การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นปลาตะเพียนสานใบลาน แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
วิสาหกิจชุมชน, ปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตร, ภูมิปัญญาท้องถิ่นบทคัดย่อ
การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นปลาตะเพียนสานใบลาน แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นวิสาหกิจชุมชนปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตรและนำมาสร้างสื่อ
วีดิทัศน์ “วิสาหกิจชุมชนปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตร” เผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย คือ เอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนา การสังเกตการณ์ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนสามัคคีธรรมมีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้นมาเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า ชื่อเต็มว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาตะเพียน ฉลุไทยลายวิจิตร เพื่อดำเนินกิจกรรม การผลิต การแปรรูปโดยมีภูมิปัญญาทางชุมชนเป็นแนวทาง และใช้ทุนทางสิ่งแวดล้อม ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางสังคมของชุมชน นำไปสู่การพึ่งตนเองและการเพิ่มรายได้ให้ชุมชน ผลิตภัณฑ์ปลาตะเพียนสาน โดยนำใบลานมาสานเป็นรูปปลาตะเพียน และตกแต่งเป็นลวดลายฉลุที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีสีสัน สวยงาม มีความประณีตงดงาม ลูกค้าของกลุ่มแบ่งออกเป็นลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติที่สั่งสินค้าครั้งละจำนวนมาก เพื่อนำไปประดับตกแต่งสถานที่ ได้แก่ โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร เป็นต้น ผลงานของคุณณัฐธร แดงสีพล ผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตรมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่จนได้ชื่อว่าปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตร จนเกิดเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ และเพื่อสร้างสื่อวีดิทัศน์ “วิสาหกิจชุมชนปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตร” เผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ โดยการเล่าเรื่องโดยใช้ภาพเคลื่อนไหวทำหน้าที่หลักในการนำเสนอเนื้อเรื่องหรือเรื่องราวต่าง ๆ มีเสียงเข้ามาช่วยเสริมในส่วนของภาพเพื่อสื่อความหมาย
สร้างความเข้าใจ สร้างความรู้สึกใกล้ชิดกับผู้ชม
Downloads
References
บุญส่ง เรศสันเทียะ. (2553). ปลาตะเพียนใบลาน : ศิลปะและภูมิปัญญาชาวบ้านในจังหวัดพระนครศรีอยุธยากับความอยู่รอดในระบบการตลาดแบบเสรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐประศาสนศาสตร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปรีชา อุยตระกูล. (2531). รายงานการวิจัยเรื่องบทบาทของหมอพื้นบ้านในสังคมชนบทอีสาน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ และพิทยา ว่องกุล. (2552). วิสาหกิจชุมชน : กลไกเศรษฐกิจฐานราก. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรส โปรดักส์.
ณัฐธร แดงสีพล. ผู้ก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตร แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. สัมภาษณ์, 21 สิงหาคม 2565.
นงค์นุช ธนะรุ่งเรือง. อดีตประธานชุมชนสามัคคีธรรม และผู้มีความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตและสินค้า OTOP ชุมชนสามัคคีธรรม แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. สัมภาษณ์, 21 สิงหาคม 2565.
วิชิต นันทสุวรรณ. (2544). แผนแม่บทการพัฒนาวิสาหกิจ. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์.
สมจินตนา จิรายุกล วินัยธร วิชัยดิษฐ์ และวรรณา โพธิ์ผลิ. (2560,มกราคม-มิถุนายน). “การพัฒนาการดำเนินงาน วิสาหกิจชุมชนเขตธนบุรีเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของเศรษฐกิจชุมชนอย่างยังยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี,4 (1), 27-43.
เสรี พงศ์พิศ. (2536). วัฒนธรรมพื้นบ้าน : รากฐานการพัฒนา, ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท เล่ม 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ