ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดกระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาความต้องการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดกระบี่ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความต้องการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มของผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่ และวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดกระบี่ โดยมีประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ธุรกิจโรงแรมในจังหวัดกระบี่ เนื่องจากเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการประยุกต์ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินธุรกิจ โดยเก็บข้อมูลด้วยการประชุมกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาวมากที่สุด มีห้องพักเฉลี่ย 38.65 ห้อง อัตราการเข้าพักเฉลี่ยร้อยละ 69.81 และมีอายุเฉลี่ยของธุรกิจ 8.81 ปี หรือ 8 ปี 9 เดือน 21 วัน โดยธุรกิจโรงแรมประมาณร้อยละ 79.28 มีการดำเนินการด้านออนไลน์ ซึ่งมากกว่าครึ่งนำไปใช้ในด้านการตลาด และการขายมากที่สุด ซึ่งธุรกิจโรงแรมส่วนใหญ่เชื่อว่าการประยุกต์ใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มมีความน่าสนใจและมีประโยชน์ โดยการพัฒนาข้อมูลเพื่อสื่อสารออนไลน์ของธุรกิจจะมีความสัมพันธ์ต่อความต้องการเชื่อมต่อกับระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมถึงถึงผู้ที่มีการดำเนินการออนไลน์แล้วจะมีทัศนคติที่ดีต่อดิจิทัลแพลตฟอร์มและมีความต้องการเชื่อมต่อกับดิจิทัลแพลตฟอร์ม ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการพัฒนา คือ ความง่ายและสะดวกในการใช้งาน
Article Details
References
ชูศักดิ์ ชูศรี และสุวารี นามวงค์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะของโรงแรมขนาดเล็ก: กรณีศึกษาเกาะสมุย เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 12(1), 91 – 118.
ชัยนันต์ ไชยเสน. (2559). ประเด็นท้าทายและแนวทางประสบความสำเร็จในการควบคุมต้นทุนอาหารและเครื่องดื่มในธุรกิจโรงแรม. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 12(1), 23 - 45.
ดารารัตน์ โฆษิตพิพัฒน์. (2552). การพัฒนากลยุทธ์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, 2(1), 14 – 27.
ธงไชย สุรินทร์วรางกูร. (2554). การวิเคราะห์หาแนวทางเพื่อพัฒนาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ธาดาธิเบศร์ ภูทอง. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเว็บไซต์สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการแบ่งปันข้อมูลประสบการณ์การท่องเที่ยว. วารสาร Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 2077 – 2099.
นิตยสารแบรนด์เอจ. (2561). วันที่เอไอเอส สวมบท Digital Platform for Thailand. เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.brandage.com/article/3653/AIS-Digital-Platform-for-Thailand
ฤทัยกาญจน์ อินทร์แพง. (2556). คอลัมน์: โลกเทคโนโลยี 4 เทคโนโลยีใหม่สู่ AEC. โลกวันนี้วันสุข. 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556. เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://library.dip.go.th/multim5/News/2556/N07666.pdf
พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2558). การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วศิน เพชรพงษ์พันธ์. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 14(1), 1 – 16.
ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย. (2556). การปรับใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับความก้าวหน้าของการท่องเที่ยวอิเล็กทรอนิกส์ไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 36 (139), 12 – 26.
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2547). สถิติธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพียร์สันอินโดไชน่า จำกัด.
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์และสุชาติ ฉันสำราญ. (2546). การรับรู้เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจการท่องเที่ยวในภาคใต้. วารสารสงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 9(1), 33-49.
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ และสุชาติ ฉันสำราญ. (2557). ศึกษาศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวต่อการสร้างรายได้ในพื้นที่ภาคใต้. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์, สมจินตนา คุ้มภัย, ปิยะ ปานผู้มีทรัพย์, สุชาติ ฉันสำราญ, และวิลาวัณย์ ดึงไตรย์ภพ. (2558). ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาดและพฤติกรรมนักท่องเที่ยว จังหวัดกระบี่.รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิสก์. (2556). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. เข้าถึงเมื่อ11 พฤศจิกายน 2561 เข้าถึงได้จาก https://www.etcommission.go.th/article-other-topic-travel-ecommerce.html
Ajzen, I. (1991). The Theory of Planned Behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50 (2), 179-211.
Buhalis, D. (1998). Strategic Use of Information Technologies in the Tourism Industry. Tourism Management, 19(5), 409-421.
de Reuver, M., Sørensen, C. and Basole, R.C. (2017) The digital platform: a research agenda. Journal of Information Technology, 33(2), 124-135.
David, M. and Sutton, C.D. (2004). Social Sciences: The Basics. London: Sage Publications.
Johnson, P.A. (2003) Exploring the Ecological Footprint of Tourism in Ontario. Unpublished Doctoral Dissertation, University of Waterloo, Ontario.
Mcintosh, A.J. and Prentice, C. (1999). Affirming authenticity: Consuming cultural heritage. Annals of Tourism Research, 26, 589-612.
Mcintosh, A.J. and Siggs, A. (2010). Dimensions of Cruisers’ Experiences, Satisfaction, and Intention to Recommend. Journal of Travel Research, 49, 351-364.
Nair, I. and Das, V.M. (2012). Using Technology Acceptance Model to assess teachers' attitude towards use of technology as teaching tool: a SEM Approach. International Journal of Computer Applications, 42(2), 1 – 6.
Organization for Economic Co-operation and Development (OECD). (2000). Realizing the Potential of Electronic Commerce for SMEs in the Global Economy, Conference for Ministers responsible for SMEs and Industry Ministers. Italy.
Patterson, T.M., Niccolucci, V. and Bastianoni, S. (2007). Beyond “More Is Better: Ecological Footprint Accounting for Tourism and Consumption in Val di Merse, Italy. Ecological Economics, 62, 747-756.
Weng, F., Yang, R.J., Ho, H.J., and Su, H.M., (2018). A TAM-Based Study of the Attitude towards Use Intention of Multimedia among School Teachers. Applied System Innovation, 36(1), 1 – 9.
World Tourism Organization. (2001). E-business for Tourism, Practice Guideline for Tourism Destination and Business.