การศึกษาเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพห่วงโซ่อุปทาน การท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรีอย่างยั่งยืน

Main Article Content

อารีรัตน์ ภาคพิธเจริญ
ภัทร ยืนยง
ธิป ศรีสกุลไชยรัก
รพี ดอกไม้เทศ

บทคัดย่อ

โครงการศึกษาเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและสถานการณ์ปัจจุบัน วิเคราะห์ขีดความสามารถและศักยภาพของห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวและพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี โดยใช้วิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับวิจัยเชิงปริมาณในการวิเคราะห์ผลและหาข้อสรุปตามวัตถุประสงค์


ผลการศึกษา ห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวของจังหวัดจันทบุรี สามารถออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ (1) ผลิตภัณฑ์/แหล่งท่องเที่ยว (2) ธุรกิจท่องเที่ยว (3) อุปทานอาหาร และ (4) โครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยว จำนวน 8 กลุ่มหลัก ได้แก่ (1) กลุ่มสนับสนุนและผลักดันการท่องเที่ยว (2) กลุ่มสนับสนุนด้านสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก (3) กลุ่มงานประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว (4) กลุ่มพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคการท่องเที่ยว (5) กลุ่มวางแผนและสนับสนุนอุปทานอาหาร (6) กลุ่มผู้ประกอบการแหล่งท่องเที่ยว (7) กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว และ (8) กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจจัดนำเที่ยว


สำหรับด้านศักยภาพในการรองรับการท่องเที่ยวของจังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย เมืองครบเครื่อง เมืองแห่งความสุข เมืองแห่งภูมิปัญญา เมืองวิถีชีวิตและวัฒนธรรม เมืองวิทยาการอาหาร เมืองผลไม้ เมืองอัญมณี และเมืองพื้นที่สีเขียว


แนวทางการพัฒนาศักยภาพห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรีเสนอการท่องเที่ยว “กินอยู่ดีวิถีจันท์” ที่สะท้อนอัตลักษณ์การกินอยู่ของคนจันท์บนฐานทรัพยากรการท่องเที่ยว 3 มิติ คือ (อาหารการกิน วิถีความเป็นอยู่ และที่อยู่อาศัย) ภายใต้รูปแบบ "การท่องเที่ยวแบบสุขสมบูรณ์” โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี 3 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาศักยภาพวัตถุดิบทางการเกษตร ชูผลผลิต สินค้าแปรรูป และเมนูอาหารที่โดดเด่นให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนาแหล่งผลิตปลอดภัยควบคู่กับการพัฒนาการท่องเที่ยว (2) การพัฒนาเพื่อค้นหา ฟื้นฟู รักษา และถ่ายทอดอัตลักษณ์ด้านวิถีวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญา สร้างและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน พัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าท้องถิ่น และเชื่อมโยงวิถีความเป็นอยู่และวิถีการกินสู่ตลาดการท่องเที่ยว และ (3) การพัฒนากลไกและกิจกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ สร้างและพัฒนาเครือข่ายนักท่องเที่ยวคุณภาพผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ และพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับรูปแบบการท่องเที่ยวในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดรรชนี เอมพันธุ์. สุทัศน์ วรรณะเลิศ และเรณุกา รัชโน. (2547). คู่มือการจำแนกเขตท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยหลักการช่วงชั้นโอกาสทางด้านนันทนาการ (Recreation Opportunity Spectrum, ROS). การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2561- 2565 ,กรุงเทพมหานคร.

Funlade T. Sunmola and Uje D. Apeji. (2020). Blockchain Characteristics for Sustainable Supply Chain Visibility. Proceedings of the 5 th NA International Conference on Industrial Engineering and Operations Management Detroit, Michigan, USA, August 10 - 14, 2020

Piboonrungroj, P. and Disney, S. M., (2009). Tourism supply chains: a conceptual framework, Phd Networking Conference. Exploring Tourism III: Issues In Phd Research, [online]. Available at: https://d1wqtxts1xzle7.cloudfront.net [21 November 2020].

Smith, M. K., & Diekmann, A. (2017). Tourism and wellbeing. Annals of Tourism Research, 66, 1-13. [online]. Available at: https://doi.org/10.1016/j.annals.2017.05.006

Xinyan Zhang , Haiyan Song , George Q. (2009).. Huang Tourism supply chain Sustainable Supply Chain Foundation (SSCF). [online]. Available at: http://www.sustainable-scf.org/management: A new research agenda. Tourism Management 30 (2009) 345–358.

Xinyan Zhang and Haiyan Song. (2018). An integrative framework for collaborative forecasting in tourism supply chains. J Tourism Res. 20(2018) 158–171.