การพัฒนานักสื่อความหมายท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ในอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี Local Interpreters Development for Tourism Enhancement in Donsak District, Suratthani Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บริบทชุมชน ค้นหาเรื่องเล่า พัฒนานักสื่อความหมายท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว และสร้างเกณฑ์มาตรฐานในการสร้างนักสื่อความหมายดังกล่าวในอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง สมาชิกชุมชนร่วมกันเก็บแบบสอบถามกับนักท่องเที่ยว สืบค้นเรื่องเล่า ร่างหลักสูตร กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการสร้างนักสื่อความหมาย และพัฒนาเป็นนักสื่อความหมายดังกล่าว
ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนปากดอนสัก เกาะแรต และเกาะนกเภามีวิถีชีวิตชาวประมง ส่วนเขากลอยมีวิถีชีวิตชาวสวน ซึ่งทุกชุมชนมีทรัพยากรทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่งดงาม แต่ยังขาดความพร้อมอีกหลายด้าน โดยมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพลังศรัทธาตามวิถีชาวมอญ เขาชะโงก: พลังศรัทธาและความลี้ลับที่น่าพิศวงแห่งแดนใต้ การหยั่งรากความเชื่อของวิถีชาวจีน และพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่ของสมเด็จย่าและความศรัทธาต่อศาลเจ้า ผู้เข้ารับการพัฒนาเป็นนักสื่อความหมายมี 25 คน โดยหลักสูตรการสร้างนักสื่อความหมาย ประกอบด้วย ความรู้ทางวิชาการและเฉพาะอาชีพ และการฝึกปฏิบัติการสื่อความหมาย ซึ่งนักสื่อความหมายมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เบื้องต้น ได้แก่ รักในถิ่นฐาน รอบรู้ รังสรรค์ รอยยิ้ม ร่วมมือ รับมือ รับผิดชอบ และเรียนรู้ ส่วนมาตรฐานการสร้างนักสื่อความหมาย ประกอบด้วย ความรู้ 7 ตัวชี้วัด และทักษะการปฏิบัติงาน 6 ตัวชี้วัด
Article Details
References
กรมการท่องเที่ยว. (2557). รายงานการสำรวจสัดส่วนพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศปี 2557 (มกราคม ถึง ธันวาคม). กรุงเทพมหานคร: กรมการท่องเที่ยว.
กรรณิกา พิมลศรี. (2553). การพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนาการท่องเที่ยว สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา.
แก้วตา มุ่งเกษม และสมพงษ์ อำนวยเงินตรา. (2558). การสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทางประวัติศาสตร์ ทางวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: วี.ที.เค. พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2559). เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย. ม.ป.ส.
ชัยศนันท์ สมปัญญาธิวงศ์ และเอื้องไพร วัลลภาชัย. (2559). “การศึกษาความพร้อมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งบ้านตูบค้อ ตำบลกกสะทอน จังหวัดเลย” วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2(3): 10-24.
จารุวรรณ ธนะกิจ. (2556). รูปแบบการสื่อความหมายสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษา วัดพะโคะ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นิทัศน์ วงศ์ธนาวดี. (2558). การสื่อความหมายทางวัฒนธรรมภายใต้โครงการจากงานวิจัยสู่อุทยานการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารงานวัฒนธรรม วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประกอบศิริ ภักดีพินิจ. (2553). ศักยภาพการสื่อความหมายทางการท่องเที่ยวชุมชน: ชุมชนบ้านร่องไฮ จังหวัดพะเยา. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(2): 82-90.
พัสตร์ หิรัญญการ. (2554). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม. การศึกษาอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ประกาศคณะกรรมการธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ เรื่อง หลักสูตรฝึกอบรมวิชามัคคุเทศก์ สําหรับผู้นําเที่ยว พ.ศ.2561. กรุงเทพมหานคร: ราชกิจจานุเบกษา.
ศิริจรรยา ประพฤติกิจ. (2553). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดตราด เพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวางแผนการการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมาคมอิโคโมสไทย. (2550). กฎบัตรอิโคโมสไทยว่าด้วยการอนุรักษ์และบริหารจัดการโบราณสถานและมรดกวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง (ร่างขั้นต้น 15/09/2550). กรุงเทพมหานคร: สมาคมอิโคโมสไทย.
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. (2551). มาตรฐานธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ปี 2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว.
สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย. (2557). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย พ.ศ.2557-2560 (ฉบับทบทวน). สุราษฎร์ธานี: สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย.