แนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์การขนส่งเพื่อการท่องเที่ยวแบบไร้รอยต่อจากเส้นทางด่านชายแดนบ้านฮวกสู่สถานีรถไฟทางคู่พะเยาและพื้นที่เชื่อมโยง Development Guideline Tourism Logistics seamless from Ban Huak border to the double track train station Phayao and the connecting area

Main Article Content

ปฐมพงษ์ ธิโน
ประกอบศิริ ภักดีพินิจ
สุริยา ส้มจันทร์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันและศึกษาโลจิสติกส์การขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว เพื่อนำไปสู่แนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์การขนส่งเพื่อการท่องเที่ยวแบบไร้รอยต่อ จากเส้นทางด่านชายแดนบ้านฮวกสู่สถานีรถไฟทางคู่พะเยาและพื้นที่เชื่อมโยง ผลการศึกษา พบว่า มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับโครงข่ายทางถนนที่เชื่อมโยงกับโครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย และสนับสนุนการเชื่อมโยงระบบคมนาคมกับ สปป.ลาว และประเทศจีนตอนใต้ การเข้าถึงโดยส่วนใหญ่เป็นถนนผิวจราจรแบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีต มีระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอต่อการให้บริการ การเดินทางภายในพื้นที่มีรถสาธารณะให้บริการแต่พบปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานของพาหนะที่ให้บริการ อีกทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย ด้านแนวทางการพัฒนา ควรมีการจัดการการเดินทางเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ โดยการนำแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเดินทางแบบไร้รอยต่อมาปรับใช้ในการพัฒนาโลจิสติกส์การขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว เช่น การพัฒนาระบบการจ่ายค่าบริการให้สามารถจ่ายผ่านระบบๆ เดียว และการพัฒนาระบบแอปพลิเคชันที่รวมเอาบริการขนส่งสาธารณะทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา คงภิรมย์. (2557). แนวทางการพัฒนาการส่งเสริมการท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

คณพศ สิทธิเลิศ. (2554). โลจิสติกส์กับการท่องเที่ยวยุคปัจจุบัน. ศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 6(11) มกราคม – มิถุนายน 2554, 1-14.

ชลิตา ตริยาวนิช. (2562). การจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2562.

เถกิงศักดิ์ ชัยชาญ. (2555). การจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2551). บทบาทของโลจิสติกส์และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหมู่เกาะล้านอย่างยั่งยืน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ธนัชชา ฤทธิ์เดช. (2558). แนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืนของตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารการบริหารและการท่องเที่ยวไทย 10(2): 18-33.

ธีรุตม์ หมื่นวงษ์เทพ. (2563). การจัดการโลจิสติกส์ด่านชายแดนบ้านฮวก อ.ภูซาง จ.พะเยา เพื่อยกระดับการค้าชายแดนไปสู่เมืองเศรษฐกิจชายแดน. มหาวิทยาลัยพะเยา:พะเยา.

ประกอบศิริ ภักดีพินิจ. (2563). การศึกษาผลกระทบด้านโลจิสติกส์ เศรษฐกิจ ท่องเที่ยวและความมั่นคง จากโครงการก่อสร้างรถไฟลาว - จีน (ช่วงบ่อเต็น – เวียงจันทน์) ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ประกอบศิริ ภักดีพินิจ. (2564). การวิเคราะห์และจัดทำแนวทางการพัฒนาศักยภาพเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งเขตพัฒนาพิเศษล้านนาตะวันออก (จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ประกอบศิริ ภักดีพินิจ. (2565). การวิเคราะห์โครงสร้างโลจิสติกส์ขนส่งเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือ. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามรถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.).

ปิยวรรณ คงประเสริฐ. (2551). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบบูรณาการเพื่อการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Vol. 11 (2551): ปีที่ 11 ฉบับเดือนมกราคม - ธันวาคม 255.

พัลลภัช เพ็ญจำรัส และคณะ. (2554). การศึกษาแนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และ คมสัน สุริยะ. (2551). การวิเคราะห์ โลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยวในเมืองท่องเที่ยว.เชียงใหม่. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รพีพัฒน์ มัณฑนะรัตน์. (2563). สถานการณ์การท่องเที่ยวในวิกฤต COVID-19. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.cea.or.th/th/single-research/cultural-heritage-tourism-industry-covid-19. สืบค้นวันที่ 17/08/2565.

รัตติกร สมฤทธิ์. (2546). ผลกระทบทางสุขภาพของประชาชน จากการเปิดตลาดการค้าชายแดนไทย-ลาว ณ จุดผ่อนปรนบ้านฮวก กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่:เชียงใหม่. DOI: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CMU.res.2003.622

ศิรินันทน์ พงษ์นิรันดร. (2559). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข.9 (1) ม.ค. - มิ.ย. 59.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.). (2562). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). กระทรวงคมนาคม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563) สถิติการท่องเที่ยวและกีฬา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/17.aspx. สืบค้นวันที่ 5/10/2565.

สิริกร ประทุม. (2564). การพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(2).

อดิศัย วรรธนะภูติ. (2563). การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และความภักดีของนักท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการจัดการสมัยใหม่ ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2563.

โอปอล์ รังสิมันตุชาติและ ทิพาพร โพธิ์ศรี. (2564). การพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วม ของชุมชนท้องถิ่นคอรุม จังหวัดอุตรดิตถ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. Journal of Modern Learning Development ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2564.