The SUSTAINABLE COMMUNITY-BASED TOURISM DEVELOPMENT GUIDELINE: A CASE STUDY OF TAI DAM COMMUNITY AT BAN NA PA NARD, CHIANG KHAN DISTRICT, LOEI PROVINCE SUSTAINABLE COMMUNITY-BASED TOURISM DEVELOPMENT GUIDELINE: A CASE STUDY OF TAI DAM COMMUNITY AT BAN NA PA NARD, CHIANG KHAN DISTRICT, LOEI PROVINCE

Main Article Content

เมษ์ธาวิน พลโยธี
สุธาธิณี หนูเนียม
สุวิชาดา สกุลวานิชเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) ศึกษาศักยภาพด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชุมชนไทดำ บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณเป็นประชาชนในพื้นที่ชุมชน จำนวน 171 คน และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพผู้มีบทบาทสำคัญในชุมชนหรือผู้สืบทอดภูมิปัญญา ผลวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของชุมชนมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวครบครัน สถานที่ท่องเที่ยวมีเอกลักษณ์และโดดเด่น เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม และมีสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ โดยศักยภาพที่โดดเด่นของชุมชน ได้แก่ ศักยภาพด้านสิ่งดึงดูดใจ ชุมชนมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นของวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งเดียวในภาคอีสาน อย่างไรก็ตามแนวทางการพัฒนาที่ชุมชนควรพัฒนามีหลายองค์ประกอบ เช่น ด้านการบริหารจัดการ ควรพัฒนาการกระจายรายได้ของคนในชุมชน พัฒนาด้านข้อมูลข่าวสารในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศในการเข้าถึงข้อมูลการท่องเที่ยวของชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูลข่าวสารแก่นักท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก พัฒนาการบริการนักท่องเที่ยวทั้งด้านร้านอาหาร ร้านค้า ร้านขายของที่ระลึก รวมไปถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ชุมชนควรพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเที่ยวให้หลากหลายและน่าสนใจ สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ที่สามารถสะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชน นอกจากนี้ชุมชนควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมวางแผนการบริหารจัดการการท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์ของตนเอง และชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความช่วยเหลือในการวางแผนและการดำเนิน กิจกรรมการท่องเที่ยว ส่งเสริมชุมชนให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงานได้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

เมษ์ธาวิน พลโยธี, คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Assistant professor of tourism at Faculty of Business Administration, Khon Kaen University.

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.). (2564). 9 แนวโน้มใหม่ในอนาคตการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน2564.จาก https://api.tourismthailand.org/upload/live/content_article_file/20603-15378.pdf

จารุจน์ กลิ่นดีปลี.(2541).การประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี.สารนิพนธ์มหาบัณฑิต. สถานบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

จิราภรณ์ แก้วมณี.(2557).แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านหัวเขาจีน.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต.สาขาวิชาพัฒนศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยศิลปากร

จุฑาภรณ์ ทองเพ็ง.(2554).ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดโสธรวรารามวิหารจังหวัดฉะเชิงเทรา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดรุณ ไกรศรี.(2554).แนวคิดและทฤษฎีศักยภาพของบุคคล.กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.(จุลสารการท่องเที่ยว).

เชาวลิต อยู่เกิด, วิจิตรา ศรีสอน และศิโรตม์ ภาคสุวรรณ. (2564).การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการแบบยั่งยืน: กรณีศึกษารูปแบบการจัดการขยะชุมชนตลาดสดแฮปปี้แลนด์ใหม่ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2). สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564.จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/249759/170728

ถวิลวดี บุรีกุล.(2552).พลวัตรการมีส่วนร่วมของประชาชน: จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2550.[พิมพ์ครั้งที่ 1].กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.พี.กราฟิคดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

เทศบาลตำบลเชียงคาน. (ม.ป.ป). ประวัติและข้อมูลสภาพทั่วไป.สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2564. จาก https://chiangkhan.go.th/public/list/data/index/menu/1142

เทิดชาย ช่วยบำรุง.(2552).บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง.วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.

ธนัชชา ฤทธิ์เดช.(2558). แนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืนของตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(2).สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2564.จาก file:///C:/Users/Admin/Downloads/45399-Article%20Text-105253-1-10-20160111%20(4).pdf

ธนรัตน์ รัตนพงศ์ธระ.(2560).แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยพะเยา.

ธฤษวรรณ มาตกุล.(2556).รายงานวิจัยแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสาน กรณีศึกษาวัดศิลาอาสน์ (ภูพระ) จังหวัดชัยภูมิ.ขอนแก่น: คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศน์.(2527).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล อ้างถึงใน ยศพนต์ สุธรรม.(2561).รูปแบบการมีส่วนร่วมเพื่อคืนคนดีสู่สังคมระหว่างศูนย์ยุติธรรมชุมชนและเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา.หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา.(2548).การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน Sustainable tourism development. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. อ้างถึงใน สรณ์สิริ รวีโรจน์วรกุล. (2551).แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดปทุมธานี.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ประชาชาติธุรกิจ. (2561). เทรนด์ท่องเที่ยวปี 2018 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก.สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2564.จากhttps://www.prachachat.net/world-news/news-95925

เพชรอำไพ มงคลจิรเดช, ศุภรานันท์ ดลโสภณ, สุชาดา กิจเกิดแสง และพิทักษ์ ศิริวงศ์, (2557). กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ในแผนฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารและป่าชุมชนเขื่อนศรีนครินทร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.วารสารวิชาการ ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 7(1).สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2564.จาก https://he02.tcthaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/27376/23344

พจนา สวนศรีและสมภพ ยี่จอหอ.(2556).คู่มือมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. เชียงใหม่: สถานบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน.มหาวิทยาลัยพายัพ.

สมเกียรติ ชัยพิบูลย์.(2550).การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา ศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร.กำแพงเพชร: สำนักวิทยาบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.(2550).คู่มือเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน พ.ศ. 2564, จากhttps://thaicommunitybasedtourismnetwork.files.wordpress.com/2012/01/cbt networkhandbook.pdf

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม.(2562).การจัดการคลัสเตอร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย, 11(1). สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2564.จาก file:///C:/Users/Admin/Downloads/6463-Article%20Text-7619-1-10-20191113%20(1).pdf

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).(2558).การท่องเที่ยวโดยชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: โคคูน แอนด์ โค.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).(2560).การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(Sustainable Tourism). สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2564. จาก http://110.78.114.133/sec39/e- loader/data/P1L5fLIAN52347ThuJan2017.pdf

อนุชา ม่วงใหญ่.(2559).แนวทางการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนและท้องถิ่น “ ในศตวรรษที่ 21”วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(3). ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564, จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSocSci/article/view/70878/58925

Booking.com.(2020).Sustainable Travel Report 2020. Retrieved 15 June 2021, from https://www.gstcouncil.org/booking-com-sustainable-travel-report-2020/

B. Saheb Zadeh and Nobaya Ahmad.(2010).Participation and Community Development. Online Current Research Journal of Social Sciences, 2(1). Retrieved 24 September 2021, from https://maxwellsci.com/print/crjss/v2-13-14.pdf

Buhalis, D., & Amaranggana, A., (2014). Smart Tourism Destination. Information and Communication Technologies in Tourism 2014. Retrieved 15 October 2021, from https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-3-319-03973-2_40

Nopparat Satarat.(2010).Sustainable management of community-based tourism in Thailand. (Doctoral dissertation). National Institute of Development Administration (NIDA), Bangkok. [In Thai].

Richards, G. (2010). Creative Tourism and Local Development. In Wurzburger, R. (Ed.). Creative Tourism a Global Conversation how to provide unique creative experiences for travelers worldwide: at present at the 2008 Santa Fe & UNESCO International Conference on Creative Tourism in Santa Fe. (p. 78–90).New Mexico: USA.

The Association of Southeast Asian Nations (ASEAN). (2016).ASEAN Community Based Tourism Standard.Jakarta: ASEAN Secretariat.

Tourism Authority of Thailand Review magazine.(2563).คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยวศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว.สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2564.จากhttps://www.tatreviewmagazine.com/article/

World Tourism Organization. (2005). Making Tourism More Sustainable - A Guide for Policy Makers. Retrieved 14 August 2021, from https://wedocs.unep.org/bitstream/handle/20.500.11822/8741/- Making%20Tourism%20More%20Sustainable_%20A%20Guide%20for%20Policy%20Makers-2005445.pdf?sequence=3&isAllowed=y