การวิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การท่องเที่ยวโลก แผนยุทธศาสตร์ และแผนพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอาเซียน ประเทศไทย สปป.ลาว วิเคราะห์บริบทการเชื่อมโยงระหว่างการท่องเที่ยวประเทศไทย-สปป.ลาว และเพื่อนำเสนอทิศทาง แนวโน้มการท่องเที่ยวสำหรับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชื่อมโยงประเทศไทย และสปป.ลาว โดยการศึกษาใช้วิธีการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ประกอบด้วย สถานการณ์การท่องเที่ยวโลก แผนยุทธศาสตร์ กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ และแผนพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอาเซียน ประเทศไทย สปป.ลาว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
- สถานการณ์การท่องเที่ยวโลกในภาพรวมจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 ส่วนประเทศภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิค มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างตลอดต่อเนื่อง ส่วนแนวโน้มการท่องเที่ยวโลก มีศักยภาพที่จะขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง และนักท่องเที่ยวให้ความสนใจการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ
- แผนยุทธศาสตร์ และแผนพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอาเซียนกำหนดให้อาเซียนเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวอาเซียนที่มีคุณภาพ โดยนำเสนอความหลากหลายผ่านประสบการณ์อาเซียนอันนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ และยั่งยืน มี 2 กลยุทธ์ ได้แก่ การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวปลายทางเดียว และการพัฒนาการท่องเที่ยวของอาเซียนอย่างยั่งยืน และเท่าเทียม
- ทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของ สปป.ลาว เน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เชื่อมโยงเข้ากับการท่องเที่ยวระดับประเทศในภูมิภาค และระดับสากล โดยใช้การท่องเที่ยวเพิ่มมูลค่าด้านเศรษฐกิจช่วยให้ประชาชนหลุดพ้นจากความยากจน ส่วนประเทศไทยกำหนดทิศทางของการท่องเที่ยวเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพชั้นนำของโลกที่เติบโตอย่างมีดุลยภาพบนพื้นฐานความเป็นไทย
- 4. ข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชื่อมโยงประเทศไทย และสปป.ลาว มี 5 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1) การพัฒนาสินค้า และบริการท่องเที่ยว 2) การตลาดการท่องเที่ยว และบริการ 3) การอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และการเชื่อมโยงคมนาคม 4) การค้า และการลงทุนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และบริการ 5) ระบบบริหารจัดการการท่องเที่ยว
Article Details
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). การศึกษาแนวโน้ม และทิศทางการท่องเที่ยวไทยในปี 2563. ค้นเมื่อ 20
มกราคม 2561, จาก: www.etatjournal.com/mobile/index.php/ menu-read-tat/menu-2015/
menu-22015/246-22015-scenario2020
กระทรวงการต่างประเทศ. (2561). ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาว ครั้งที่ 21.
วันที่ค้นเอกสาร 20 พฤษภาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.mfa.go.th
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). การศึกษาแนวโน้ม และทิศทางการท่องเที่ยวไทยในปี 2563. ค้นเมื่อ
มกราคม 2561, จาก: www.etatjournal.com/mobile/index.php/ menu-read-tat/ menu-
/menu-22015/246-22015-scenario2020
จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์, มาลี ไชยเสนา และสุวภัทร ศรีจองแสง. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยว
ชายแดนไทย-กัมพูชาบริเวณจังหวัดศรีสะเกษภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-
เจ้าพระยา-แม่โขง. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 7(1), 81-89.
ธนวัต ลิมป์พาณิชย์กุล. (2559). แนวทางการพัฒนาพื้นที่ด่านชายแดนบ้านฮวกเพื่อรองรับการท่องเที่ยว
ข้ามพรมแดน. รายงานการวิจัย: กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ประยุทธ์ จันทรโอชา. (2560). การประชุมสุดยอดสภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก ครั้งที่ 17. ค้นเมื่อ
มกราคม 2561, จาก: www.pptvthailand.com
เศกสรรค์ ยงวณิชย์. (2550). การศึกษาศักยภาพพื้นที่เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชายแดนไทย-ลาว:
กรณีศึกษาจังหวัดหนองคาย และนครหลวงเวียงจันทน์. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงาน
กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2519). ได้ศึกษาเรื่องการศึกษาเพื่อวางยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชื่อมโยงจังหวัด
อุบลราชธานีประเทศไทย ผ่านช่องเม็กไปยังแขวงจำปาสัก สปป.ลาว. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ:
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
สถานกงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะเขต. (2560). สถิตินักท่องเที่ยวไทย: สรุปสถิตินักท่องเที่ยวชาวไทย.
วันที่ค้นเอกสาร 20 พฤษภาคม 2561, เข้าถึงได้จาก www.thaisavannakhet.com/savannakhet/
th/data-service/static-thai/
Buhalis, D. (2000). Marketing the Competitive Destination in the Future. Tourism Management.
(1), 97-116.
Cohen, L. and Manion, L. (1994). Research Method in education. (4thed). New York: Routledge.
Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text (2nd ed.). Melbourne: Hodder Education.
Kotler, P., Bowne, J. and Makens, J. (1999). Marketing for Hospitality and Tourism (2nd ed.).
Upper Saddle Rever: Prentice Hall.
Porter, M. E. (1998). The Competitive Advantage of Nations. Retrieved January 20, 2018,
from http://dl1.cuni.cz/pluginfile.php/50387/mod_resource/content/0/Porter-
competitive-advantage.pdf
Scott, J. (1990). A Matter of Record: Documentary Sources in Social Research. Polity Press:
Cambridge
World Economic Forum. (2015). Travel and Tourism Competitiveness Index. The Travel
and Tourism Competitiveness Report 2015. Retrieved January 20, 2018, from
www.weforum.org/ttcr