การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินโฮมเสตย์ชุมชนท่องเที่ยวบ้านเชียง Factors Influencing Foreign Climber’s the Decision to Travel in Thailand

Main Article Content

สาวิณี เมกะ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทการท่องเที่ยวชุมชนบ้านเชียง รวมทั้งศึกษาความคุ้มค่าในการลงทุนของการให้บริการโฮมสเตย์ของกลุ่มโฮมสเตย์บ้านเชียง ด้วยเครื่องมือการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Cost-benefit Analaysis) ผลการศึกษาพบว่า ทุนทางมรดกโลกทางวัฒนธรรม ความเป็นชาติพันธุ์ไทพวน บุคลากรในชุมชนที่มีความรู้ความสามารถ ทำให้ชุมชนการท่องเที่ยวบ้านเชียงสามารถดึงจุดเด่นของวัฒนธรรมนำมาเพิ่มมูลค่าผ่านการสอดแทรกความคิดสร้างสรรค์ลงไปได้อย่างดี แต่ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์ด้านความคุ้มค่าในการลงทุนของการให้บริการโฮมสเตย์บ้านเชียงพบว่า ระดับความคุ้มค่าในการลงทุนของโฮมเสตย์แต่ละหลังมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเงินลงทุนและจำนวนผู้เข้าพัก เมื่อเปรียบเทียบโฮมสเตย์ที่สร้างใหม่ทั้งหลังกับรูปแบบของโฮมสเตย์ที่ปรับปรุงบ้านเพิ่มเติม รูปแบบแรกกลับมีข้อจำกัดมากกว่าในการบริหารต้นทุนผันแปรและจำนวนผู้เข้าพักที่ยังไม่สามารถทำให้ผู้ให้บริการคืนทุนได้ในเวลาที่เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Goodwin, H. & Santilli, R. 2009. Community-Based Tourism: a success? (ICRT Occasional Paper No. 11). http://www.andamandiscoveries.com/press/press-harold-goodwin.pdf

Macek, I.C. (2012). Homestays as Livelihood Strategies in Rural Economies: The case of Johar Valley, Uttarakhand, India (Master dissertation, University of Washington, Seattle, U.S.). Retrieved from https://digital.lib.washington.edu/researchworks/bitstream/handle/1773/21845/Macek_washington_0250O_10331.pdf?sequence=1

กรมศิลปากร. (2553). นำชมพิพิธภัณฑ์แห่งชาติบ้านเชียง. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง

กาจ วัฒนศรีส่ง. (2545). การศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการสถานที่พักแรม

เพื่อตอบสนองต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิตราพร อุนสุวรรณ. (2552). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนสถานที่พักแรมในรูปแบบ โฮมสเตย์ บริเวณตลาดน้ำอัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์/กรุงเทพฯ. DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/TU.the.2009.678

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2542). การวางแผนและการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: คณะ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฐิติพร วรฤทธิ์. (2561). การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และความคุ้มค่าของธุรกิจโฮมสเตย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2564. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

บุญฑริกา ใจกระจ่าง และวิชชุตา มาชู (2564). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของธุรกิจโฮมสเตย์เกิดใหม่ขนาดเล็ก: กรณีศึกษาโฮมสเตย์ชุมชนท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 14 (1), 24-39.

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สืบค้นจาก http://www.udonthani.go.th/main/wp-uploadfile/strategy/Annual_Report2020.pdf

ประเสน ลีลาวุฒิประเสริฐ. (2556). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของธุรกิจโฮมสเตย์ในพื้นที่ภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยธรมมศาสตร์.

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด, อรุณี อินทรไพโรจน์ และ อรรถพันธ์ สารวงศ์. (2562). การศึกษาเศรษฐกิจท่องเที่ยวชุมชน จากโซเชียลมีเดียถึงชุมชนท่องเทียว่ อย่างครบวงจร. ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์. เชียงใหม่ : มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ.

เยาวเรศ ทับพันธุ์. (2543). การประเมินโครงการตามแนวทางเศรษฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สริกา นนทะสร และ สรัญญา ศรีทองมาศ. (2564). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของธุรกิจโฮมสเตย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(2), 80-97.

สำนักงานจังหวัดอุดรธานี. (2563). รายงานผลการดำเนินงานจังหวัดอุดรธานี