การสำรวจการจ้างงานในภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทย กรณีศึกษาพื้นที่พิเศษในการท่องเที่ยวของ อพท.

Main Article Content

ธีระ สินเดชารักษ์
ปาณิศา วิชุพงษ์
อรอุมา เตพละกุล

บทคัดย่อ

การชี้วัดความสำเร็จเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะมิติทางด้านเศรษฐกิจ ไม่ใช่การประเมินจำนวนนักท่องเที่ยวหรือรายได้จากนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของหน่วยงานการท่องเที่ยวที่เน้นด้านการตลาด และไม่ใช่วิธีที่สรุปว่ารายได้นั้นไปถึงผู้ประกอบการ โดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ในฐานะเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวตัวจริงเป็นจำนวนเท่าไร และไม่ได้ป้องกันการ “รวยกระจุก จนกระจาย” ที่รายได้จากนักท่องเที่ยวไปกระจุกรวมกันอยู่ที่โรงแรมหรือ Tour Operator เพียงไม่กี่ราย ความสอดคล้องในเชิงนโยบายของรัฐบาลไทยที่ต้องการให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการ “แก้ไขปัญหาความยากจน” และ “ยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ” จึงควรชี้วัดไปที่ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวและ/หรือชุมชนเป็นสำคัญ ว่าเมื่อได้รับเงินจากการให้บริการนักท่องเที่ยวแล้ว มีการส่งต่อรายได้นั้นกลับสู่ท้องถิ่นเป็นจำนวนเท่าไร มีการจ้างแรงงานเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ รวมถึงการส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่นเข้ามาทำงานมากขึ้นหรือไม่เพื่อประเมินว่านโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน นำไปส่งเสริมสามารถเข้าไปช่วยสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้ชุมชน มีการกระจายรายได้กลับสู่ชุมชนอย่างเป็นธรรม ยั่งยืน


          บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับการจ้างแรงงานภาคการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษตลอดจนศักยภาพของแรงงานในพื้นที่พิเศษ ขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) เช่น จำนวนแรงงานภาคการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ การศึกษาของแรงงาน คุณภาพในปัจจุบัน ความต้องการด้านคุณภาพของแรงงานในมุมมองผู้ประกอบการ เป็นต้น อันจะนำไปสู่การให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษจากการพัฒนาด้านแรงงานภาคการท่องเที่ยว จากการรวบรวมข้อมูลจาก 6 พื้นที่พิเศษ พบว่า ในปี พ.ศ.2560 ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษที่ได้รับการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกับ อพท. มีการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น และมีการเติบโตของอัตราแรงงานจากชุมชนท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2559 ซึ่งแตกต่างจากธุรกิจการท่องเที่ยวภาพรวมในพื้นที่พิเศษที่มีการจ้างงานและมีจำนวนแรงงานท้องถิ่นในปี พ.ศ.2560 ลดลงจากปีก่อน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (29 กรกฎาคม 2560). ยุทธศาสตร์และนโยบาย. เข้าถึงได้จาก กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา: https://www.mots.go.th/ewt_news.php?nid=317&filename=index
คณะกรรมการธิการการศึกษา วุฒิสภา. (14 มีนาคม 2560). แนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซีน. เข้าถึงได้จาก วุฒิสภา: https://www.senate.go.th/w3c/senate/spaw2/uploads/files/28-02-57%20%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
จงจิตต์ ฤทธิรงค์, และ รีนา ต๊ะดี. (2558). ข้อท้าทายในการผลิตแรงงานฝีมือไทยเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ความหลากหลายทางประชากรและสังคมในประเทศไทย ณ ปี 2558 (หน้า 129-147). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธนวัต ลิมป์พาณิชย์กุล. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อรองรับ AEC. จุลสารวิชาการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(1/2557), 65.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2556). ตลาดแรงงานไทยและบทบาทในการสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจไทย. กรุงเทพมหานคร: ธนาคารแห่งประเทศไทย.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2558). กระบวนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันและทิศทางข้างหน้า: วิเคราะห์จากมุมมองตลาดแรงงาน. กรุงเทพมหานคร: ธนาคารแห่งประเทศไทย.
ธีระ สินเดชารักษ์. (2558). สถิติประยุกต์: ปฐมบทแห่งการวิจัยทางสังคม. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธีระ สินเดชารักษ์, วิชาญ กิตติรัตนพันธ์, จุฑาศินี ธัญปราณีตกุล, และ อรอุมา เตพละกุล. (2559). โครงการประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
ศรีสมรัก อินทุจันทร์ยง, ลัดดาวัลย์ แก้วกิติพงษ์, และ ปิเตอร์ รักธรรม. (2557). การศึกษาโซ่อุปทานและตัวแบบข้อมูลในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย. สุทธิปริทัศน์(85), 352-370.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย. (25 กรกฎาคม 2017). คิดยกกำลังสอง: เรื่องโกหก...ถึงพิการก็มีงานทำ. เข้าถึงได้จาก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย: https://tdri.or.th/2017/07/thinkx2-206/
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (16 มีนาคม 2015). การเตรียมความพร้อมบุคลากรท่องเที่ยวไทย (ตอนที่ 2). เข้าถึงได้จาก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย: https://tdri.or.th/2015/03/preparedness-labor-travel-in-thai/
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สรุปผลที่สำคัญ การทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการประมาณค่า. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ. เข้าถึงได้จาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (29 กรกฎาคม 2560). วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย. เข้าถึงได้จาก องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน): https://www.dasta.or.th/th/aboutus/about-plans/about-vision
Allan, C., & Sue, H. (1997). Principler of Tourism. Auckland: Longman.
Aurathai Lertwannawit, Siroj Pholpantin, & Sirivan Serirat. (2009). Career Competencies and Career Success of Thai Employees in Tourism and Hospitality Sector. International Business and Economics Research Journal(8), 65-75.
Benita, M.B. (1998). Supply Chain Design and Analysis: Models and Methods. International Journal of Production Economics(3), 281-294.
Faith, N.Z., Lindie, D.P, & Elmarie, S. (2014). Analyzing Employer’s Expectations of Employee Skills in the South Africa Tourism Industry. South Africa Journal of Human Resource Management, 1-9.
Global Sustaiable Tourism Council (GSTC). (29 July 2017). gstc criteria. เข้าถึงได้จาก gstcouncil.org: https://www.gstcouncil.org/gstc-criteria/
Richard, T. (2004). Tourism Supply Chains. The Travel Foundation.
United Nations Statistics Division (UNSD), The Statistical Office of the Eropena Communities (EUROSTAT), The Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) and The World Tourism Organization (UNWTO). (26-29 February 2008). 2008 Tourism Satellite Account: Recommended Methodological Framework (TSA: RMF 2008). New York, New York, United State fo America.
Xinyan, Z., & George, Q.H. (2009). Tourism Supply Chain Management: A New Research Agenda. Tourism Management(30), 345-358.