อิทธิพลของนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนกับความเป็นปึกแผ่นของชุมชนท่องเที่ยว ในประเทศไทย: กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี

Main Article Content

Jariya Koment
Chalermchai Panyadee
Bongkochmas Ekiem
Suriyajaras Techatunminasakul

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนในประเทศไทยถึงการก่อเกิดและพลวัตรของนโยบาย และผลกระทบต่อความเป็นปึกแผ่นของชุมชน และเสนอกรอบแนวคิดการวิเคราะห์อิทธิพลของนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนต่อความเป็นปึกแผ่นของชุมชน โดยประเทศไทยมีนโยบายที่หลากหลายสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว รัฐบาลไทยที่ผ่านมาพยายามส่งเสริมในกิจกรรมการท่องเที่ยวและโครงการต่างๆ และพยายามนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับชุมชนในรูปแบบนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงชุมชน อย่างไรก็ตามผลของนโยบายดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบความสัมพันธ์ในชุมชนและอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งในชุมชน ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการพัฒนาของหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างชุมชนการท่องเที่ยวในประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)


ผลการวิจัยพบว่าประเทศไทยใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมานับกว่า 5 ทศวรษ เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวสู่ชุมชน ตลอดจนการแสวงหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ รัฐบาลจึงกำหนดให้มีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นพลวัตร โดยเริ่มจากยุคการท่องเที่ยวแบบมวลชน (Mass Tourism), การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Tourism), การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community based Tourism (CBT)) สู่การพัฒนาที่อะไรๆ ก็ท่องเที่ยวชุมชน
(All of thing is a Community Tourism) ผลจากการปรับเปลี่ยนนโยบายได้ส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐใช้เครื่องมือในการพัฒนาที่แตกต่างกัน และส่งผลให้ชุมชนมีการปรับตัวตามนโยบาย ในแต่ละพัฒนาการของนโยบายได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชน เพราะการท่องเที่ยวในชุมชนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงแบบแผนความสัมพันธ์ในชุมชน ทั้งในด้านของการเข้าถึงทรัพยากรในชุมชน และความช่วยเหลือจากภาครัฐ รวมถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจในการจัดการชุมชน เกิดความขัดแย้งในชุมชน ดังนั้นสิ่งที่ปรากฏจากงานวิจัยสะท้อนให้เห็นว่าพัฒนาการของชุมชนไม่เป็นไปตามหลักการของการท่องเที่ยวโดยชุมชน ผลของนโยบายส่งผลให้ชุมชนอ่อนแอ ไม่เข้มแข็ง และมีปัญหาด้านความเป็นปึกแผ่นของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chantavanich, S. 2012. Sociology Theory. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Chusongdate, R. 2012. Exploration and Sustainable Heritage Management in Pai-Pang Mapha- Khun Yuam Districts, Mae Hong Son Province. (Research report). Bangkok: The Thailand Research Fund.
Dokbua, K. 2008. Social Capital and The Existence of Rural Communities A Case Study of Tambon Bang Jao Cha Tourism Community Moo.8 Ban Yang Thong, Pho Thong, Ang Thong Province. Master of Science (Community Development), Bangkok: Thammasat University.
Landecker, Wener S. . 1951. Type of Integration and Their Measurement. The American Journal of Sociology,56(332 – 340).
Office of the Permanent Secretary. 2016. Tourism Economic Report. Bangkok: Ministry of Tourism and Sports, Thailand.
Panurat, A. 2006. Doctrine of Local Studies. Surin: Surindra Rajabhat University.
Sarobol, S. 2003. Community based Tourism: Concept and Expirence in Northern Area. Chiangmai: The Thailand Research Fund (Northern Office).
Sawasdipong, P. 2002. Émile Durkheim with Sociology. Bangkok: Faculty of Sociology and Anthropology, Thammasat University.
Sittikarn, B., Jaima, S. and Comesan, J. 2006. Socio-cultural Impacts of Tourism Development in Chiangrai Province, Thailand. (Research report). Bangkok: The Thailand Research Fund.
Suparatpreecha, v. 2010. Social and cultural impact of tourism in Wat Ket Community's, Chiang Mai Province. Master of Art (Cutural Management), Bangkok: Chulalongkorn University.
Community Based Tourism Institute. 2012. Increasing Communities based Tourism Management Capabilities. (Documentation Workshop). Khumphucome Hotel Chiangmai. (27-29 June 2012).
Turner, Jonathan H. 2007. The Structure of Sociological Theory. Homewood: The Dorsey Press.