การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากบทประพันธ์เพลงถิ่นสวรรค์จันทรเกษม

ผู้แต่ง

  • วิทวัส กรมณีโรจน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชานาฏศิลป์และศิลปการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์นาฏศิลป์, นาฏศิลป์, จันทรเกษม, ถิ่นสวรรค์จันทรเกษม

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากบทประพันธ์เพลงถิ่นสวรรค์จันทรเกษม มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทประพันธ์เพลงถิ่นสวรรค์จันทรเกษม ซึ่งเป็นบทประพันธ์เพลงที่นำเสนอถึงความงดงามของบรรยากาศและสถานที่สำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มีองค์ประกอบในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏศิลป์ 7 ประการ อีกทั้งยังบูรณาการแนวคิดการสื่อสารภาพและเสียงผ่านมิวสิกวิดีโอ การใช้สัญลักษณ์ในงานนาฏศิลป์ นาฏศิลป์ร่วมสมัย ศิลปะหลังสมัยใหม่ และศิลปะเฉพาะที่ โดยผ่านการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบนาฏศิลป์ร่วมสมัย

          ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากบทประพันธ์เพลงถิ่นสวรรค์จันทรเกษม สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ประการ ดังนี้ 1.รูปแบบการแสดง นำเสนอในรูปแบบมิวสิกวิดีโอตามแนวคิดการสื่อสารภาพและเสียงผ่านมิวสิกวิดีโอ 2.นักแสดง เป็นผู้ที่มีทักษะทางด้านนาฏศิลป์ร่วมสมัย 3.ลีลานาฏศิลป์ นำเสนอในรูปแบบนาฏศิลป์ร่วมสมัย โดยใช้การเคลื่อนไหวร่างกายแบบด้นสดและการเต้นรำคู่ตามแนวคิดนาฏศิลป์ร่วมสมัย 4.เสียงและดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง สร้างสรรค์และเรียบเรียงเพลงจากบทประพันธ์เพลงถิ่นสวรรค์จันทรเกษม 5.เครื่องแต่งกายมีรูปแบบเครื่องแต่งกายไทยสมัยใหม่ โดยใช้โทนสีธรรมชาติแทนความเรียบง่ายตามแนวคิดศิลปะหลังสมัยใหม่ 6.อุปกรณ์ประกอบการแสดง ออกแบบและดัดแปลงจากสิ่งของเหลือใช้ ตามแนวคิดการใช้สัญลักษณ์ในงานนาฏศิลป์ มุ่งเน้นความเรียบง่าย และสื่อสารได้ง่าย 7.พื้นที่ในการแสดง เลือกใช้สถานที่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยใช้เกณฑ์คัดเลือกจากบทประพันธ์เพลงถิ่นสวรรค์จันทรเกษม ขนาด และความแตกต่างของพื้นที่การแสดงตามแนวคิดศิลปะเฉพาะที่

Downloads

Download data is not yet available.

References

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2559). สุนทรียศาสตร์: หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปะวิจารณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จารุณี หงส์จารุ. (2550). เสียงในละคร. หน้า 123 ใน ปริทัศน์ศิลปะการละคร. กรุงเทพมหานคร : คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จิรายุทธ พนมรักษ์. (2559). การถ่ายทอดแนวความคิดด้านการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยประเภท ศิลปะการแสดง เต้นรำเฉพาะพื้นที่ของ ศาสตราจารย์ ดร.นราพงษ์ จรัสศรี. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 (39) กรกฎาคม-ธันวาคม.

ธรากร จันทนสาโร. (2557). นาฏยศิลป์สร้างสรรค์จากแนวคิดไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธรากร จันทนสาโร. (2563). นาฏศิลป์จากทรรศนะเรื่องความตายในศาสนาพุุทธแบบวัชรยานของทิเบต. ในวารสาร สถาบัน วัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หน้า 119. ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (2020): กรกฎาคม - ธันวาคม 2563

นราพงษ์ จรัสศรี. (2548). ประวัตินาฏยศิลป์ตะวันตก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

พีรติ จึงประกอบ. (2566). แนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะแนวสตรีทอาร์ตนพื้นที่เฉพาะเพื่อปรับภูมิทัศน์. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายม 2566).

สุนันทา เกตุเหล็ก. (2561). การสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ไทยเชิงอนุรักษ์: ฉุยฉายธนบุรี. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

อรอุษา สุขจันทร์. (2558). แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ในนาฏกรรมโขน : กรณีศึกษาสถาบันนาฏศิลป์บ้านรักษ์ไทย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารปณิธาน ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558)

Bremser, M., & Bourne, M. (1999). Fifty contemporary Choreographers. New York: Routledge.

Draper, S. (2019). Exploring the role of music videos in the music industry. International Journal of Music Business Research, 8(1), 4-22.

Kaye, Nick. (2008). Site-Specific Art Performance, Place and Documentation. London and New York: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28