การสำรวจมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นและประเมินศักยภาพเชิงการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมชุมชนโนนทัน จังหวัดหนองขัวลำภู
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน สำรวจมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชน และ ประเมินศักยภาพเชิงการท่องเที่ยวของมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนโนนทัน จังหวัดหนองบัวลำภู ศึกษาด้วยการวิจัยแบบผสม ข้อมูลเชิงคุณภาพรวบรวมด้วยเทคนิคการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการสำรวจแบบมีส่วนร่วมด้วยจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นำ แกนนำ และสมาชิกชุมชน จำนวน 35 คน โดยใช้แบบสำรวจมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนและแบบประเมินศักยภาพเชิงการท่องเที่ยวของมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ด้วยการจำแนกความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาหลังตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า โดยประยุกต์ใช้แนวคิดศักยภาพทรัพยากรท่องเที่ยวชุมชน มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น ศักยภาพเชิงการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวมรดกวัฒนธรรม และการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม
พบว่า พบว่า ชุมชนโนนทันก่อตั้งจากคนหลายกลุ่มที่อพยพโยกย้ายเข้าไปอาศัยในพื้นที่ และกลายเป็นปัจจัยกำหนดอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่นภายใต้ระบบนิเวศพื้นที่ป่าและภูเขา และเรียกตนเองว่า “คนภู” โดยมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนมีแหล่งที่มาจาก การสืบทอดจากบรรพบุรุษ การประดิษฐ์คิดค้นจากประสบการณ์ของตนเอง และ การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเดิมให้เข้ากับวิถีคนที่อาศัยอยู่ในป่า ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ศิลปกรรม พิธีกรรม ประเพณี และความเชื่อ เกษตรกรรม โภชนาการและอาหารท้องถิ่น หัตกรรม และ การแพทย์พื้นบ้าน ศักยภาพเชิงการท่องเที่ยวของมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.40, S.D. = 0.48) โดยศักยภาพเชิงการท่องเที่ยวด้านคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมมีค่าสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.70, S.D. = 0.49) ส่วนผลประเมินศักยภาพเชิงการท่องเที่ยวโดยจำแนกประเภท พบว่า ศักยภาพเชิงการท่องเที่ยวของมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตกรรมมีค่าสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.95, S.D. = 0.31)รองลงมาได้แก่ มรดกภูมิปัญญาด้านพิธีกรรม ประเพณี และความเชื่ออยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.65, S.D. = 0.64) มรดกภูมิปัญญาด้านศิลปกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.48, S.D. = 0.82) มรดกภูมิปัญญาด้านโภชนาการและอาหารท้องถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.41, S.D. = 0.83) มรดกภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรมอยู่ในระดับมาก( = 3.74, S.D. = 0.69) และมรดกภูมิปัญญาด้านการแพทย์พื้นบ้านอยู่ในระดับมาก( = 3.68, S.D. = 0.47) ตามลำดับ
Article Details
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวเดือนมกราคม 2563. สืบค้นวันที่ 15
มกราคม 2563, แหล่งที่มา:
https://www.mots.go.th/download/article/article_20200407103037.pdf
กรมการท่องเที่ยว. (2562). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561 -2564 ของกรมการท่องเที่ยว . กรุงเทพฯ: VIP
COPY PRINT (วีไอพี ก็อปปี้ปริ้น).
กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรมวิถีชีวิตและภูมิปัญญา / กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
กาญจนา คำผา และ และรัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม. (2561). แนวทางการสืบทอดประเพณีฮีตสิบสอง
เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. วารสารราชพฤกษ์, 16(1), 65-74.
ขวัญชนก นัยจรัญ และ คณะ. (2562). การศึกษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตำบลหนองกะท้าว อำเภอ
นครไทย จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(2), 329-344.
จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนเมืองในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม :
กรณีศึกษาชุมชนลาดพร้าว. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 14(2): 35–48
ญาณภา บุญประกอบและคณะ. (2560). อาหารพ้ืนถิ่นกบักลไกในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์:
กรณีศึกษากลุ่มชาติพนัธุ์ลาวครั่งจังหวัดชัยนาท.วารสารวิทยาลัยดุสิตธานีปี ที่11 ฉบับพิเศษ เดือน
พฤษภาคม 2560, หน้า 93-108.
ชัยณรงค์ ศรีรักษ์. (2561). ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมเกษตรสู่ชุมชน
อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ด้านการท่องเที่ยว. การประชุมวิชาการระดับชาติการท่องเที่ยวและการโรงแรมร่วม
สมัย ครั้งที่ 5 "การท่องเที่ยวอีสาน ผสานชุมชน ผลักดันผลิตผลการท่องเที่ยวเมืองรองอย่างยั่งยืน" 8 มืถุ
นายน 2561.
ชัยณรงค์ ศรีรักษ์ และคณะ. (2563). รูปแบบการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วม พื้นที่
หาดราไวย์ จังหวัดภูเก็ต. วารสารศิลปะศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 2(1): 25-36
ทิดชาย ช่วยบำรุง. (2554). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน:
บนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา
บังอร บุญปั้น. (2561). กลุ่มชาติพันธุ์ลาวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา: ประวัติความเป็นมา วัฒนธรรม และ
แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(1), 103-112.
ประเวศ วะสี. (2530). ภูมิปัญญาไทยและศักยภาพของชุมชน ปัญหาด้านวิกฤตสู่ทางรอด. กรุงเทพฯ :
ปิรันธ์ ชิณชติและ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง.
Veridian E-Journal, ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน), หน้า 250-268.
พิมพ์ปฏิมา นเรศศิริกุล. (2562). การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง
ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6
ประจำปี พ.ศ.2562 “สังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา”
พจนา สวนศรี. (2560). การประชุมเชิงวิชาการและการแถลงข่าวเรื่อง“รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับ
ที่ 7”. กรุงเทพฯ: สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ยุวรี โชคสวนทรัพย์. (2561). การปรับตัวของชุมชนเกาะศาลเจ้าภายใต้ศาสตร์พระราชาเพื่อการท่องเที่ยวอย่าง
ยั่งยืนในมิติวัฒนธรรม. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 9(2), 383-394.
วศิน โต๊ะสิงห์ และคณะ. (2560). คุณค่าและภูมิปัญญาประเพณีบุญกลางบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง อำเภอ
พนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 2(2), 83-98.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). ปี 2563 เป็นปีแห่งความท้าทายของตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทย...จำนวน
นักท่องเที่ยวต่างชาติอาจขยายตัว 2.0%-3.0% หรือมีจำนวนที่ 40.5-40.9 ล้านคน (กระแสทรรศน์ ฉบับ
ที่ 3068). สืบค้นวันที่ 13 มกราคม 2563. แหล่งที่มา: https://kasikornresearch.com/th/analysis/kecon/business/Pages/z3068.aspx
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์. (2563). SCB EIC คาดส่งออกไทยปี 63 หดตัว -12.9% รับ
ผลกระทบหนักจากโควิดและเศรษฐกิจโลกถดถอย. สืบค้นวันที่ 13 มกราคม 2563. แหล่งที่มา:
https://www.ryt9.com/s/iq03/3117413
สุวิชชา ศรีถาน และ ปรีดา ไชยา. (2559). การค้นหามรดกภูมิปัญญาอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนแม่แจ่ม จังหวัด
เชียงใหม่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(1), 12-22.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (30 มกราคม 256/). เข้าถึงได้จาก การ
ท่องเที่ยวโดยชุมชน ( COMMUNITY - BASED TOURISM):
http://www.dasta.or.th/th/component/k2/item/674-674
นทิรา พงษ์นาค. (2558). อัตลักษณ์ชุมชนเมืองโบราณอู่ทองเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัด
สุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2546). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์.
Richards, G. (2010a). Creative Tourism and Local Development. In Wurzburger, R.
(Ed.).Creative Tourism A Global Conversation how to provide unique creative experiences
fortravelers worldwide: at present at the 2008 Santa Fe & UNESCO International
Conference on Creative Tourism in Santa Fe.(pp. 78–90). New Mexico. USA.
Wilson, T.M., & Donnan, H., (2002). Sinirlar: Kimlik, Ulus ve Devletin Uclari, (Borders: Frontiers
of Identity, Nation and State), Ankra: Utopya Yayinevi.