การศึกษาความเป็นชาวกรุง ผ่านภาษาในคำร้องเพลงลูกกรุง ระหว่างปี พ.ศ. 2507-2526
คำสำคัญ:
เพลงไทยสากล, ภาพแทน, ภาษาในดนตรี, เพลงลูกกรุงบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง องค์ความรู้ และคุณค่าของเพลงไทยสากล ประเภทลูกกรุงในสังคมไทย ระหว่างปี พ.ศ.2507 – 2526 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความเป็นชาวกรุง ผ่านมิติทางด้านภาษาที่ปรากฏในคำร้องของเพลงไทยสากลประเภทลูกกรุง โดยศึกษาจากบทเพลงที่ได้รับรางวัลชนะเลิศด้านคำร้อง จากการประกวดรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน และเสาอากาศทองคำพระราชทาน ระหว่างปี พ.ศ.2507-2526 ดำเนินการวิจัยตามกรอบการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ฉันทลักษณ์เนื้อเพลง การศึกษาและตีความหมายของถ้อยคำที่นำมาใช้แต่งบทร้อง เพื่ออธิบายให้เห็นถึงลักษณะภาษาแบบชาวกรุงที่ปรากฏในคำร้องที่เชื่อมโยงกับการสร้างภาพแทนของความเป็นชาวกรุง (กรุงเทพ) ผลการวิจัยพบว่า เพลงทุกเพลงใช้หลักการประพันธ์ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการสัมผัสเสียงคำ ตามแบบร้อยกรองไทย ใช้รูปแบบฉันทลักษณ์แบบร้อยกรองไทยเป็นโครงสร้างในการร้อยเรียงวางคำร้องปรากฏเป็นฉันทลักษณ์ของกวีนิพนธ์อีกรูปแบบหนึ่ง เลือกใช้ถ้อยคำในภาษาระดับแบบแผน มีกลวิธีการใช้ถ้อยคำ เช่น การซ้ำคำ การหลากคำ การใช้ศัพท์สูง การปรุงศัพท์ และสื่อสารเรื่องราวด้วยการใช้โวหารและภาพพจน์ คุณสมบัติทางภาษาต่างๆ ที่พบในคำร้องเพลงลูกกรุง ได้แสดงถึงความงาม
Downloads
References
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2519). วรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ. (2549). การอ่านบทประพันธ์และเพลงพื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จำนง รังสิกุล. (2514). สนทนาพาที. กรุงเทพ: แพร่พิทยา.
ธนรัฐ อยู่สุขเจริญ. (2566). องค์ความรู้ และคุณค่า ของเพลงไทยสากลประเภทลูกกรุง ที่มีต่อสังคมไทยระหว่างปี พ.ศ. 2507-2526. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาดุริยางคศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล), เจ้าพระยา. (2505). สมบัติของผู้ดี. พระนคร: โรงพิมพ์ไทยพณิชยการ
วิภา กงกะนันท์. (2533). วรรณคดีศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สมบัติ กิ่งกาญจนวงศ์. (2537). การวิเคราะห์เพลงลูกกรุง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ ประสานมิตร.
สิทธา พินิจภูวดล และคนอื่นๆ. (2517). การเขียน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2522). การเขียน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
อเนก นาวิกมูล. (2526). วารสารวิทยุพลฯ รอ. ปีที่ 1 ฉบับที่ 5 ธันวาคม 2526. กรุงเทพฯ: โอ.เอสพริ้นติ้งเฮาน์ จำกัด.
Hall, S. (1997). Representation: Cultural Representations and signifying Practices. London: Sage.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ