The Development Guidelines of Health Tourism in Phuket to Become a Medical Hub

Main Article Content

ณารีญา วีระกิจ
ชัยนันต์ ไชยเสน
พุทธพร อักษรไพโรจน์
ศศิธร สนเปี่ยม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) สำรวจสถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดภูเก็ต (2) วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดภูเก็ต (3) วิเคราะห์โอกาสและความท้าทายในการเชื่อมโยงการบริการทางการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์กับการบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระหว่างผู้ประกอบการในจังหวัดภูเก็ต เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ตัวแทนผู้ประกอบการเชิงการแพทย์ และผู้ประกอบการธุรกิจบริการสุขภาพแบบองค์รวม ที่มีศักยภาพสูงในการให้บริการเชิงสุขภาพแบบองค์รวมในจังหวัดภูเก็ต คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาแบบบรรยาย


                   ผลการศึกษาพบว่า (1) นักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของจังหวัดภูเก็ตส่วนใหญ่มาจากประเทศออสเตรเลีย  จีน  รัสเซีย และตะวันออกกลาง นิยมใช้บริการผ่านบริษัทตัวแทนเชิงการแพทย์ (Medical Agent) (2) จุดแข็งของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดภูเก็ต คือ ตั้งอยู่ในทำเลที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมระดับโลก ราคาและคุณภาพบริการที่ความเหมาะสม มีโรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐานรับรองระดับสากล (JCI) มีความปลอดภัยและมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและโปรแกรมการบริการที่หลากหลาย จุดอ่อนที่สำคัญคือ บุคลากรที่ดูแลการตลาดยังขาดความรู้ ความเข้าใจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อีกทั้ง ขาดแคลนบุคลากรที่มีความเข้าใจการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (3) ผู้ประกอบการบริการเชิงการแพทย์สนใจสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อการเชื่อมโยงการบริการด้านที่พักเพื่อสุขภาพ บริการสปา และบริการเชิงสุขภาพแบบองค์รวมเพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันในตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดภูเก็ต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2558). “กรมสบส.ขับเคลื่อนนโยบาย Medical Hub ไร้รอยต่อมุ่งสู่เมืองแห่งสุข
ภาวะ ชูความเป็นเลิศด้านบริการสุขภาพ”. เข้าถึงเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2562. เข้าถึงได้จาก https://www.thailandmedicalhub.net:8443 /display_news.jsp?id=N00000002198.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ
(MEDICAL HUB) (พ.ศ.2560 - 2569). เข้าถึงเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2562. เข้าถึงได้จาก https://203.157.7.120/fileupload/2560-102.pdf.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2553). การสำรวจพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
กลุ่มสุขภาพความงาม (Spa and Wellness). เข้าถึงเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2562. เข้าถึงได้จาก https://www.etatjournal.com/web/ menu-download-zone/14-cate-download-zone/cate-dl-executive-summary/471-dl-2553-spa-wellness.
เข็มทิศท่องเที่ยว. (2561). ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพเมื่อใคร ๆ ก็อยากอายุยืน. เข้าถึงเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2562. เข้าถึง
ได้จาก https://intelligencecenter.tat.or.th/articles/10612.
จิระวดี คุณทรัพย และ ชัชฎารัชช กุลาหงส์. (2551). สถานการณและการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของ
ประเทศไทย. เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2562. เข้าถึงได้จาก eTAT Tourism Journal จุลสาร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประจำไตรมาสที่ 4/2551 (ตุลาคม-ธันวาคม 2551).
ณัฐพล ลีลาวัฒนาพันท์. (2559). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) รายงานภาวะเศรษฐกิจ
ท่องเที่ยว ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม – มีนาคม 2559. เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2562. เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/ ewt_ dl_ link. php?nid=7622.
วรินทรา ศิริสุทธิกุล และคณะ. (2557). ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ให้บริการด้านสุขภาพของไทยเพื่อการพัฒนาศูนย์สุขภาพองค์รวมต้นแบบสู่ตลาดอาเซียน. เข้าถึงเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2562. เข้าถึงได้จาก https://kids-d.swu.ac.th/dspace/bitstream/ 123456789/1994/1/oct.pdf.
ศิขริน เจนเจริญวงศ์. (2552). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของประเทศไทย (Medical Tourism
Strategies for Thailand). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการบริการและการท่องเที่ยว (หลักสูตรนานาชาติ) คณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). โครงการสำรวจข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์
พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงลึก. เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2562. เข้าถึงได้จากhttps://tatreviewmagazine.files.wordpress.com /2017/09/db_tune-in.pdf.
ศศิพงษ์ บุญยงค์. (2015). MEDICAL TOURISM: เที่ยวเทรนด์ใหม่ เที่ยวเชิงสุขภาพ. เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม
2562. เข้าถึงได้จาก https://horizon.sti.or.th/node/5.
สำนักประสานและบริหารโครงการ (ปบ.) (2556). การส่งเสริมคลัสเตอร์ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เพื่อเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของเอเชีย (ระยะที่ 2). เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม 2562. เข้าถึงได้จาก.https://www.sme.go.th/SiteCollectionDocuments/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/jun-2556/18.%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0 %B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A11-%E0%B8%97%E0%B9%88%E0% B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C2(%E0%B8%9B%E0%B8%9A.).pdf.
C9 Hotelworks (2016). Phuket Medical Tourism Market February 2016. Access 10 March 2019. Available from https://www.c9hotelworks.com/downloads/phuket-medical-tourism-market-2016-02.pdf.
Danell and Mugomba. (2006). Medical Tourism and its Entrepreneurial Opportunities
- A conceptual framework for entry into the industry. Access 10 March 2019. Available from https://gupea.ub .gu.se/bitstream/2077/4671/1/2006_91.pdf.
Global Spa Summit. (2011). Wellness Tourism and Medical Tourism: Where do Spas Fit?. Access 10 March 2019. Available from https://www.globalwellnesssummit.com/images/ stories/pdf/spas_wellness_medical_tourism_report_final.pdf.
Global Wellness Institute. (2018). 2018 Global Wellness Tourism Economy. Access 10 March
2019. Available from https://globalwellnessinstitute.org/industry-research/global-wellness-tourism-economy/.
Vanida Toonpirom. (2019). Wellness Tourism New Strategies for Tourism. Access 10 March 2019.
Available from https://gotomanager.com/content/wellness-tourism- New Strategies for Tourism.