แนวทางการพัฒนาและความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเมืองแฝดด้านการท่องเที่ยวของไทย

Main Article Content

teera sindecharak

บทคัดย่อ

การสถาปนาความสัมพันธ์เมืองแฝด นับเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือด้านต่าง ๆ ที่ 2 ประเทศมีความสนใจร่วมกัน อาทิ การท่องเที่ยว วัฒนธรรม การค้า การลงทุน การศึกษาและการสาธารณสุข/การแพทย์ ความสัมพันธ์ดังกล่าว อาจใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่สอดคล้องกับนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน  โดยจากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการจับคู่เมืองแฝดใน 2 เมือง ได้แก่ เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี – เมืองเฉิงตู มณฑลเฉิงตู ประเทศจีน และจังหวัดเลย – ประเทศลาว เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนร่วมกัน พบว่า ทั้ง 2 เมืองมีศักยภาพในการพัฒนาไปสู่การเป็นเมืองแฝดด้านการท่องเที่ยวได้ โดยอาศัยปัจจัยเชิงพื้นที่ อันเป็นลักษณะเฉพาะ รวมทั้งวิถีชีวิตที่เป็นลักษณะทางพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งเมืองที่จะสามารถเป็นเมืองแฝด/เมืองพี่เมืองน้องได้นั้น จำเป็นต้องมีความคล้ายคลึงกันในด้านต่าง ๆ เช่น ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ร่วม ประเพณี วิถีชีวิต/ความเป็นอยู่ หรือลักษณะเฉพาะ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ มะโนรมย์. (2552). พัฒนาการและการขยายตัวของเมืองชายแดน : กรณีศึกษาเมืองโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.
มงคล ฤทธิ์พรณรงค์. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ.วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หน้า 17.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2535) การศึกษาและทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ. กรุงเทพ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
ธีระ สินเดชารักษ์ และคณะ. (2561). โครงการศึกษาการสร้างความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระหว่างเมืองในรูปแบบเมืองแฝด (Twin Cities) ระดับนานาชาติ. กรุงเทพฯ: สนับสนุนโดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). หน้า 55-56. ปี พ.ศ.2561
----------------. (2561). โครงการศึกษาการสร้างความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระหว่างเมืองในรูปแบบเมืองแฝด (Twin Cities) ระดับนานาชาติ. กรุงเทพฯ: สนับสนุนโดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). หน้า 93-94. ปี พ.ศ.2561
----------------. (2561). โครงการศึกษาการสร้างความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระหว่างเมืองในรูปแบบเมืองแฝด (Twin Cities) ระดับนานาชาติ. กรุงเทพฯ: สนับสนุนโดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). หน้า 99-100. ปี พ.ศ.2561