta, P., Crowther, D., & Maloney, J. (2019). Investigating world Englishes: research methodology and practical applications: New York, NY: Routledge

DeFleur, M. L. & Ball-Rokeach, S. J. (1996). Theories of Mass Communication. London: Longman.

Dickman, C. R. (1996). Overview of the impacts of feral cats on Australian native fauna (pp. 1-92). Canberra: Australian Nature Conservation Agency.

Jenson, J. (1992). Fandom as pathology: The consequence of characterization. The adoring audience. New York and London: Routledge

Johnston, E. (2013). 5 Steps to understanding your customer’s buying process.[Online]. Available: http://goo.gl/YLFKX, 2022, Oct 5.

Likert, R. (1961). New patterns of management. New York: McGrow-Hill.

McOuail, D. (1994). The media audience - Alternative concepte of the audience. An introduction of mass communication theory. London: Sage

Puad Mat Som, A. & Ader, B. M. (2011). Tourist satisfaction and repeat visitation: Toward a new comprehensive model. International Journal of Human and Social Sciences, 6(1), 38-45

Swarbrooke, J., & Horner, S. (1999). Consumer behavior in tourism. Oxford: Butterworth Heinemann

Taherdoost, H. (2016). Validity and Reliability of the Research Instrument, How to Test the

Validation of a Questionnaire/Survey in a Research. International Journal of Academic

Research in Management, 5(3), 28–36

Tourism Western Australia. (2008).5A’s of Tourism. [Online] Available: http://www.tourism. com. 2022, December 23.

เคทีทีซี. (2561). EXO ทูตกิตติมศักดิ์ขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลีประจำปี 2018. [ออนไลน์] จาก https://www.happytokorea.com/travel-detail.php?id=201807051759057. 20 ตุลาคม 2565.

จิราภา วรเสียงสุข, (2556). ทฤษฎีสังคมวิทยายุคคลาสสิก. กรุงเทพฯ: เอ็ม แอนด์เอ็ม เลเซอร์พรินต์.

จุติมาศ เกลี้ยงเกลา. (2556). การศึกษาภาพลักษณ์ของกลุ่มศิลปินเกาหลีใต้ผ่านสื่อใหม่และ พฤติกรรมแฟนคลับ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชนพงษ์ อาภรณ์พิศาล, เพ็ชราภรณ์ ชัชวาลชาญชนกิจ และพรรณรัตน์ อาภรณ์พิศาล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวสะพานข้ามแม่น้ำแควจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 9(2), 42-48.

ชิตวร ประดิษฐ์รอด. (2557). ปัจจัยองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวและปัจจัยแรงจูงใจในการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวปริมณฑลของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์. (2564). องค์ประกอบการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวจีน ตําบลอูเจิ้น มณฑลเจ๊อเจียง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 28(3), 189.

ตฤณ พริ้งประเสริฐ, พิทักษ์ ศิริวงศ์ และประสพชัย พสุนนท์. (2554). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการที่พักแบบเกสต์เฮาส์บริเวณถนนข้าวสาร. วารสารวิจัย มข. 11 (3), 121-130.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและ ราชกิจจานุเบกษา.

ธัญญาพร ทาศักดิ์. (2564). ไม่มีเพื่อนก็ไม่เป็นไร! นักจิตวิทยาเผย “คุยกับคนแปลกหน้า” คือเรื่องปกติ แถมดีต่อใจอีกด้วย. [ออนไลน์] จาก https://missiontothemoon.co/softskill-talking-with-strangers/. 22 ตุลาคม 2565.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2543). การจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปราณี หลําเบ็ญสะ. (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. โครงการบริการวิชาการ ท่าสาบโมเดล. คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

ผู้จัดการออนไลน์. (2563) ท่องเที่ยวโซลฯ ผุดแคมเปญ BTS ‘SEE YOU IN SEOUL’กระตุ้นท่องเที่ยวเกาหลีใต้ ฝ่าวิกฤตโควิด-19. MGR Online. สืบค้นจาก https://mgronline.com. 15 ตุลาคม 2565.

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2551). เอกสารการสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้ง 3. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2542). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศราวรรณ ไชยสุทธิเมธีกุล. (2558). การศึกษากระบวนการตัดสินใจเดินทางไปท่องเที่ยว ต่างประเทศด้วยตนเอง (FIT: Free Independent Traveler) ของคนไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์วิจัยด้านการตลาดท่องเที่ยว. (2563). สถิติและรายจ่ายจากการท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางออกนอกประเทศ. [ออนไลน์] จาก https://intelligencecenter.tat.or.th/articles/24451. 15 ตุลาคม 2565.

ศูนย์วิจัยด้านการตลาดท่องเที่ยว. (2565). รายงานข้อมูลสถานการณ์ท่องเที่ยวประเทศไทย มุมมองจังหวัด. [ออนไลน์] จาก https://econtent.tat.or.th. 15 ตุลาคม 2565.

สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค. (2565). ภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีความสำคัญ. [ออนไลน์] จาก http://www.fpojournal.com/thai-tourism-situation/.15 ตุลาคม 2565.

สิริลักษณ์ สุขสวัสดิ์. (2561). Hello strangers: กาลครั้งหนึ่ง…เมื่อต้องคุยกับคนแปลกหน้า. [ออนไลน์] จาก https://urbancreature.co/hello-strangers/. 15 ตุลาคม 2565.

สุจิตรา วาชัยยุง และ โสมฤทัย สุนธยาธร. (2565). ความคาดหวังองค์ประกอบกํารท่องเที่ยว 5As ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวเชิงกีฬาของผู้สูงอายุชาวไทย ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 23(2), 158-173.

หทัยรัตน์ ทับเคลียว. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวประเทศสิงคโปร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.