การวิเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบการดำเนินชีวิตของนักท่องเที่ยว กลุ่ม Millennials ในประเทศไทย

Main Article Content

ลลิดา นวกิจไพฑูรย
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบการดำเนินชีวิตของนักท่องเที่ยว
กลุ่ม Millennials ในประเทศไทยในมุมมองด้านกิจกรรม ด้านความสนใจ และด้านความคิดเห็น โดยกลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่ม Millennials ที่มีการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยภายในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา จำนวน 474 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis)


            ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30 - 39 ปี รายได้ 15,000-30,000 บาท การศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน สถานภาพโสดและมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตภาคเหนือ โดยในการวิเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการดำเนินชีวิตของนักท่องเที่ยวกลุ่ม Millennials พบว่า สามารถจัดกลุ่มกิจกรรมได้ทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ กลุ่มงานอดิเรก กลุ่มความบันเทิง กลุ่มการทำงาน และกลุ่มงานสังคม ในส่วนของด้านความสนใจ สามารถจัดกลุ่มได้ทั้งหมด 2 กลุ่ม คือ การร่วมกิจกรรมชุมชน และการสันทนา และด้านความคิดเห็น สามารถจัดกลุ่มได้ทั้งหมด 2 กลุ่ม คือ ความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง และปัญหาสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว (2562). สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2562 จาก https://www.mots.go.th/download/article/article_20191122092437.pdf.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). การศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีศักยภาพในการใช้จ่าย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2562 จาก http://tourismlibrary.tat.or.th/medias/ sector7rabbithood.pdf.
โชคชัย สุเวชวัฒนกูล และเกศรา สุกเพชร. (2563). อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดที่มีต่อการสนับสนุนของลูกค้าบริษัทนําเที่ยวต่างประเทศโดยผู้ประกอบการชาวไทย. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 16(1), 81 – 97.
ธนาพงษ์ จันทร์ชอน. (2546). รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสารและทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อสถานีข่าวโทรทัศน์ เนชั่น ชาแนล ยูบีซี 8. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิมิต ซุ้นสั้น และสุภัทรา สังข์ทอง. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 16(1), 128 – 146.
พัฐชญาณ์ แซ่โง้ว ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ และพิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการดําเนินชีวิตของผู้บริโภค Generation Y ในภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ด้วยโมเดล AIO. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี. 3(2), 43-69
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2555). หลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ท้อป.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2562 จาก https://www.nesdc.go.th/ ewt_dl_link. php?nid=6422.
แสงหล้า ชัยมงคล. (2554). การใช้ Factor Analysis ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).
อภิชญา ณัฐพงศ์พฤทธิ์ และพัชนี เชยจรรยา. (2559). รูปแบบการดำเนินชีวิต การรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์ความน่าเชื่อถือและพฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศ. การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2559 คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (1 ก.ค. 2559).
อรรถวุฒิ ศีลวุฒิคุณ. (2548). รูปแบบการดำเนินชีวิตและทัศนคติของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อ
การส่งเสริมการขายของห้างโรบินสัน. รายงานโครงการเฉพาะบุคคลมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Assael, H. (1998). Consumer Behavior and Marketing Action. Cincinnati, Ohio: South Western College Pub. 1.
Cronbach, L. J. (1974). Essential of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Dabija D.C., Brandusa, B. and Tipi, N.S. (2018). Generation X versus Millennials communication behaviour on social media when purchasing food versus tourist services. E a M: Ekonomie a Management, 21(1), 191-205.
Frochot, I. (2003). An Analysis of Regional Positioning and Its Associated Food Images in French Tourism Regional Brochures. Journal of Travel & Tourism Marketing, 14(3), 77-96
Fry, R. (2020). Millennials Overtake Baby Boomers as America’s Largest Generation. Pew Research Center. On WWW at https://www.pewresearch.org/fact-tank/2020/04/28/millennials-overtake-baby-boomers-as-americas-largest-generation/ Accessed on 5 May 2020.
Holbrook, M.B. (2006). Consumption Experience, Customer Value, and Subjective Personal Introspection: An Illustrative Photographic Essay. Journal of Business Research, 59(6), 714–25.
Iversen, N., Hem, L. & Mehmetoglu, M. (2015). Lifestyle segmentation of tourists seeking nature-based experiences: the role of cultural values and travel motives. Journal of Travel & Tourism Marketing, 33(sup1), 38-66.
James, A., Ravichandran, S., Chuang, N.K., and Bolden III, E. (2016). Using Lifestyle Analysis to Develop Lodging Packagesl for Staycation Travelers: An Exploratory Study. Journal of Quality Assurance in Hospitality & Tourism, 18(4), 387 – 415.
Jindabot, T. and Moschis, G.P. (2008). Exploratory Factor Analysis of Thai Consumer’s Trust I Bangkok Service Provider. Thammasat Business Journal, 31(117), 56-68.
Kotler, P. & Keller, K. (2016). Marketing Management (15th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Lazer, W. (1963). Life Style Concepts and Marketing, in Toward Scientific Marketing, ed. Stephen A. Greyser, Chicago, IL: American Marketing Association, 130-139.
Moreno, F.M., Lafuente, J.G., Avila, F. and Moreno, S.M. (2017). The Characteristics of the Millenials and Their Buying Behavior. International Journal of Marketing Strategy. 9(5), 135 – 144.
Popescu, M.A., Nicolae, F.V. & Pavel, M.I. (2015). Tourism and hospitality industry in digital era: General overview. Proceedings of the 9th International Management Conference, Bucharest, Romania.
Rebollo, HPM (2017). A structural model of millennial tourist behavior towards tourism in Davao Region. Journal of Advances in Humanities and Social Sciences, 4(1): 26 – 36.
Rita, P., Brochado, A., and Dimova, L. (2019). Millennials’ travel motivations and desired activities within destinations: A comparative study of the US and the UK. Current Issues in Tourism. 22(16), 2034-2050.
Solomon, M. R. (2020). Consumer behavior: Buying, having, and being. (13th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Stevens, J. (1992). Applied multivariate statistics for the social sciences (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates, Inc.
Tan, E., Bakar, B.A., Lim, T. and Nair, S. (2018). Hijababes travel: Insights from Asian female Muslim millennial travelers. Conference: Council for Australasian University Tourism and Hospitality Education (CAUTHE) Conference 2018 At Newcastle, New South Wales
Valentine, D. B. and Powers, T. L. (2013). Generation Y values and lifestyle segments. Journal of Consumer Marketing, 30(7), 597-606.