การศึกษาพฤติกรรม และแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวในการใช้บริการร้านไก่ย่างหนองเรือ Tourists' Behavior and Motivations to the use the service of Nong Ruea Grilled chicken restaurant

Main Article Content

พัทธ์ธีรา ทองอ้ม
ฐิรชญา ชัยเกษม
กฤต โง้วธรสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม และแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวในการใช้บริการร้านไก่ย่างหนองเรือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาใช้บริการร้านไก่ย่างหนองเรือในพื้นที่อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรมการใช้บริการร้านไก่ย่างหนองเรือ เช่น ลักษณะการเดินทาง ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย ปัจจัยที่เลือกมาใช้บริการไก่ย่างหนองเรือของนักท่องเที่ยว ซึ่งผลการศึกษาเชิงประจักษ์นี้ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปพิจารณาร่วมกับการพัฒนากลยุทธ์ด้านการท่องเที่ยวของชุมชนไก่ย่างหนองเรือในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Research and Markets (2022). Global Culinary Tourism Market (2022 to 2027) Industry Trends, Share, Size, Growth, Opportunity and Forecasts. สืบค้น จาก https://www.globenewswire.com/news-release/2022/02/02/2377627/28124/en/Global-Culinary-Tourism-Market-2022-to-2027-Industry-Trends-Share-Size-Growth-Opportunity-and-Forecasts.html

จังหวัดขอนแก่น. แผนปฏิบัติราชการประจำของจังหวัดขอนแก่นประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 สืบค้นจาก http://www.khonkaen.go.th/khonkaen6/main.php?cont=vision

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). Food Experience Food will keep us alive. TAT Review Vol.3 No.1 Jan-Mar 2017 (1/2017). จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย.

Hall, C.M. & Sharples, L. (2003). The consumption of experiences or the experience of consumption? An introduction to the tourism of taste. In C.M. Hall, L. Sharples, R.Mitchell, N. Macionis and B. Cambourne (eds) Food Tourism around the World.Amsterdam: Butterworth Heinemann.

John et al., (2018). Tourism : Principle and Practice. Pearson Education Limited.

Kotler, k. and keller, K. L. (2016). A Framework for Marketing Management. Sixth Edition, Global Edition.

Lucius W. (2017). Tourism and Hospitality Management. Library Press.

Pablo R. et al., (2020). Gastronomic satisfaction of the tourist: empirical study in the Creative City of Popayán, Colombia. Journal of Ethnic Foods.

UNWTO (2019). UNWTO World Tourism Barometer and Statistical Annex. สืบค้นจาก www.e-unwto.org.

Yeong and Anita (2012). Construction and validation of a scale to measure tourist motivation to consume local food. Tourism Management.