การศึกษาผลการเรียนรู้ทฤษฎีการประสานเสียง โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ ของนิสิตดุริยางคศาสตร์สากล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้แต่ง

  • ฌานิก หวังพานิช สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การเรียนแบบร่วมมือ ผลการเรียนรู้, ความพึงพอใจ, ทฤษฎีการประสานเสียง

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งการทดลองโดยใช้แบบแผนการวิจัยที่พัฒนาจากแผนการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดลองก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ทฤษฎีการประสานเสียงที่เรียนโดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ และศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนแบบร่วมมือในวิชาทฤษฎีการประสานเสียง กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตดุริยางคศาสตร์สากล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาทฤษฎีการประสานเสียง 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เครื่องมือทดลอง ได้แก่ แผนจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือวิชาทฤษฎีการประสานเสียง และเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทฤษฎีการประสานเสียง แบบทดสอบวัดความคงทนในการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนแบบร่วมมือในวิชาทฤษฎีการประสานเสียง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.81, 0.83, 0.87, 0.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และเปรียบเทียบผลการเรียนรู้โดยใช้ t-test แบบ Dependent Sample และ t-test แบบ One-Sample ด้วยโปรแกรม SPSS Statistics 22.0
        ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตดุริยางคศาสตร์สากลที่เรียนทฤษฎีการประสานเสียงโดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทฤษฎีการประสานเสียงสูงขึ้นทั้งรายบุคคลและโดยรวมสูงขึ้น 2) นิสิตดุริยางคศาสตร์สากลที่เรียนทฤษฎีการประสานเสียงโดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทฤษฎีการประสานเสียงผ่านเกณฑ์ระดับดี 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทฤษฎีการประสานเสียงของนิสิตดุริยางคศาสตร์สากลหลังการเรียนโดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเมื่อเรียนจบบทเรียนไปแล้ว 4 สัปดาห์ มีคะแนนไม่แตกต่างกัน ซึ่งแสดงถึงมีความคงทนในการเรียนรู้ 4) นิสิตดุริยางคศาสตร์สากลที่เรียนโดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือมีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มในระดับดี และ 5) นิสิตดุริยางคศาสตร์สากลมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนแบบร่วมมือในวิชาทฤษฎีการประสานเสียงในระดับมาก

References

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนัก
พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา: หลักการและสาระสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2557). การศึกษาเพื่อสร้างชุดการสอนคีย์บอร์ดเบื้องต้นโดยใช้วิธีการของโคดาย. วารสารสถาบันวัฒนธรรม
และศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 16 ฉบับที่ 1(31) กรกฎาคม-ธันวาคม. หน้า 68-79.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และ สุภาพ ฉัตราภรณ์. (2543). การออกแบบการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรรณทิพา รอดแรงค้า. (2540). Constructivism. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศุภศิริ โสมาเกตุ. (2544). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการเรียนรู้โดยโครงงานกับการเรียนรู้ตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์. กศ.ม.(หลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม:
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2561, จาก http://newtdc.thailis.or.th/
สุมณฑา พรหมบุญ. (2541). การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม: การปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวคิด 5 ทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โอเดียนสแคว์.
Colwell, R.J. & Wing, L. (2004). An Orientation to Music Education: Structural Knowledge for Music Teaching. USA:
Prentice Hall.
Johnson, R.T. & Johnson, D.W. (1994). An Overview of Cooperative Learning. In J.S. Thousand, R.A. Villa & A.I. Nevin
(Ed.). Creativity and Collaborative Learning. 31-34. Baltimore: Paul H. Brookes Publishing.
Johnson, D.W. Johnson, R.T. & Smith, K.A. (2009). Cooperative Learning: Improving University Instruction by Basing
Practice on Validated Theory. Journal on Excellence in University Teaching. Vol.25 No.3-4. pp.85-118.
Kostka, S. & Payne, D. (2009). Tonal Harmony with an Introduction to Twentieth-Century Music. New York: McGraw-Hill
Higher Education.
Leonhard, C. & House, W.H. (1972). Foundations and Principles of Music Education. USA: McGrew-Hill Book.
Millis, B.J. & Cottell, P.G. (1998). Cooperative Learning for Higher Education Faculty. USA: American Council on
Education on Oryx Press.
Slavin, R.E. (1995). Cooperative Learning. Boston: Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28