การศึกษาผลกระทบของรูปแบบเครื่องแต่งกายต่อความพึงพอใจของพนักงาน: กรณีศึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
คำสำคัญ:
รูปแบบเครื่องแต่งกาย, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การศึกษาผลกระทบของรูปแบบเครื่องแต่งกายต่อความพึงพอใจของพนักงาน :กรณีศึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ” เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล เก็บข้อมูลจากข้าราชการตำรวจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมจำนวนทั้งหมด 307 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในเชิงสถิติเพื่อศึกษาผลกระทบของรูปแบบเครื่องแต่งกายต่อความพึงพอใจในการทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาถึงระดับความพึงพอใจของข้าราชการตำรวจในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องแบบกับความพึงพอใจของข้าราชการตำรวจในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อเป็นข้อมูลให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการพิจารณาแนวทางในการออกแบบเครื่องแต่งกายของข้าราชการตำรวจในอนาคต ผลการวิจัยพบว่าระดับความพึงพอใจในการทำงาน มีระดับความพึงพอใจในการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ย 3.92 คิดเป็นร้อยละ 78.40 พบว่าระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบเครื่องแต่งกายของข้าราชการตำรวจ ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ย 3.51 คิดเป็นร้อยละ 70.20 เมื่อพิจารณารายปัจจัยพบว่า ความพึงพอใจต่อรูปแบบเครื่องแต่งกายของข้าราชการตำรวจ ด้านการแสดงสถานภาพทางสังคม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ 3.73 คิดเป็นร้อยละ 74.60 รองลงมาคือ ด้านการใช้เพื่อเป็นเครื่องดึงดูด ค่าเฉลี่ย 3.49 คิดเป็นร้อยละ 69.80 ในขณะที่ด้านการห่อหุ้มร่างกาย มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ 3.29 คิดเป็นร้อยละ 65.80
พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงาน และความพึงพอใจต่อรูปแบบเครื่องแต่งกายของข้าราชการตำรวจในภาพรวมยืนยันได้ว่า ปัจจัยทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าความสัมพันธ์อยู่ที่ 0.558 แสดงว่ามีความสัมพันธ์กันปานกลาง พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานและความพึงพอใจต่อรูปแบบเครื่องแต่งกายของข้าราชการตำรวจ แยกรายปัจจัยพบว่า ทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจต่อรูปแบบเครื่องแต่งกายของข้าราชการตำรวจ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานในภาพรวม โดยปัจจัยด้านการแสดงสถานภาพทางสังคมมีความสัมพันธ์กับความ พึงพอใจในการทำงานมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการใช้เพื่อเป็นเครื่องดึงดูด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานในภาพรวมน้อยที่สุดคือ ปัจจัยด้านการห่อหุ้มร่างกาย พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างระดับความพึงพอใจในการทำงานกับปัจจัยด้านต่างๆ ของความ พึงพอใจต่อรูปแบบเครื่องแต่งกายของข้าราชการตำรวจ พบว่าค่า VIF ของปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานมีค่าน้อยกว่า 10 และ ค่า Tolerance มีค่ามากกว่า 0.2 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ แสดงว่ากลุ่มองค์ประกอบไม่เกิดปัญหาทางความสัมพันธ์กันเองของตัวแปร รูปแบบเครื่องแต่งกายของข้าราชการตำรวจเพียงด้านเดียวเท่านั้นที่สามารถพยากรณ์ความพึงพอใจในการทำงานได้ ซึ่งได้แก่ ด้านการแสดงสถานภาพทางสังคม โดยระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบเครื่องแต่งกายของข้าราชการตำรวจ ด้านการแสดงสถานภาพทางสังคมเพิ่ม 1 ระดับจะส่งผลให้ระดับความพึงพอใจในการทำงานที่เพิ่มขึ้น 0.662 ระดับ
Downloads
References
กังวาน ยอดวิศิษฎ์ศักดิ์ และรัตน์ติญา อยู่เย็น. (2559), “ความผูกพันต่อระบบราชการของข้าราชการพลเรือน สามัญ (Thai Civil Servants’ Engagement to the Public Sector)”, สำนักงาน ก.พ.
กังวาน ยอดวิศิษฎ์ศักดิ์ และรัตน์ติญา อยู่เย็น. (2560), “ความผูกพันต่อระบบราชการของข้าราชการพลเรือน สามัญในกลุ่มกำลังคนคุณภาพ (The Study on the Engagement of Thai Civil Servant : A Case Study in Talented Officer)”, สำนักงาน ก.พ.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2543). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขและเพิ่มเติม) กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิธิ ปิยะพันธุ์ ทองฟู ศิริวงศ์ พิทวัส เอื้อสังคมเศรษฐ์. (2560). ความพึงพอใจในการทำงานและบรรยากาศองค์การที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการตำรวจ กองบัญชาการตำรวจนครบาล. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(2), 153-162.
พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547, (2547, 14 กุมภาพันธ์) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 121 ตอนที่ 18 ก หน้า 3.
พระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ พ.ศ. 2477, (2478, 5 พฤษภาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 51 ตอนที่ 480 หน้า 480-496.
Bailey, C., & Madden, A. (2017). Time reclaimed: Temporality and the experience of meaningful work. Work, Employment and Society, 31(1), 72-89. Retrieved from https://doi.org/10.1177/0950017015624390
Currie, D. (2003). Managing employee well-being. (2nd ed.). London: Spiro Press.
Deci, E. L., & Ryan, R. M. (2008). Self-Determination Theory: A macrotheory of human motivation, development, and health. Canadian Psychology/Psychologie Canadienne, 49(3), 182-185. Retrieved from https://doi.org/10.1037/a0012801
Hofstede, G. (1984). The Cultural Relativity of the Quality of Life Concept. The Academy of Management Review, 9(3), 389-398. Retrieved from https://doi.org/10.2307/258280
Hofstede, G. (2011). Dimensionalizing Cultures: The Hofstede Model in Context. Online Readings in Psychology and Culture, 2(1), 8-10. Retrieved from https://doi.org/10.9707/2307-0919.1014
Komin, S. (1990). Culture and work-related values in Thai organizations. International Journal of Psychology, 25(3-6), 681-704. Retrieved from https://doi.org/10.1080/00207599008247921
McCoy, S., D. F. Galletta & W. R. King. 2007. “Applying TAM across Cultures: The Need for Caution.” European Journal of Information Systems, 16, 81-90.
Laver, James.(2002). Costume and Fashion: A Concise History (World of Art) New York: Thames & Hudson.
Lee, S., & Van Rensselaer, C. (2019). Dress for success: The impact of employee appearance on customer perceptions. Journal of Business Research, 103, 341-348. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.jbusres.2018.08.032
Schneider, S. K., Smith, D. B., & Paul, L. (2021). The effect of uniform on organizational identity and job satisfaction: A meta-analytic review. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 164, 187-202. https://doi.org/10.1016/j.obhdp.2020.07.004
Tsui, A. S., Nifadkar, S. S., & Ou, A. Y. (2007). Cross-national, cross-cultural organizational behavior research: Advances, gaps, and recommendations. Journal of Management, 33(3), 426-478. Retrieved from https://doi.org/10.1177/0149206307300818
van der Lugt, R., Kortmann, R., & Verbeek, P. (2020). Adaptive clothing design: Enhancing comfort and usability in extreme environments. Design Studies, 71, 1-22. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.destud.2019.11.001
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ