การส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหมู่บ้านทำมาค้าขาย: กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

จีรเกียรติ อภิบุณโยภาส
สุขุมาล กล่ำแสงใส

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมและประเมินศักยภาพของธุรกิจวิสาหกิจชุมชน 2) วิเคราะห์และจัดทำรูปแบบการทำธุรกิจ (Business Model Canvas) ของวิสาหกิจชุมชน และ 3) จัดทำรูปแบบการบริหารจัดการและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ภายใต้การดำเนินการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า 1) จุดแข็งสำคัญของวิสาหกิจชุมชนฯ ที่สามารถเป็นจุดขายได้คือการใช้กระบวนการผลิตจากธรรมชาติในทุกขั้นตอน  และการมีผู้นำและกรรมการที่เข้มแข็ง 2) เครื่องมือ Business Model Canvas สามารถแสดงองค์ประกอบและความเชื่อมโยงของปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจทั้ง 9 ด้านได้ และ 3) รูปแบบการบริหารจัดการและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่จำเป็นและเป็นที่ต้องการได้แก่ การอบรมให้ความรู้ ให้คำปรึกษาด้านการวางแผนบริหารจัดการธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์ การขยายช่องทางการจัดจำหน่าย และการศึกษาดูงาน ซึ่งส่งผลให้เกิดการทำงานที่เป็นระบบ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การเพิ่มยอดขาย และการพัฒนาคน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่วิสาหกิจชุมชนฯ ควรรเตรียมความพร้อมและพัฒนาเพิ่มเติมคือการสืบทอดวัฒนธรรมการทอผ้า การวางแผนการผลิตเป็นรายเดือน การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และ การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). แนวทางการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ. กรุงเทพฯ: สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2548). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548. กรุงเทพมหานคร:
สำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2552). มาตรฐานระบบการจัดการวิสาหกิจชุมชน. จาก http://library.dip.go.th เข้าถึงเมื่อ 16 กรกฎาคม 2562.
กษมาพร พวงประยงค์ และ นพพร จันทรนำชู. (2556). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการแปรรูปและ
ผลิตภัณฑ์ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 108-120.
ชณทัต บุญรัตนกิตติภูมิ. (2557). ความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจ
ชุมชนในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 7(3), 103-117.
ชัญญาภัค หล้าแหล่ง และคณะ. (2561). การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับความได้เปรียบทางการแข่งขันของกลุ่ม
วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดชุมพร. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์
มนุษยศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 3447-3464.
ณัฐวดี พัฒนโพธิ์. (2560). การพัฒนาศักยภาพกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากต้นกก บ้านโนนนาค ตำบลบัวบาน
อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการ บริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 6(พิเศษ), 120-
32..
ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร. (2558). การพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศกลุ่มนอร์ดิก. วารสาร รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 4(2), 13-37.
มาโนชย์ นวลสระ. (2546). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อธุรกิจชุมชน กรณีผลิตภัณฑ์กะปิ หมู่บ้านเกาะแรต
ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. รายงานการวิจัย.
สำนักนายกรัฐมนตรี.(2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
เสรี พงศ์พิศ. (2550). วิสาหกิจชุมชน กลไกเศรษฐกิจฐานราก. กรุงเทพมหานคร: เอดิสันเพรส โปรดักส์.
อเล็กซานเดอร์ ออสเทอร์วัลเดอร์ และ อีฟ พินเญอร์. (2557). คู่มือสร้างโมเดลธุรกิจ: สำหรับผู้มองการณ์ไกล ผู้
คิดจะทำการใหญ่และผู้หวังจะล้มยักษ์ แปลจาก Business Model Generation แปลโดย วิญญู กิ่ง
หิรัญวัฒนา. กรุงเทพฯ: วีเลิร์น.
Valchovska, S. & Watts, G. (2013). Community-based rural enterprise in the UK- model
development and success factors. Retrieved 15 July 2019 from http://enterise.info/
lessons/community-enterprise-development.pdf.
Wronka, M. (2013). Analyzing the success of social enterprises-critical success factors
Perspective. Retrieved 16 July 2019 from http://www.toknowpress.net/ISBN/978-961-6914-02-4/papers/ML13-296.pdf.