การศึกษาองค์ประกอบที่มีผลต่อความร่วมมือแบบเครือข่ายของการท่องเที่ยว ชุมชนทุ่งหยีเพ็ง อ.เกาะลันตา จ.กระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่มีผลต่อความร่วมมือแบบเครือข่ายของการท่องเที่ยวชุมชนทุ่งหยีเพ็ง 2) เพื่อศึกษาความยั่งยืน การจัดการระหว่างเครือข่ายและแผนการท่องเที่ยวที่มีผลต่อความร่วมมือแบบเครือข่ายของการท่องเที่ยวชุมชนทุ่งหยีเพ็ง 3) เพื่อศึกษาโมเดลความร่วมมือแบบเครือข่ายของการท่องเที่ยวชุมชนทุ่งหยีเพ็ง โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรในชุมชนทุ่งหยีเพ็ง 300 คน เมื่อทดสอบการถดถอยพหุเพื่อหาอิทธิพลทางตรง พบว่า 1) การจัดการระหว่างเครือข่าย 2) แผนการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3) ความยั่งยืน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความร่วมมือแบบเครือข่ายของการท่องเที่ยวชุมชนทุ่งหยีเพ็งตามลำดับ และเมื่อทดสอบอิทธิพลร่วม พบว่า 1) ความยั่งยืนกับการจัดการระหว่างเครือข่ายมีอิทธิพลร่วมระหว่างกัน 2) การจัดการระหว่างเครือข่ายและแผนการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีอิทธิพลร่วมระหว่างกัน 3) ความยั่งยืน การจัดการระหว่างเครือข่าย และแผนการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีอิทธิผลร่วมระหว่างกัน และเมื่อศึกษาโมเดลความร่วมมือ พบว่า แรงขับเคลื่อนภายในและภายนอก เป็นโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Benjamin Stevens, A.R. (1985) .Regional input-output methods for tourism impact analysis.
Southeastern Forest Experiment Station.
Mill, Robert Christie. (1990). Tourism the International Business. New Jersey: Prentice Hall.
Ministry of Tourism and Sports.(2019).Tourism situation in 2018 and trend in 2 0 1 9 .
https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411.
Nantida Jansiri. (2015). Local Governance : The Perspective on People Participation in Local
Government Administration. Journal of Humanities and Social Sciences, SRU 7(2) ,
–118.
Phatoomchat, A. S. (2019). Model of Community-Based Tourism Management in Mekong River
Basin of Ubon Ratchathani Province. Journal of MCU Peace Studies, 7(5), 1460–1473.
Sharpley Richard. (2009). Tourism development and the environment: Beyond sustainability?
UK and USA: Earthscan .
Sirinthip Pharcharuen and Winit Pharcharuen. (2021). Participation in community forest
management at Ban Ton Phueng, Mae Pong Subdistrict Doi Saket District Chiang Mai
Province. Academic Journal of Sustainable Habitat Development 2(1).
Taro Yamane. (1973). Statistics : an introductory analysis. New York: Harper and Row.
Thanarin Harnkiattiwong and Rujikarn Sanont. (2021). Developing the potential of sustainable
tourism community cooperation network of a community in huay kaew district, mae
on sub- district, chiang mai province. Social science journal of prachachuen research
network 3(1).
Warakorn Poolsawat. (2022). Analysis of Creation and Development of Community-Based
Tourism Networks of Lao Khrang Ethnic Groups in Nakhon Pathom Province. .Journal of
MCU Palisueksabuddhaghosa Review, 8(2), 114-115