การศึกษาเพลงนมัสการร่วมสมัยของ W501 ช่วงปีพุทธศักราช 2557-2564
คำสำคัญ:
เพลงนมัสการ, เพลงนมัสการร่วมสมัย, W501, ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกลุ่มประเภทบทเพลง วิเคราะห์ภาษา และวิเคราะห์หลักคำสอนในบทเพลงนมัสการร่วมสมัยของ W501 ช่วงปีพุทธศักราช 2557-2564 งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกการแบ่งประเภทเพลง แบบวิเคราะห์ภาษาและหลักคำสอนที่ใช้ในเพลง โดยการจัดกลุ่มประเภทเพลงใช้การจำแนกโครงสร้างของดนตรีจากงานวิจัยของ Rentfrow et al. (2011) การวิเคราะห์ภาษาที่ใช้ในเพลงใช้การวิเคราะห์ตามชนิดของคำและการวิเคราะห์หลักคำสอนที่ใช้คุณสมบัติคริสเตียน 3 ประการ คือ หลักความเชื่อ ความหวัง และความรัก ผลการวิจัยพบว่า บทเพลงร่วมสมัยของ W501 ลักษณะดนตรีเป็นแบบสบายๆ (Mellow) เป็นหลัก ตามมาด้วยแบบเข้มข้น (Intense) และแบบที่มีลักษณะของชุมชนเมือง (Urban) เท่ากับแบบที่เกี่ยวกับท้องถิ่น (Campestral) แต่ไม่มีเพลงแบบซับซ้อน (Sophisticated) เพลงนมัสการนิยมใช้คำสรรพนามแทนพระเจ้าว่า พระองค์ พระเยซู และพระเจ้า และนิยมใช้คำว่า ข้า เรา และลูก มาใช้เป็นคำสรรพนามแทนมนุษย์ ส่วนด้านคำกริยามีแบ่งเป็น 3 ประเภทตามคุณสมบัติของคริสเตียน โดยนิยมใช้คำว่า สรรเสริญ นมัสการ และฮาเลลูยา เป็นคำเกี่ยวกับหลักความเชื่อ ความหวังและพักพิง เป็นคำเกี่ยวกับหลักความหวัง และความรัก พระเมตตา ซาบซึ้ง และวางใจ เป็นคำเกี่ยวกับหลักความรัก นอกจากนี้ยังพบว่ามีการ และใช้คุณสมบัติคริสเตียนจากคัมภีร์ไบเบิลพระธรรม 1 โครินธ์ 13:13 เป็นหลักความเชื่อเป็นส่วนใหญ่ในบทเพลง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผู้ผลิตผลงานเพลง (W501) ได้ผลิตผลงานเพลงนมัสการจากคนไทยเพื่อให้คนไทยตามนโยบายของกลุ่มผู้ผลิตจริง และได้ยึดหลักคำสอนจากพระคัมภีร์เป็นหลัก ทำให้คริสเตียนสามารถยอมรับและนำเพลงนมัสการไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
Downloads
References
ชิดชนก ศิริโชติ. (2557). บทเพลงนมัสการของคริสเตียน: ประเพณีประดิษฐ์ที่คริสตจักเมืองไทย กรุงเทพฯ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปกร.
นบ ประทีปะเสน และ ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. (2563). บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์: ซิมโฟนี หมายเลข 1. วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(2), 72. DOI: 10.14457/CU.the.2018.302
ปรัชญา ใจภักดี. (2556). เนื้อหาและการใช้ภาษาในเพลงนมัสการพระเจ้าของคริสเตียน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปกร.
ฐาปกรณ์ กระแสทิพย์. (2554). การสื่อสารผ่านบทเพลงของคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วรพจน์ เลี้ยงประไพพันธ์. (2559). การใช้บทเพลงนมัสการเพื่อการใคร่ครวญภาวนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพายัพ
Driscoll, M. (2009). Religion Saves: And Nine Other Misconceptions. Crossway Books
Joseph, M. (2019). Contemporary Christian Music. Retrieved from https://www.encyclopedia.com/media/encyclopedias-almanacs-transcripts-and-maps/contemporary-christian-music
Myrick, N. (2018). Double Authenticity: Celebrity, Consumption, and the Christian Worship Music Industry. The Hymn, 69(2), 21-27.
Neal, J. (2006). "3352 FROM JOHN NEAL 25 July 1827". in O'Sullivan, Luke; Fuller, Catherine (eds.), The Collected Works of Jeremy Bentham: The Correspondence of Jeremy Bentham, Oxford University Press, 1828(Vol. 12), (372-374), DOI: 10.1093/oseo /instance.00067643
Race, P. (September 2016). A Brief History of Contemporary Christian Music. School of the Rock. Retrieved from https://schooloftherock.com/html/a_brief_history_of_contemporar.html
Rentfrow, P J, Goldberg, L R., & Levitin, D J. (2011). The structure of musical preferences: A five-factor model. Journal of Personality and Social Psychology, 100(6), 1139–1157. https://doi.org/10.1037/a0022406
Russell, P A. (1997). Musical tastes and society. In D. J. Hargreaves & A. C. North (Eds.), The social psychology of music (141-158). Oxford University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ