ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวย่านประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืนของห้าแยกน้ำพุ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี FACTORS INFLUENCING ON SUSTAINABLE HISTORICAL AREA TOURISM DECISIONS IN NUMPHU INTERSECTION, TAMBON MAK KHANG, AMPHOE MUEANG, CHANGWAT UDONTHANI.

Main Article Content

ประภัสสร โสรมรรค
เมษ์ธาวิน พลโยธี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวย่านประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืนของห้าแยกน้ำพุ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเกี่ยวกับห้าแยกน้ำพุ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวห้าแยกน้ำพุ 3) ทดสอบความแตกต่างระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวห้าแยกน้ำพุกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวห้าแยกน้ำพุ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปร


ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เดินทางท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนวันหยุด มีผู้ร่วมเดินทางเป็นเพื่อน มียานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางเป็นรถยนต์ส่วนตัว มีจำนวนครั้งในการท่องเที่ยวอุดรธานี ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป มีระยะเวลาในการท่องเที่ยวแบบไปเช้า-เย็นกลับ มีเวลาที่ใช้ในการท่องเที่ยวห้าแยกน้ำพุ ตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป มีกิจกรรมที่ทำระหว่างการท่องเที่ยวเป็นการพักผ่อน มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวไม่เกิน 500 บาท และมีช่องทางการค้นหาข้อมูลด้านการท่องเที่ยวผ่านสื่อออนไลน์ 2) ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวห้าแยกน้ำพุ พบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ให้ค่าเฉลี่ยความสำคัญกับปัจจัยด้านสิ่งดึงดูดใจมากที่สุด ( = 4.59) รองลงมาคือปัจจัยด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ( = 4.51) ปัจจัยด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ( = 4.46) ปัจจัยด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ( = 4.41) และปัจจัยด้านที่พัก ( = 4.31) 3) ผลการทดสอบความแตกต่างระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวห้าแยกน้ำพุกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวห้าแยกน้ำพุ พบว่าวัตถุประสงค์ในการเดินทางท่องเที่ยว ยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางท่องเที่ยว จำนวนครั้งในการเดินทางท่องเที่ยว และระยะเวลาที่ใช้ในการท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัจจัยที่ตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ร่วมเดินทางท่องเที่ยว ระยะเวลาที่ใช้ในการท่องเที่ยวห้าแยกน้ำพุ ประเภทกิจกรรมการท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายทางการท่องเที่ยว และช่องทางการรับรู้ข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัจจัยที่ตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

พ.ศ. 2560-2564. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.mots.go.th.

กวินรัตน์ โรจน์สิริดำรงกุล และ ภักดี มานะหิรัญเวท. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อชิ้นส่วน

อิเล็กทรอนิกส์ประเภทตัวเก็บประจุไฟฟ้าของโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า.

วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถิตินักท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564,

จาก https://www.mots.go.th.

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. (2556). คัมภีร์ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบผู้เชี่ยวชาญ.

กรุงเทพฯ: เคทีพีคอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.

ชิตวร ประดิษฐ์รอด. (2557). ปัจจัยองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวและปัจจัยแรงจูงใจ

ในการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวปริมณฑลของคนวัยทำงาน

ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณิศา ชัยชาญกุล. (2557). การท่องเที่ยวเมืองรอง. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564,

จาก https://www.tci-thaijo.org.

ธนาคารโลก. (2563). เศรษฐกิจโลกปี 2563. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564,

จาก https://www.nia.go.th/newsnow.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน: การวางแผนการท่องเที่ยว

อย่างยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2, [ฉบับปรับปรุง]. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2558). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. [ฉบับปรับปรุง].

กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

พัชรา ลาภลือชัย. (2560). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจัดการท่องเที่ยว

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. การค้นคว้าแบบอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน. (2546). ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอเมริกา.

ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564, จาก https://thaiembdc.org/th.

สำนักงานเทศบาลนครอุดรธานี. (2562). สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญจังหวัดอุดรธานี.

ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564. จาก http://udoncity.go.th/public4/landmarks.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2554). คู่มือการแปลงแผนจัดการ

คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2550-2554 ไปสู่การปฏิบัติ. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564,

จาก http://lib.mnre.go.th/index.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.nesdc.go.th.

สิริญญา ชาติเผือก และบุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย (2562) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่

ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่ออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

และอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร

มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

องค์การท่องเที่ยวโลก. (2555). การวางแผนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. ค้นเมื่อ 25 เมษายน 2563.

จาก https://tourismatbuu.wordpress.com.

อัญชลี สมใจ และพันธุ์รวี ณ ลำพูน. (2563). พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยว

ที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ.

วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิม

พระเกียรติ.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York:

Harper Collins Publishers.

Engel, James F. (1990). Consumer Behavior. New York: Holt, Rinehart and Winston, Inc.

Kollat and Blackwell. (1968). Marketing management analysis. New Jersey: Prentice Hall.

Kotler P., & Armstrong G. (1997). Marketing: An introduction. Englewood Cliffs,

New Jersey: Prentice – Hall.

Leon G. Schiffman and Leslie Lazar Kanuk. (1991). Consumer Behavior.

Retrieved June 9, 2021, from https://books.google.co.th/books

W.G. Cochran. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Walters, C. Glenn. (1987). Consumer Behavior: Theory and Practice. 3rd ed. Homewood:

Richard D. Irwin.