การศึกษาอิทธิพลและความสัมพันธ์เชิงเปรียบเทียบในมิติแห่งนาฏกรรมระหว่างอินเดียและไทย
คำสำคัญ:
อิทธิพลอินเดีย, นาฏกรรมอินเดีย, นาฏกรรมไทย, ละครยาตรา, ละครชาตรี, โขน, กถักฬิ, ภรตนาฏยัมบทคัดย่อ
งานวิจัย เรื่อง การศึกษาอิทธิพลและความสัมพันธ์เชิงเปรียบเทียบในมิติแห่งนาฏกรรมระหว่างอินเดียและไทย มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาถึงอิทธิพลอินเดียที่มีต่อนาฏกรรมไทย 2. ศึกษาความสัมพันธ์เชิงเปรียบเทียบระหว่างนาฏกรรมอินเดียและนาฏกรรมไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์โบราณคดีผ่านแนวคิดศาสนาและเทวนิยม ทฤษฎีการกระจายทางวัฒนธรรม และสุนทรียศาสตร์และนาฏยศาสตร์ รวมทั้งวิเคราะห์จากคำอธิบายและข้อคิดเห็นของนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยทั้งชาวไทยและชาวอินเดีย
ผลการวิจัยพบว่า 1. อิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียที่มีบทบาทและความสัมพันธ์ต่อนาฏกรรมของไทย ได้แก่ 1) อิทธิพลอินเดียจากกลุ่มพราหมณ์ต่อราชสำนักไทยและ 2) อิทธิพลอินเดียด้านวรรณกรรมและวรรณคดี 2. ความสัมพันธ์เชิงเปรียบเทียบระหว่างนาฏกรรมอินเดียและนาฏกรรมไทย ได้แก่ 1) โนราของไทยสันนิษฐานว่ามาจากอินเดียโดยกลุ่มพราหมณ์ อีกทางหนึ่งโนรานั้นถูกถ่ายทอดจากราชสำนักส่วนกลางสู่ระดับราษฏร์ในวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ มีความคล้ายคลึงกับละครอินเดียที่เรียกว่า “ยาตรา” หรือ “จาตรา” (Jatra) ในแคว้นเบงกอลของอินเดีย 2) กถักฬิ มีรูปแบบการแสดงคล้ายกันกับโขน ได้แก่ เรื่องที่นำมาแสดง การแต่งหน้า และการใช้สีสัญลักษณ์ 3) ภารตนาฏยัมกับนาฏศิลป์ไทยความสัมพันธ์เกิดจากการรับวัฒนธรรมจากอินเดียใต้ทางด้านความเชื่อและพิธีกรรม และความคล้ายคลึงกันของท่ากรณะในภรตนาฏยัมกับท่ารำในแม่บทของไทยในการตั้งชื่อด้วยการอุปลักษณ์ทั้งอุปลักษณ์สัตว์และตามลักษณะอาการของมนุษย์และสิ่งของ อีกทั้งลักษณะการแสดงท่าทางที่คล้ายคลึงกันในบางท่ารำ
Downloads
References
คมกฤช อุ่ยเต๊กเค่ง (2561, พฤษภาคม - สิงหาคม). เทวนิยมอินเดีย : เส้นทางและปรากฏการณ์ในสังคมไทย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย. น. 16 – 17.
จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ราชบัณฑิตประเภทวิชาวรรณศิลป์สาขาวิชาตันติภาษา สำนักศิลปกรรม นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาบาลี สันสกฤต และฮินดี. สื่อสารส่วนบุคคล, 22 มีนาคม 2566.
บำรุง คำเอก. (2550).รายงานการวิจัยเรื่องอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2566). อำนาจของภาษาและวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ตาแฮก. (พิมพ์ครั้งที่ 1).
สุรัตน์ จงดา. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ไทย. สื่อสารส่วนบุคคล, 16 มีนาคม 2566.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2531). ศิลปะละคอนรำ หรือ คู่มือนาฏศิลปไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. (พิมพ์ครั้งที่ 2).
นิยะดา เหล่าสุนทร. (2515). ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและละครภาระตะ. (อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ).
รสิตา สินเอกเอี่ยม, ดร. ผู้เชี่ยวชาญ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว สื่อสารส่วนบุคคล, 1 เมษายน 2566.
Timita Namchoom Konwar. personal communication, February 10, 2023.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ